ในข้อเสนอของปีนี้ นายเผิงจาวให้ความสำคัญต่อข้อเสนอเกี่ยวกับการสร้างวงการท่องเที่ยวเส้นทางสายไหมทางทะเลศตวรรษที่ 21 มากที่สุด เพราะเป็นแผนการสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนา "หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง" ของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง เขาคิดว่า เส้นทางสายไหมทางทะเลควรถือการพัฒนาการท่องเที่ยวเป็นจุดเริ่มต้น
นายเผิงจาว แนะนำว่า สำหรับวงการท่องเที่ยว อันได้แก่ หนึ่ง)วงการท่องเที่ยวจีน-อาเซียน ที่รวมถึงจีน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย บรูไน ลาว กัมพูชาและเมียนมาร์ ประเทศเหล่านี้ควรให้ความสำคัญกับทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลและเกาะ รวมถึงวัฒนธรรมที่แตกต่างกันของประเทศอาเซียนและชนเผ่าต่างๆ เป็นต้น พยายามสร้างวงการท่องเที่ยวที่มีลักษณะพิเศษทางชนเผ่าของเส้นทางสายไหมทางทะเลศตวรรษที่ 21 สอง)วงการท่องเที่ยวจีน-เอเชียใต้ ที่รวมถึงอินเดีย ศรีลังกา ซาอุดีอาระเบีย และประเทศเอเชียใต้อื่นๆ สาม)วงการท่องเที่ยวจีน-ยุโรป-แอฟริกา รวมถึงอียิปต์ กรีซ ตุรกี และประเทศยุโรปและแอฟริกาอื่นๆ วงการท่องเที่ยวทั้ง 3 ดังกล่าวมีความหมายสำคัญต่อการส่งเสริมการดำเนินยุทธศาสตร์ "หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง" และการพัฒนาการท่องเที่ยวข้ามชาติของจีน เพราะฉะนั้น เขาให้ความสำคัญกับข้อเสนอนี้อย่างมาก
นายเผิงจาวกล่าวว่า ประเทศอาเซียนมีประชากรจำนวนมาก และส่วนใหญ่เป็นประเทศกำลังพัฒนา อีกทั้งยังเป็นประเทศเศรษฐกิจใหม่ สิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานยังไม่พอเพียง มีตลาดใหญ่มากทางการคมนาคม การลงทุน เทคโนโลยีใหม่ การรักษาสภาพแวดล้อม และเทคโนโลยีการเกษตรทันสมัย เป็นต้น ส่วนกวางสีมีเทคโนโลยี การบริการและทรัพยากรอุดมสมบูรณ์ พร้อมกับการดำเนินเส้นทางสายไหมทางทะเลศตวรรษที่ 21 จึงมีโอกาสความร่วมมือทางด้านนี้มาก
จีนผลักดันการสร้าง "หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง" เพื่อส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจในกระบวนการเปิดประเทศให้กว้างขึ้น โดยวิธีการอำนวยประโยชน์ต่อกันเพื่อประสบผลสำเร็จร่วมกัน ภายใต้สภาพที่การพัฒนาเศรษฐกิจจีนเติบโตเชื่องช้าลงและเข้าสู่ "สถานการณ์ใหม่" การดำเนิน "หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง" จะช่วยเศรษฐกิจยกระดับขึ้นทางหลายด้าน เช่น สิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐาน ความร่วมมือทางวัฒนธรรม และการค้าระหว่างประเทศ เป็นต้น
นายเผิงจาวแนะนำว่า รัฐบาลกำหนดให้เขตกวางสีเป็นสะพานสำคัญในการสร้าง "หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง" เพราะฉะนั้น กวางสีจะพยายามเชื่อมโยงกับประเทศอาเซียนทั้งทางด้านการคมนาคม การค้า การเงิน มิตรภาพและนโยบาย