วันที่ 23 มีนาคมเป็นวันอุตุนิยมวิทยาโลก เมื่อเดือนมิถุนายนค.ศ. 1960 องค์การอุตุนิยมวิทยาโลกได้ผ่านมติกำหนดให้วันที่ 23 มีนาคมเป็นวันอุตุนิยมวิทยาโลกซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ ค.ศ. 1961 จนถึงปีนี้ก็ครบ 54 ปีแล้ว
บางคนอาจสงสังว่า วันอุตุนิยมวิทยาโลกมีความสำคัญแค่ไหน การวิจัยอุตุนิยมวิทยาจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนอย่างไร
อุตุนิยมวิทยาคืออะไร อุตุนิยมวิทยาหมายถึงสภาพและปรากฏการณ์ของอากาศ อาทิ หนาว ร้อน แห้ง ชื้น ลม เมฆ ฝน หิมะ หมอก ลูกเห็บ พายุทราย เป็นต้น ซึ่งพายุทรายในไทยไม่มี แต่ในกรุงปักกิ่งเกิดบ่อยครั้ง โดยเฉพาะในฤดูใบไม้ผลิ จะมีลงแรงทางเหนือจากมองโกเลียพัดเข้ามา ซึ่งพัดผ่านทะเลทรายและโกบี หอบเอาทรายเข้ามาด้วย แต่ในขณะเดียวกัน ลมแรงก็จะช่วยปัดหมอกควันมลพิษออกไปด้วย เพราะฉะนั้น สำหรับกรุงปักกิ่งลมแรงทางเหนือจะเหมือนดาบสองคม แต่ในสายตาของชาวปักกิ่งส่วนใหญ่ เมื่อเทียบกันแล้ว ทรายที่มาจากธรรมชาติก็ยังดีกว่ามลพิษที่มาจากโรงงาน
ประเทศจีนเป็นหนึ่งในประเทศผู้ริเริ่มก่อตั้งองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก หลายสิบปีมาแล้ว ได้สร้างคุณูปการต่อการพัฒนาของภารกิจอุตุนิยมวิทยาโลกเป็นอย่างมาก จีนได้สร้างสถานีอุตุนิยมวิทยาทั้งที่ใช้มนุษย์ตรวจและตรวจโดยอัตโนมัติเกือบทุกตำบล ประชาชนฟังวิทยุ ท่องเน็ตหรือดูแอพพลิเคชันก็สามารถรับรู้สภาพอากาศในขณะนี้เป็นอย่างไร
(In/Cui)