การประชุมระหว่างผู้นำสหรัฐฯ อังกฤษ และสหภาพโซเวียตจัดขึ้นที่เมืองยัลตาในวันที่ 4 เดือนกุมภาพันธ์ ปี 1945
  2015-02-12 20:38:15  cri

วันนี้วันที่ 4 กุมภาพันธ์ วันนี้ของปี 1945 การประชุมระหว่างนายแฟรงคลิน ดี รูสเวลท์ประธานาธิบดีสหรัฐฯ นายวินสตัน เชอร์ชิล นายกรัฐมนตรีอังกฤษ และนายโจเซฟ สตาลิน ผู้นำสูงสุดของสหภาพโซเวียตจัดขึ้นที่เมืองยัลตา แหลมไครเมีย สหภาพโซเวียต เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาต่างๆ ในยุโรปหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และหารือในการทำสงครามกับญี่ปุ่น

วันที่ 11 กุมภาพันธ์ นายแฟรงคลิน ดี รูสเวลท์ประธานาธิบดีสหรัฐฯ นายวินสตัน เชอร์ชิล นายกรัฐมนตรีอังกฤษ และนายโจเซฟ สตาลิน ผู้นำสูงสุดของสหภาพโซเวียตร่วมลงนามในข้อตกลงเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาญี่ปุ่น หรือเรียกสั้นๆ ว่า ข้อตกลงยัลตา ข้อตกลงนี้ระบุว่า หลังเยอรมนียอมจำนน และสงครามในยุโรปสิ้นสุดลงเป็นเวลา 2 ถึง 3 เดือน สหภาพโซเวียตและกลุ่มประเทศสัมพันธมิตรจะร่วมกันสู้รบกับญี่ปุ่นโดยมีเงื่อนไขบังคับก่อน 3 ประการดังนี้ ประการแรก ให้มองโกเลียนอกคงไว้ซึ่งสภาพที่เป็นอยู่ ประการที่ 2 ผลประโยชน์ของสหภาพโซเวียตที่ถูกญี่ปุ่นทำลายในปี 1904 ต้องได้รับการฟื้นฟู คือ ดินแดนทางภาคใต้ของเกาะคู่เย่ และเกาะที่อยู่รอบๆ บริเวณนั้นต้องคืนให้กับสหภาพโซเวียต ต้องให้ท่าเรือต้าเหลียนเป็นทาเรือแบบสากล สิทธิประโยชน์ของสหภาพโซเวียตในท่าเรือนี้ต้องมีหลักประกัน ให้สหภาพโซเวียตมีสิทธิเช่าท่าเรือหลี่ว์ซุ่น เพื่อใช้เป็นฐานทัพกองทัพเรือ เส้นทางรถไฟจงตง และเส้นทางรถไฟหนานหมั่นต้องให้บริษัทที่สหภาพ โซเวียตและจีนร่วมจัดตั้งขึ้นนั้นเป็นผู้ดูแลบริหาร อีกทั้งให้จีนมีอธิปไตยสมบูรณ์เหนือดินแดนหมั่นโจว และประการสุดท้าย มอบหมู่เกาะเชียนเต่าให้สหภาพโซเวียตปกครองดูแล

การจัดการประชุมยัลตามีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนกระบวนการต่อต้านกลุ่มลัทธิฟาสซิสต์ และให้สงครามสิ้นสุดลงโดยเร็ววัน แต่จาการลงนามข้อตกลงนี้ สหภาพโซเวียตได้ยึดประโยชน์จากจีนไปอย่างมากโดยอ้างว่า จะร่วมสู้รบกับญี่ปุ่น ทั้งนี้อธิปไตยของจีนถูกทำลายอย่างร้ายแรง ข้อตกลงยัลตาจึงเป็นข้อตกลงที่สร้างความเสียหายให้กับสิทธิประโยชน์และอธิปไตยของจีนอย่างมาก และลงนามกันในกรณีที่ไม่มีผู้แทนจีน ซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศสัมพันธมิตรร่วมด้วย จนกระทั่งถึงวันที่ 14 มิถุนายนปี 1945 สหรัฐฯจึงแจ้งเรื่องนี้ให้รัฐบาลจีนรับทราบ เห็นได้ชัดว่า ประเทศมหาอำนาจบางประเทศยึดถือในลัทธิคลั่งชาติ ดำเนินนโยบายทางการเมืองที่ถืออำนาจบาตรใหญ่ เพื่อวางตัวเป็นผู้บังคับบัญชาโลก

ผู้นำสหรัฐฯ อังกฤษ และสหภาพโซเวียตที่ร่วมประชุมครั้งนี้ยังร่วมลงนามข้อตกลงเกี่ยวกับขั้นตอนในการจัดตั้งคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ โดยตกลงกันว่า จะจัดการประชุมสมัชชาสหประชาชาติที่นครซานฟรานซิสโก สหรัฐฯในวันที่ 25 เมษายนปี 1945 เพื่อร่างกฎบัตรสหประชาชาติ และให้สหรัฐ ฯ อังกฤษ ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต และจีนเป็นประเทศสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ นอกจากนี้ ยังกำหนดหลักการการมีความเห็นเป็นเอกฉันท์ระหว่าง 5 ประเทศสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติในประเด็นสำคัญ ข้อตกลงดังกล่าวนี้เกิดขึ้นตามแถลงการณ์ระหว่างจีน สหรัฐฯ อังกฤษ และโซเวียตที่ประกาศในเดือนตุลาคมปี 1943 โดยมีข้อเสนอให้จัดตั้งสหประชาชาติ

หลังการประชุมยัลตา กองทัพของประเทศสัมพันธมิตร ได้แก่สหภาพโซเวียต สหรัฐฯ และอังกฤษเริ่มรุกไปยังประเทศเยอรมนีจากทั้งทิศตะวันตก และตะวันออก วันที่ 25 เมษายนปี 1945 กองหน้าของทหารสหภาพโซเวียต และสหรัฐฯ รวมพลที่เมืองทากัว (Torgau) ที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเอลเบ (Elbe River) ก่อนที่กลุ่มฟาสซิสต์ของเยอรมนียอมจำนน ประชาชนในหลายเมืองทางภาคเหนือของอิตาลีได้ทำการปฏิวัติ จับกุมและสังหารมุสโสลินี จอมเผด็จการแห่งประเทศอิตาลีในวันที่ 28 เมษายน ต่อมาในวันที่ 30 เมษายน ฮิตเลอร์ จอมเผด็จการนาซี ฆ่าตัวตาย วันที่ 2 พฤษภาคม ทหารโซเวียตยึดครองกรุงเบอร์ลิน ระหว่างวันที่ 8-24 พฤษภาคม ผู้แทนเยอรมนีลงนามในหนังสือยอมจำนนโดยปราศจากเงื่อนไขต่อสหภาพโซเวียต สหรัฐฯ อังกฤษ และฝรั่งเศส สงครามในยุโรปได้ยุติลง ขณะที่สนามรบซีกโลกตะวันออก ทหารญี่ปุ่นก็ใกล้ประสบความพ่ายแพ้โดยสิ้นเชิง

ที่ประชุมได้ลงนามข้อตกลงว่าด้วยการก่อตั้งคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติตามมติการก่อตั้งองค์การนานาชาติหลังสงครามโลกในแถลงการณ์ 4 ประเทศ (จีน สหรัฐฯ อังกฤษ สหภาพโซเวียต) เมื่อเดือนตุลาคมปี 1943 โดยกำหนดให้จัดการประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติที่ซานฟรานซิสโกของสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 25 เมษายนปี 1945 เพื่อบัญญัติกฎบัตรสหประชาชาติ กำหนดว่า สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต และจีนเป็น 5 สมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ และได้กำหนดหลักการว่า ปัญหาสำคัญๆ ต้องได้รับการอนุมัติผ่านจากทุกสมาชิกถาวร

(TOON/cai)

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040