สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีมีประชากร 82,000,000 คน มีความทันสมัยและความก้าวหน้าในทุกๆ ด้าน โดยเฉพาะผลสำเร็จด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีของประเทศ สร้างชื่อเสียงโด่งดังทั่วโลกตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ่งที่น่าชื่นชมอย่างยิ่งคือ จากอดีตจนถึงปัจจุบัน ผู้ได้รับรางวัลโนเบลมี 50% เป็นชาวเยอมัน
ใครๆ ก็คงอยากทราบว่า ทำไมชาวเยอรมันฉลาดถึงขนาดนี้ แต่คำตอบอาจจะเกินคาดของทุกคน นั่นก็คือ ชาวเยอรมันไม่บังคับเด็กปฐมวัยให้พัฒนาสติปัญญาแต่เนิ่นๆ แต่เจตนาให้เด็กๆ อิ่มเอิบกับความสนุนสนานและความอิสระเสรีในวัยเด็ก เพื่อให้เด็กมีมันสมองแห่งการรังสรรค์ประดิษฐ์ในอนาคต ที่ประเทศเยอรมนี โรงเรียนอนุบาลทั่วไปจะไม่แบ่งชั้นเรียนตามอายุ เด็กเยอรมันตั้งแต่ 3 ขวบถึง 6 ขวบ ล้วนจัดให้กินนอนและเที่ยวเล่นอยู่ด้วยกัน ซึ่งข้อนี้แตกต่างกันกับโรงเรียนอนุบาลของประเทศส่วนใหญ่
ส่วนโรงเรียนประถมของเยอรมนีให้นักเรียนเรียนหนังสือเพียงครึ่งวันเท่านั้น โดยเปิดชั่วโมงเรียนเฉพาะช่วงเช้า และให้เด็กๆ ร่วมกิจกรรมทั้งช่วงบ่าย นักเรียนเยอรมันต้องโตถึงป.3 ถึงให้เรียนภาษาอังกฤษได้ และสำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาตอนป.4 ครูในโรงเรียนประถมจะให้ข้อเสนอแก่ผู้ปกครองเกี่ยวกับการศึกษาขั้นต่อไปของเด็กแต่ละคนว่า เหมาะสมกับการศึกษาต่อระดับมัธยมศึกษาเพื่อสอบเข้าสถาบันอุดมศึกษาหรือไม่ หรือส่งเข้าโรงเรียนอาชีวศึกษาดีกว่า ดังนั้นสัดส่วนนักเรียนที่จะสอบเข้ามหาวิทยาลัยของนักเรียนจบมัธยมศึกษาของเยอรมนี จึงต่ำกว่าหลายประเทศในเอเชียด้วย
รัฐธรรมนูญเยอรมนีห้ามพัฒนาสติปัญญาของเด็กที่ยังไม่โตพอ
ชาวเยอรมันให้ความสำคัญระดับสูงต่อความสามารถด้านการสร้างจินตนาการของสมองเด็ก รัฐธรรมนูญเยอรมนีจึงระบุอย่างชัดเจนว่า ห้ามพัฒนาสติปัญญาของเด็กปฐมวัยที่ยังโตไม่พอ เป็นการคุ้มครองสมองของเด็กปฐมวัย จะได้ไม่เป็นเสมือน "ฮาร์ดดิสก์" ของคอมพิวเตอร์ สิ่งสำคัญอันดับแรกสำหรับเด็กๆในวัยก่อนเข้าโรงเรียนประถมก็คือ เติบโตขึ้นท่ามกลางบรรยากาศแห่งความร่าเริงและความสนุกสนาน กระทรวงศึกษาธิการเยอรมันมีคำสั่งกับโรงเรียนประถม ไม่ให้เปิดสอนวิชาที่มุ่งเพิ่มทักษะใดๆ ทั้งสิ้นนอกเหนือชั่วโมงเรียนธรรมดา
คุณแม่ชาวเมืองโคโลญจน์(Koln)ที่มีชื่อว่า แซนดร้ามีลูกชายที่ค่อนข้างฉลาด ก่อนลูกชายเข้าเรียนในโรงเรียนประถม ทางครอบครัวได้สอนให้อ่านและเขียนหนังสือและคิดคำนวณเลขในเบื้องต้นแล้ว เมื่อลูกชายโตถึง 7 ขวบ ซึ่งก็คือวัยเข้าโรงเรียนประถม นางแซนดร้าไปขอกับครูประจำชั้นให้สอนอะไรพิเศษกับลูกชายของเธอ เพราะสิ่งที่นักเรียนป.1 ต้องเรียนรู้นั้น ลูกชายเรียนเป็นหมดแล้ว แต่ครูปฏิเสธคำขอเพื่อเร่งพัฒนาสติปัญญาของลูกชายเธอ
สำหรับครอบครัวชาวเยอรมันทั่วไป หากต้องสอนอะไรให้กับเด็กก่อนเข้าโรงเรียน ก็จะยึดหลัก 3 ด้านดังต่อไปนี้ 1)สอนให้เด็กมีความรู้ทั่วไปทางสังคม เช่น รักษามารยาท ห้ามใช้กำลังรุนแรง และหลีกเลี่ยงกันพูดคุยด้วยเสียงดัง 2)ทักษะในสร้างสรรค์งานฝีมือ โดยโรงเรียนอนุบาลจัดให้เด็กๆ มีส่วนร่วมในการทำงานฝีมือตามความสนใจของแต่ละคน 3)สอนเด็กๆ ให้มีความฉลาดทางอารมณ์(EQ) ความรับผิดชอบและความเป็นผู้นำ โดยความจริงแล้ว ประเทศพัฒนาแล้วหลายประเทศในยุโรป ล้วนให้ความสำคัญกับการบ่มเพาะเด็กๆ ในเนื้อหาดังกล่าว
การศึกษาก่อนเข้าโรงเรียนทำลายความสามารถการสร้างจินตนาการของเด็ก
ตรงกันข้ามกับประเทศพัฒนาแล้วในยุโรป โรงเรียนอนุบาลส่วนใหญ่ของจีน ชอบสอนเด็กๆ เรียนความรู้ความสามารถทุกอย่างที่สมควรได้รับหลังเข้าชั้นปี 1หรือปี 2 ในโรงเรียนประถม กระแสนิยมที่เร่งพัฒนาสติปัญญาของเด็กปฐมวัย บีบบังคับให้ผู้ปกครองจีนแข่งกันส่งลูกหลานไปเรียนคอร์สอบรมพิเศษ จะได้ไม่ให้ลูกหลานของตนแพ้เพื่อนตั้งแต่จุดออกวิ่ง
เกี่ยวกับเรื่องนี้ ชาวยุโรปมีความเห็นทั่วไปว่า การเติบโตของเด็กๆ ต้องเป็นไปตามกฎเกณฑ์ธรรมชาติในการเติบโต ในช่วงวัยที่แตกต่างกัน สิ่งที่เด็กควรทำก็จะไม่เหมือนกัน พิจารณาในระดับผิวเผิน การศึกษาก่อนเข้าโรงเรียนและการศึกษาขั้นรากฐานที่เด็กจีนได้รับนั้น ดูดีกว่าของเด็กยุโรป แต่ความสามารถในการคิดและการสร้างจิตนาการของเด็กจีนล้วนได้รับการทำลายจากการศึกษาที่ไม่เคารพต่อกฎเกณฑ์การเติบโตทางธรรมชาติ ทำให้เด็กเหล่านี้เคยชินกับการรับความรู้ที่ครูสอนให้ แต่ไม่ถนัดในการคิดและพิจารณาด้วยตนเอง