อินเดียประสบความสำเร็จในการส่งยานสำรวจดาวอังคารเป็นครั้งแรก
  2013-11-06 17:02:08  cri

อินเดียประสบความสำเร็จในการส่งยานสำรวจดาวอังคารเป็นครั้งแรก

เวลา 02.38 น.วันที่ 5 ตามเวลาท้องถิ่น อินเดียได้ส่งยานสำรวจอวกาศ มังเกิ้ลยาน ซึ่งเป็นยานสำรวจดาวอังคารลำแรกด้วยความสำเร็จ แสดงให้เห็นว่า อินเดียประสบความก้าวหน้าในการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศแล้ว

เวลา 02.38 น. วันที่ 5 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ที่ศูนย์อวกาศสาทิศธาวัน(Satish Dhawan Space Centre SHAR) เมืองศรีหริโคตา ทางภาคใต้อินเดีย จรวดพาหนะ PSLV-C 25 ได้บรรทุกยานสำรวจ มงคลยาม ซึ่งเป็นยานสำรวจดาวอังคารลำแรกของอินเดียสู่อวกาศ หลังการส่งเป็นเวลา 44 นาที ยานอวกาศได้แยกตัวออกจากจรวดส่งยานเข้าสู่วงโคจรของโลกด้วยความสำเร็จ นายเค ราดฮาคริชนาน ประธานองค์การวิจัยอวกาศอินเดียประกาศว่า การส่งยานสำรวจดาวอังคารครั้งนี้ประสบความสำเร็จ ภารกิจอันดับแรกของโครงการสำรวจดาวอังคารลุล่วงแล้ว

นายนาเรนเดอร์ มูดี ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีอินเดียในปีหน้าของพรรคประชาชนอินเดียก็แสดงความยินดี และกล่าวว่า นี่เป็นสัญลักษณ์แสดงให้เห็นว่า อินเดียประสบความก้าวหน้าในการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและเป็นสมาชิกสำคัญในการบินอวกาศโลกด้วย ขอแสดงความยินดีต่อองค์การวิจัยอวกาศอินเดีย และขอขอบคุณนักวิทยาศาสตร์และบุคคลที่เกี่ยวข้องที่เข้าร่วมโครงการสำรวจดาวอังคารครั้งนี้ เชื่อมั่นว่า การค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ครั้งนี้ จะส่งอย่างมากต่อชีวิตความเป็นอยู่ของมวลมนุษย์ และขออวยพรให้โครงการสำรวจดาวอังคารครั้งนี้ประสบความสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ

หลังยานสำรวจอวกาศ มงคลยาน เข้าสู่วงโคจรของโลกแล้ว จะโคจรรอบโลกเป็นเวลา 20-25 วัน เมื่อความเร็วให้สูงพอสู่วงโคจรรอบดาวอังคาร ต้องใช้เวลาทั้งหมด 300 วัน คาดว่าจะเข้าสู่วงโคจรรอบดาวอังคารในวันที่ 24 กันยายนปี 2014 ภาระกิจสำคัญของโครงการดังกล่าวคือ สำรวจภูมิอากาศและบบยากาศของดาวอังคาร สำรวจก๊าสมีเทน เพื่อพิสูจน์ว่า ในดาวอังคารเคยมีสิ่งมีชีวิตหรือไม่ นอกจากนั้น ยังจะวิจัยลักษณะพื้นผิว ตลอดจนอากาศและสิ่งแร่ธาตด้วย โดยจะบันทึกรอบผิวดาวอังคาร และส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องสู่โลก งานสำรวจจะดำเนินเป็นเวลา 6 เดือน

In/LJ

In/LJ

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040