คำพูดของนายหวัง ผิงนี้ ก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์เรื่องการเรียนมหาวิทยาลัยว่าดีหรือไม่ คนจำนวนมากยิ่งขึ้นมีความคิดเห็นว่า ถ้าไม่มีผลต่อการทำงาน อย่าส่งเสริมให้เด็กชนบทไปมหาวิทยาลัย
จริง ๆ แล้ว ไม่เพียงแต่เด็กในชนบทที่มีปัญหาดังกล่าว เด็กในเมืองที่บ้านยากจน ก็ควรคิดเรื่องนี้อย่างจริงจังด้วย ตอนนี้ พ่อแม่ที่ยากจนบางคนก็ไม่ส่งเสริมให้ลูกเข้ามหาวิทยาลัยแล้ว แม้ครอบครัวที่มีฐานะดี ก็ยังมีคนมีความคิดอย่างนี้ อย่างเช่น ปีที่แล้ว หนังสือพิมพ์พาณิชย์เฉิงตูรายงานว่า มีสาวเฉิงตูคนหนึ่ง สอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ แต่พ่อของเธอบอกว่า ถ้าอ่านหนังสือที่มหาวิทยาลัย 4 ปี ต้องจ่ายเงิน 80,000 หยวน แต้ถ้าทำงานมีรายได้อย่างน้อย 80,000 หยวน เก็บขยะยังมีรายได้ ดีกว่าเรียนหนังสือ เขายอมให้เงินลูกสาวเพื่อให้เธอทำธุรกิจเล็ก ๆ ดีกว่าจบมหาวิทยาลัยแล้วหางานยาก
เรียนหนังสือหรือเรียนที่มหาวิทยาลัยไม่มีประโยชน์ ความเห็นนี้มีเงื่อนไข เชื่อมโยงการเรียนกับการหางาน ถือการเรียนเป็นการลงทุนชนิดหนึ่ง การวิเคราะห์กำไรอย่างนี้ ไม่มีอะไรผิด โดยเฉพาะถ้าคิดในแง่ของครอบครัวที่ยากจน สนับสนุนเด็กเข้ามหาวิทยาลัย ก็หวังว่าการศึกษาสามารถเปลี่ยนชะตากรรมของเด็ก แต่ว่าปัจจุบัน จบจากมหาวิทยาลัยไม่ได้หมายความว่า จะได้งานและมีรายได้สูง ถ้าว่างงานก็ราวกับว่า การลงทุนของพวกเขาไม่สามารถสร้างผลตอบแทน เป็นความล้มเหลวในการลงทุน ความเสี่ยงดังนี้ขัดขวางการลงทุนโดยตรง และเราก็เข้าใจว่า สำหรับครอบครัวที่ยากจน ความล้มเหลวนี้ยากที่จะทนได้
การจะอภิปรายว่าการเรียนหนังสือหรือเข้ามหาวิทยาลัยมีประโยชน์หรือไม่ ต้องตอบคำถามว่า ผลตอบแทนของการเรียนคืออะไร และการคำนวณผลตอบแทนนี้เป็นคำถามที่ยากจริง ๆ ถ้าใช้ผลที่เป็นวัสดุเป็นเกณฑ์สำหรับการคำนวณอาจจะคำนวณได้ง่าย แต่ว่า ผลตอบแทนของการเรียนไม่สามารถคำนวณได้ง่ายอย่างนี้ ยังต้องคำนึงถึงปัจจัยอื่น ๆ อาทิ วัฒนธรรม สังคม และจิตวิทยาเป็นต้น ทำให้การคำนวณกลายเป็นเรื่องยาก เราต้องคำนวณผลที่เป็นทั้งรูปธรรมและนามธรรม ต้องคำนวณผลตอบแทนเมื่อเวลาจบการศึกษาแล้วก็ต้องคำนวณผลตอบแทนในชีวิตด้วย