รายชื่อประเทศผู้ร่วมก่อตั้งธนาคารเพื่อการลงทุน โครงสร้างพื้นฐานเอเชียจะประกาศวันนี้
  2015-04-15 13:34:37  cri
หนังสือพิมพ์เหรินหมินรึเป้ารายงานว่า วันที่ 15 เมษายนนี้ จะมีการประกาศรายชื่อประเทศผู้ร่วมก่อตั้งธนาคารเพื่อการลงทุน โครงสร้างพื้นฐานเอเชีย หรือ ธนาคารเอไอไอบี

เมื่อเดือนตุลาคมปี 2013 จีนเสนอแนวคิดริเริ่มก่อตั้งธนาคาร เอไอไอบี ต่อมาเมื่อเดือนตุลาคมปี 2014 จีนและอีก 20 ประเทศลงนามในบันทึกช่วยจำเกี่ยวกับการก่อตั้งธนาคาร เอไอไอบี หลังจากนั้น ประเทศที่แสดงเจตจำนงที่จะเป็นประเทศผู้ร่วมก่อตั้งธนาคาร เอไอไอบี เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การก่อตั้งธนาคาร เอไอไอบี กลายเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจอย่างมากจากประชาคมโลก บุคคลจากแวดวงการเมืองและเศรษฐกิจ ทั่วโลกพากันออกมาแสดงความคิดเห็นต่อการก่อตั้งธนาคารนี้ โดยส่วนใหญ่ได้ให้การสนับสนุน และเสนอข้อเสนอลักษณะสร้างสรรค์ ส่วนบุคคลที่มีความข้องใจต่อการก่อตั้งธนาคาร เอไอไอบี นับวันมี จำนวนน้อยลง

นักวิเคราะห์เห็นว่า การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเอเชียต้องการเงินทุนจำนวนมหาศาล แต่ระบบการเงินระหว่างประเทศที่มีอยู่ในปัจจุบัน ไม่สามารถสนองความต้องการในเรื่องนี้ หนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียลไทม์ของอังกฤษ (The Financial Times)วิเคราะห์ว่า การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต้องการเงินทุนจำนวนมหาศาล แต่หลังเกิดวิกฤตการเงินโลก ธนาคารส่วนใหญ่ไม่ยอมปล่อยกู้ให้กับโครงการขั้นพื้นฐาน เพราะการลงทุนประเภทนี้มีกระบวนการยาวมาก หลังสหรัฐฯประกาศใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลาย เงินทุนจำนวนหนึ่งได้ไหลออกจากประเทศตลาดเกิดใหม่ ทำให้ปัญหาขาดแคลนเงินทุนในการพัฒนาโครง สร้างพื้นฐานเอเชียมีความรุนแรงมากขึ้น ดังนั้น การก่อตั้งธนาคาร เอไอไอบี จึงเป็นทางเลือกที่ดีในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว

นอกจากนี้ ธนาคาร เอไอไอบี มีส่วนเกื้อกูลต่อระเบียบเศรษฐกิจโลกปัจจุบัน สถาบันการเงินระหว่างประเทศที่มีอยู่ในปัจจุบัน เช่น ธนาคารโลก ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย ไม่ได้เน้นสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ดังนั้น การก่อตั้งธนาคาร เอไอไอบี จึงเป็นการเสริมระบบการเงินระหว่าง ประเทศที่มีอยู่ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเอเชียจะใช้วิธีการจัดการ บริหารรูปแบบใหม่ โดย จะเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมได้ ทั้งนี้จะทำให้ธนาคาร เอไอไอบี มีประสิทธิภาพมากขึ้น และมีต้นทุนต่ำ แม้ประเทศด้อยพัฒนาก็สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานได้

นักวิเคราะห์ยังแสดงความคิดเห็นว่า ธนาคาร เอไอไอบี เป็นเวทีความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งใหม่ ทำให้ประเทศกลาง และประเทศเล็กในเอเชียมีโอกาสร่วมเป็นสมาชิกสถาบันการเงิน ระหว่างประเทศได้เป็นครั้งแรก ขณะที่ประเทศที่มีความเข้มแข็งด้านกิจการการเงิน เช่น อังกฤษ มีโอกาสเสริมพลังการแข่งขันของตนให้มากยิ่งขึ้น ส่วนออสเตรเลีย บราซิลและประเทศที่มีทรัพยากรณ์อุดมสมบูรอื่นๆ จะมีโอกาสบุกตลาดโลกมากยิ่งขึ้นจากการร่วมเป็นผู้ก่อตั้งธนาคาร เอไอไอบี

(YIM/cai)

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040