ปี 1931 ทหารญี่ปุ่นก่อเหตุการณ์ 19 กันยา ต่อมารุกราน 3 มณฑลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน สหพันธ์นานาชาติที่นำโดยสหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศสและประเทศอื่นๆ แทนที่จะใช้มาตรการลงโทษญี่ปุ่น กลับเรียกร้องให้จีนยอมรับสิทธิพิเศษของญี่ปุ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีนด้วย กรกฎาคมปี 1937 ญี่ปุ่นก่อสงครามรุกรานจีนอย่างทั่วด้าน แต่รัฐบาลสหรัฐฯ กับอังกฤษยังคงใช้นโยบายจำยอมสละโดยให้ท้ายและปล่อยให้ญี่ปุ่นรุกรานจีน เพื่อแลกกับผลประโยชน์ส่วนตัว
เพื่อรับมือกับสถานการณ์ในยุโรป สหรัฐฯ กับญี่ปุ่นเจรจากันตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนปี 1940 เพื่อผ่อนคลายความขัดแย้งระหว่างกัน การกระทำแบบนี้ มิเพียงแต่ให้ท้ายพฤติกรรมการรุกรานจีนของญี่ปุ่นเท่านั้น หากยังไม่สามารถระงับการก่อการโจมตีทางอากาศต่อฐานทัพเพิร์ลฮาร์เบอร์ของสหรัฐฯ รวมไปถึงสงครามแปซิฟิกด้วย
ประวัติศาสตร์พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า นโยบายจำยอมสละแทนที่จะยับยั้งความทะเยอทะยานของลัทธิฟาซิสต์เยอรมนีและลัทธิรัฐทหารญี่ปุ่น กลับยุยงให้ผู้รุกรานกล้าเสี่ยงมากขึ้น จนส่งผลให้สงครามโลกครั้งที่ 2 ปะทุขึ้นเร็วเกินคาด ซึ่งถือเป็นบทเรียนที่ควรจะจดจำ แต่ทว่า ทุกวันนี้ วิญญาณของลัทธิจำยอมสละยังคงเร่ร่อนอยู่ทุกหนทุกแห่งทั่วโลก การใช้นโยบายต่อญี่ปุ่นของสหรัฐฯ หลังสงครามก็เป็นตัวอย่างที่ชัดเจน
สหรัฐฯ แทนที่จะจัดการกับอาชญากรรมของลัทธิรัฐทหารญี่ปุ่นอย่างสิ้นเชิง กลับปล่อยนักโทษสงครามจำนวนมาก รวมทั้งนักโทษสงครามระดับ A ด้วย กระทั่งปล่อยให้นายคิชิ โนบุสุเกะ หนึ่งในนักโทษสงครามระดับ A ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นด้วย อีกทั้งปล่อยให้นักการเมืองนิยมลัทธิรัฐทหารครองอำนาจการเมืองของญี่ปุ่นมาเป็นเวลานาน
กลุ่มขวาจัดที่นำโดยนายชินโซ อาเบะอุกอาจปฏิเสธประวัติการรุกรานประเทศอื่น ตั้งข้อสงสัยต่อคำพิพากษาของศาลทหารตะวันออกไกล ยกเลิกคำสั่งห้ามใช้อำนาจส่วนรวมในการป้องกันตนเอง ร่างกฎหมายรักษาความมั่นคงฉบับใหม่ และเสริงกำลังรบตามอำเภอใจ เหล่านี้ล้วนมีส่วนเกี่ยวข้องกับการที่สหรัฐฯ ใช้นโยบายจำยอมสละต่อญี่ปุ่นภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2