ความเป็นมาของเหตุการณ์หลิ่วเถียวหู
  2014-09-18 11:57:44  cri

เมื่อค่ำวันที่ 18 กันยายนปี 1931 กองทัพทหารกวนตงญี่ปุ่นที่ประจำในภาคอีสานของจีน เคลื่อนพลไปทางทิศใต้ตามทางรถไฟหนานหม่าน ประมาณเวลา 22.20น. ทหารญี่ปุ่นวางศพชาวจีนหลายศพไว้ที่ทางรถไฟ สร้างเป็นหลักฐานว่าทหารอีสานของจีนทำลายทางรถไฟของญี่ปุ่น และใส่ร้ายว่าทหารจีนเตรียมตัวจะโจมตีทหารญี่ปุ่น ขณะที่กองทัพญี่ปุ่นเป็นผู้ก่อระเบิด กองทัพญี่ปุ่นที่รอคอยอยู่ที่ทางเหนือประมาณ 4 กิโลเมตรที่เตรียมพร้อมอยู่แล้ว ได้ยกทัพเข้าโจมตีค่ายทหารจีนทันที

ขณะที่ทหารญี่ปุ่นก่อเหตุขึ้นมา ค่ำวันเดียวกัน พลโทหรง เจิน เสนาธิการใหญ่กองทัพจีนประจำภาคอีสานสั่งให้ทหารจีนวางอาวุธไม่ต่อสู้ แม้ว่าต้องตาย ก็ถือเป็นการสละชีพเพื่อชาติ โดยบอกว่าเป็นคำสั่งจากแม่ทัพจาง เสียเหลียง วันที่ 19 กันยาฯ พลเอกจาง เสียเหลียง แถลงกับหนังสือพิมพ์ต้ากงของนครเทียนสินที่โรงพยาบาลเสียเหอว่า "ก่อนหน้านี้ ข้าพเจ้าเคยสั่งให้ทหารไม่ตอบโต้ขณะทหารญี่ปุ่นท้าทายเรา ดังนั้น อาวุธของทหาร เก็บอยู่ในคลังไม่ได้เอาออกมา" ฉะนั้น ทหารอีสานไม่สามารถต่อสู้กับทหารญี่ปุ่นหลังจากญี่ปุ่นโจมตี ทหารส่วนหนึ่งถอนตัวออกจากเมืองเสิ่นหยางตามคำสั่ง และอีกส่วนหนึ่งต่อสู้กับญี่ปุ่นเนื่องจากไม่ได้รับคำสั่งให้ถอย ทหารจีนกว่า插入图片หมื่นนายที่อยู่ในค่ายเสิ่นหยาง พ้ายแพ้ทหารญี่ปุ่นที่มีเพียง 500 คนเท่านั้น

ขณะโจมตีเมืองเสิ่นหยาง ทหารญี่ปุ่นยังก่อการโจมตีเมืองเฟิ่งเทียนในเวลาเดียวกัน เช้าวันที่ 19 กันยาฯ เมืองเฟิ่งเทียน เมืองสื้อผิง เมืองอันตง และเมืองอื่นๆ ทั้งหมด 18 แห่งถูกทหารญี่ปุ่นยึดครอง ทหารจีนที่ประจำอยู่ในภาคอีสานโดยเฉพาะที่ประจำอยู่ที่เมืองฉางชุนได้ป้องกันตัวและรบกับทหารญี่ปุ่น แต่จนถึงวันที่สองก็ต้องยอมแพ้ และเสียเมืองฉางชุนไป วันที่ 21 กันยาฯ นายพลซี เชี่ย รองผู้บัญชาการทหารภาคอีสานประจำมณฑลจี๋หลินนำทหารยอมจำนนกับญี่ปุ่น แสดงว่ามณฑลจี๋หลินตกอยู่ในอำนาจการปกครองของญี่ปุ่นแล้ว

วันที่ 1 ตุลาคม ปี 1931 ทหารญี่ปุ่นเริ่มก่อการโจมตีเมืองต่างๆของมณฑลเฮยหลงเจียง พลเอกจาง เสียเหลียงย้ายไปที่เมืองจิ่นโจวของมณฑลเฮยหลงเจียงหลังจากเมืองเฟิ่งเทียนถูกยึด เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม กองทัพกวนตงญี่ปุ่นสั่งเครื่องบิน 12 ลำโจมตีเมืองจิ่นโจวทางอากาศ ส่วนการรุกรานครั้งนี้ นายทหารญี่ปุ่นแถลงว่า การใช้เครื่องบินทิ้งระเบิด 12 ลำนั้น เป็นปฏิบัติการป้องกันตนเองเท่านั้น ด้วยเหตุที่นายจาง เสียเหลียงนำทหารจำนวนมหาศาลมาอยู่ในเมืองจิ่นโจว เป็นการคุกคามถึงสิทธิประโยชน์ของญี่ปุ่น ญี่ปุ่นจำเป็นต้องไล่ล่าพลเอกจาง เสียเหลียงไปเพื่อป้องกันอำนาจรัฐแมนจูเลีย วันที่ 2 ธันวาคม รัฐบาลก๊กมิ่นตั๋งแจ้งให้ทูตอังกฤษ ฝรั่งเศสและสหรัฐฯ ประจำในจีนว่า หวังตั้งเมืองจิ่นโจวเป็นศูนย์กลาง และจะให้นายจาง เสียเหลียงถอนทหารออกจากเมืองจิ่นโจว แต่ญี่ปุ่นไม่ยอม ซึ่งแผนสร้างกลางเปิดเผยกับสื่อมวลชนแล้ว บุคคลในวงการต่างๆและบรรดานักเรียนนักศึกษาประท้วงทันที ทำให้รัฐบาลนานกิงต้องยกเลิกแผนดังกล่าว และแถลงว่า ถ้าทหารญี่ปุ่นรุกรานเมืองจิ่นโจว จะให้ทหารจีนต่อสู้เพื่อป้องกันตัว แต่สำหรับเรื่องนี้ นายจาง เสียเหลียงกับนายเจียง ไคเช็ค ประธานาธิบดีจีนในสมัยนั้น มีความเห็นต่างกัน นายจาง เจียเหลียงไม่อยากให้มีการสู้รบที่ทำให้เสียกำลังทหารไปเปล่าๆ แต่รัฐบาลนานกิงหวังให้พลเอกจาง เสียเหลียงต่อสู้เพื่อขัดขวางไม่ให้ทหารญี่ปุ่นยกทัพลงทางใต้ไปยังเมืองปักกิ่งและนครเทียนสิน จนกระทั่งทั่วประเทศจีน

จนถึงวันที่ 15 ธันวาคม กองทัพกวนตงเริ่มโจมตีเมืองจิ่นโจวเป็นการใหญ่ และยึดครองให้ได้เมื่อวันที่ 3 มกราคมปี 1932 ในช่วงเวลานี้ เมื่อวันที่ 28 มกราคมปี 1932 กองทัพกวนตงญี่ปุ่นยกทัพไปเมืองฮาร์บิน และก่อเหตุการณ์ 28 มกราฯ ปี 1932 ที่นครเซี่ยงไฮ้เพื่อดึงดูดความสนใจของชาวโลก ทหารจีนประจำฮาร์บินที่นำโดยนายพลหลี่ ตู้นั้น สู้รบกับทหารญี่ปุ่นเป็นเวลา 5 วันอย่างสุดความสามารถ สุดท้ายต้องถอนตัวเพื่อป้องกันตนเอง เมืองฮาร์บิน ตกอยู่ในมือของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 1932

เวลาไม่ถึงครึ่งปี สามมณฑลในภาคอีสานของจีน พื้นที่กว่า 1 ล้านตารางกิโลเมตร ตกอยู่ในอำนาจของญี่ปุ่นทั้งสิ้น

(In/Ping)

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040