จีนจะรักษาจุดยืนของสหประชาชาติในฐานะประธานหมุนเวียนคณะมนตรีความมั่นคงฯ
  2015-02-17 16:13:39  cri

เดือนกุมภาพันธ์ จีนเป็นประเทศประธานหมุนเวียนของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ มีหน้าที่กำหนดจัดการอภิปรายตลอดจนพิจารณาตรวจสอบประเด็นที่เกี่ยวข้องประจำเดือนนี้ ประมาณ 20 ประเด็น เพื่อพิจารณาตรวจสอบปัญหาซีเรีย ตะวันออกกลาง(ระหว่างปาเลสไตน์กับอิสราเอล) อิรัก เยเมน คีเนียบิสเซา โซมาเลีย และซูดานใต้ จีนเสนอให้มีดารจัดการประชุมอภิปรายเปิดเผยระดับรัฐมนตรีของคณะรัฐมนตรีความมั่นคงฯ ภายใต้ประเด็นสำคัญคือ "รักษาสันติภาพและความมั่นคงของโลก ถือประวัติศาสตร์เป็นอุธาหรณ์ ย้ำถึงคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้ตามจุดประสงค์และหลักการของกฎบัตรสหประชาชาติ" โดยนายหวัง อี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจีนจะเป็นประธานการประชุม

เนื่องจากสถานการณ์ระหว่างประเทศในปัจจุบันเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างลึกซึ้ง การคุกคามด้านความมั่นคงสลับซับซ้อนมาก ชาวโลกจึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า สหประชาชาติจะแสดงบทบาทมากยิ่งขึ้น สหประชาชาติก่อตั้งขึ้นภายหลังสงครามต่อต้านฟาสซิสต์ กฎบัตรสหประชาชาติระบุไว้อย่างชัดเจนว่า วงค์การสหประชาชาติก่อตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันไม่ให้ประชาคมโลกเข้าสู่ยุคสงครามอีกครั้ง การรักษาจุดประสงค์และหลักการของกฎบัตรสหประชาชาติ ตลอดจนกฎเกณฑ์พื้นฐานของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง อีกทั้ง ต้องปฏิบัติตามแถลงการณ์ไคโรและคำประกาศปอตสแดม(the Potsdam Proclamation) ที่เป็นพื้นฐานของการจัดการโครงสร้างการเมืองระหว่างประเทศหลังสงคราม แนวทางในการรำลึกการครบรอบ 70 ปีสหประชาชาติที่ดีที่สุดคือ ถือประวัติศาสตร์เป็นอุธาหรณ์ รักษาสันติภาพและความมั่นคงของโลก ส่งเสริมให้สหประชาชาติมีบทบาทมากยิ่งขึ้น ด้วยเหุตนี้ จีนจึงเสนอให้คณะมนตรีความมั่นคงฯ จัดการอภิปรายเปิดเผยเกี่ยวกับการรักษาสันติภาพและความมั่นคงของโลก

จีนสนับสนุนให้คณะมนตรีความมั่นคงฯ ดำเนินการปฏิรูปอย่างสมเหตุสมผล เพื่อปฏิบัติตามตามกฎบัตรสหประชาชาติ และรับใช้กิจการสันติภาพและการพัฒนาของมนุษยชาติอย่างดียิ่งขึ้น จุดประสงค์ของการปฏิรูปคณะมนตรีความมั่นคงฯ ก็เพื่อเพิ่มสิทธิและเสียงของตัวแทนของประเทสกำลังพัฒนา โดยเฉพาะประเทศแอฟริกา ให้ประเทศขนาดเล็กซึ่งเป็นส่วนข้างมากของสหประชาชาติมีโอกาสแสดงบทบาทในเวทีสหประชาชาติมากขึ้น แต่ประเทศสมาชิกของคณะมนตรีความมั่นคงฯ ยังมีข้อขัดแย้งอยู่มากเกี่ยวกับแนวคิดพื้นฐานของการปฏิรูปคณะมนตรีความมั่นคงฯ ไม่ว่าจะประเภทของสมาชิกที่เพิ่มใหม่ หรือขนาดของคณะมนตรีความมั่นคงฯ ดังนั้น การปฏิบัติตามหลักการปรึกษาหารือแบบประชาธิปไตยจึงมีความสำคัญมากในการบรรลุซึ่งความเห็นพ้องต้องกัน

Toon/Lr

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040