เมื่อวันที่ 5 มีนาคม นายหลิว มู่เหริน สมาชิกสภาปรึกษาการเมืองแห่งชาติจากเขตปกครองตนเองชนเผ่าจ้วงกว่างซี ในฐานะประธานสถาบันสังคมนิยมกว่างซีให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวว่า ญัตติของเขาในปีนี้คือการกระชับความร่วมมือระหว่างจีนกับอาเซียนให้พัฒนารุดหน้ายิ่งขึ้น ในฐานะที่เป็นนักฟิสิกส์คนหนึ่ง เขาเห็นว่า การที่จีนส่งเสริมโครงการ "หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง" ต้องถือความร่วมมือด้านเทคโนโลยีเป็นเรื่องสำคัญ
ญัตติของนายหลิว มู่เหรินในปีนี้คือ "การตั้งกลไกการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือระหว่างจีนกับอาเซียน" โดยมีสาระสำคัญอยู่ที่การเร่งสร้างศูนย์ถ่ายโอนเทคโนโลยีจีน-อาเซียน ตั้งกลไกในระยะยาวเพื่อขยายการแลกเปลี่ยนระหว่างหน่วยงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สร้างนิคมร่วมกันกับประเทศอาเซียน จัดตั้งกองทุนเพื่อการแลกเปลี่ยนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจีน-อาเซียน
นายหลิว มู่เหรินเห็นว่า ยุทธศาสตร์ "หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง" ของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง เป็นความคิดที่ยิ่งใหญ่ จีนกับอาเซียนควรพยายามหาจุดที่สามารถจับมือกันได้ เขากล่าวว่า
"การหาทางเพื่อเริ่มต้นดำเนินนโยบายหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางเป็นเรื่องที่สำคัญมาก หากว่านโยบายดังกล่าวจะเป็นการแลกเปลี่ยนในระยะยาว ช่วงริเริ่มหาความร่วมมือในเรื่องเล็กๆ ไปก่อนย่อมจะประสบความสำเร็จได้ง่ายกว่า ฉะนั้นสำคัญอยู่ที่ว่าหาช่องทาง มิฉะนั้นเรื่องต่างๆ ก็เป็นเพียงคำขวัญเท่านั้น"
นายหลิว มู่เหรินยังกล่าวอีกว่า ในญัตติดังกล่าว การเร่งสร้างศูนย์ถ่ายโออนเทคโนโลยีเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด เมื่อเดือนกันยายน ปี 2013 ศูนย์ดังกล่าวได้จัดตั้งขึ้นแล้ว แต่ก็ยังต้องการพัฒนาอยู่อีกมากในทุกวันนี้ เขากล่าวว่า
"ศูนย์ดังกล่าวเป็นองค์การที่ทางการตั้งขึ้น ถ้าอยากให้ทุกเรื่องลงไปถึงภาคเอกชนและพัฒนาไปให้ลึก ยังมีงานที่ตัวเผชิญหนัก ไม่เพียงแต่ให้รัฐมนตรีกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโลโนยีนั่งลงก็สามารถทำได้ เพราะเรายังขาดฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ เพื่อพัฒนาสร้างสรรค์และปรับปรุงให้ดีขึ้นต่อไป"
ในด้านความร่วมมือของบริษัทภาคเอกชนระหว่างจีนกับอาเซียน นายหลิว มู่เหรินเสนอใช้บริษัทที่ประสบความสำเร็จมากเป็นกรณีศึกษาแล้ว เพื่อนำทางให้กับฝ่ายต่างๆ และยังต้องขยายการแลกเปลี่ยนผ่านการที่จีนกำลังดำเนินนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวอยู่โดยอาจจะจัดให้มีรายการไปดูงานยังนิคมต่างๆ เขากล่าวว่า
"ผู้ให้บริการด้านการท่องเที่ยวสามารถเสนอบริการด้านการท่องเที่ยวที่มีความสะดวกมากว่าอยู่แล้ว ในเส้นทางท่องเที่ยวเหล่านี้เราสามารถเน้นให้เขาไปขยายการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศได้มากกว่าแค่ไปเที่ยวธรรมดา เช่น ถ้าเดินทางไปสหรัฐฯ ก็อาจไปดูงานที่บริษัทอินเทล หรือไมโครซอฟท์ เช่นเดียวกัน ถ้าหากว่ามีเส้นทางท่องเที่ยวไปมาเลเซีย ก็สามารถไปดูงานที่นิคมอุตสาหกรรมมาเลเซีย(กวนตัน)-จีนได้ หรือถ้ามีเส้นทางท่องเที่ยวที่มีปัจจัยเทคโนโลยีด้วย ประกอบกับการเผยแพร่ของสื่อมวลชน แนะนำความร่วมมือระหว่างประเทศอาเซียนกับจีน ก็จะยิ่งสามารถเพิ่มความเข้าใจของประชาชนที่มีต่อความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้"
Toon/lei