หมู่เกาะในทะเลจีนใต้ (2)
  2015-09-21 15:38:38  cri

ก่อนสหประชาชาติเปิดเผยว่า ทะเลจีนใต้มีทรัพยากรน้ำมันปิโตรเลียมที่อุดมสมบูรณ์ ช่วงปี 1968 สถานการณ์ทะเลจีนใต้ดูเหมือนจะเงียบสงบมาก ประเทศที่เกี่ยวข้องต่างก็ยอมรับอธิปไตยของจีนเหนือหมู่เกาะในทะเลจีนใต้

แต่หลังจากสหประชาชาติเปิดเผยรายงานฉบับหนึ่งว่า จากการสำรวจขุดเจาะเป็นเวลานานหลายปี เป็นที่ประจักษ์ว่า น่านน้ำแถบทะเลจีนใต้เป็นน่านน้ำที่มีทรัพยากรน้ำมันปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติในปริมาณมหาศาล รองจากอ่าวเปอร์เซียและอ่าวเม็กซิโก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่เกาะหนานซาและน่านน้ำใกล้เคียง หลังจากนั้น ประเทศรอบข้างต่างก็ออกมาเรียกร้องสิทธิอธิปไตยบนหมู่เกาะทะเลจีนใต้ จนเกิดการยึดครองเกาะแก่ง กลายเป็นกรณีพิพาทเรื่องดินแดนกับจีนขึ้น แน่นอนว่า ต้นเหตุการเกิดกรณีพิพาทในทะเลจีนใต้ เนื่องจากประเทศที่เกี่ยวข้องต่างก็เล็งเห็นประโยชน์จากทรัพยากรน้ำมันปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติในบริเวณนั้น

โดยเนื้อแท้แล้ว ปัญหาทะเลจีนใต้เป็นประเด็นเกี่ยวกับการปกป้องอธิปไตยของจีน ไม่ใช่การขัดแย้งเรื่องการใช้สิทธิในน่านน้ำ มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์มากมายยืนยันได้ว่า ประเทศจีนมีอธิปไตยเหนือหมู่เกาะทะเลจีนใต้ตามเส้นแบ่งเขตที่มี 9 ตอน คือ เกาะแก่งที่อยู่ในเขตเส้นแบ่งเขต 9 ตอน อธิปไตยเป็นของจีน อย่างไรก็ตาม ทุกประเทศมีสิทธิในการเดินเรือและการบินผ่านทะเลจีนใต้ได้อย่างเสรี

ปัจจุบัน นโยบายของจีนในการแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งในทะเลจีนใต้

คือ เป็นมิตรกับประเทศเพื่อนบ้าน แก้ไขข้อขัดแย้งเรื่องสิทธิประโยชน์ทางทะเลด้วยสันติวิธี จะพยายามหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดการปะทะทางทหารในการแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งกับประเทศรอบข้าง

ในฐานะประเทศที่มีอธิปไตยเหนือหมู่เกาะทะเลจีนใต้ จีนพยายามธำรงไว้ซึ่งสันติภาพ ความมั่งคงในบริเวณทะเลจีนใต้ และนำเสนอหลักปฏิบัติในทะเลจีนใต้ เพื่อระงับการขัดแย้ง อีกทั้งเสนอว่า จะร่วมมือกับประเทศรอบข้าง เพื่อร่วมพัฒนาเกาะแก่งบางแห่ง ด้วยพื้นฐานดังกล่าว จีนได้ลงนามแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยแนวปฏิบัติของภาคีในทะเลจีนใต้ กับประเทศอาเซียน แต่ตราบจนทุกวันนี้ บางประเทศไม่เพียงแต่ไม่ได้ปฏิบัติตามแถลงการณ์ร่วมนี้เท่านั้น กลับพึ่งพาการค้ำจุนจากประเทศมหาอำนาจ และสร้างสถานการณ์เป็นระยะๆ ทำให้ สถานการณ์ทะเลจีนใต้ในช่วงที่ผ่านมามีความสลับซับซ้อนมากขึ้น

จีนย้ำมาโดยตลอดว่า ต้องใช้วิธีการเจรจาและใช้ช่องทางทางการทูตในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว รวมไปถึงการปฏิบัติตามหลักแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยแนวปฏิบัติของภาคีในทะเลจีนใต้ ซึ่งที่ผ่านมาจีนได้ใช้ความอดทนอดกลั้นอย่างถึงที่สุดในการแก้ไขปัญหา

นักวิเคราะห์เห็นว่า สิ่งที่จีนต้องเร่งดำเนินการในขณะนี้คือ สร้างภูมิคุ้มกันให้ตนเอง โดยจะค่อยๆ ฟื้นฟูการควบคุมดูแลเกาะแก่งและน่านน้ำที่เกิดกรณีพิพาท ส่งเรือตรวจการลาดตระเวนตามเขตแดนที่มีข้อพิพาทเป็นประจำ ส่งเสริมสนับสนุนเรือประมงจีนทำการประมงในบริเวณทุกหมู่เกาะในทะเลจีนใต้ โดยรัฐบาลจีนส่งกองเรือไปคุ้มครองเต็มที่ เร่งทำการสำรวจขุดเจาะน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในทะเลจีนใต้ ส่งเสริมกิจการท่องเที่ยวในทะเลจีนใต้ ส่งเสริมการก่อสร้างบนเกาะแก่งต่างๆ ที่จีนเป็นเจ้าของ เพื่อพัฒนาเป็นศูนย์การประมงและศูนย์จัดส่งกำลังบำรุง

จีนยังต้องเพิ่มความเข้มข้นในการปฏิบัติตามกฎหมายทะเล เนื่องจากจีนถือนโยบายเป็นมิตรกับประเทศเพื่อนบ้านมาโดยตลอด อีกทั้งได้กำหนดทิศทางการแก้ไขข้อขัดแย้งเรื่องสิทธิประโยชน์ทางทะเลด้วยสันติวิธี จะพยายามหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดการปะทะโดยตรงทางทหารในการแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งด้านสิทธิประโยชน์กับประเทศรอบข้าง ฉะนั้น ในการปฏิบัติตามกฎหมายทะเลก็ต้องมีหน่วยปฏิบัติตามภารกิจในการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ในทะเลจีนใต้ ยกระดับการปฏิบัติการรักษากฎหมายทะเลให้สูงขึ้น จึงจำเป็นต้องมีกองกำลังผสม เพื่อบูรณาการหน่วยงานควบคุมทางทะเล การตรวจการด้านการประมง การปฏิบัติการกู้ภัยทางทะเล ศุลกากรและตำรวจน้ำที่มีการประสานการปฏิบัติงานเป็นหนึ่งเดียวกัน มีคุณสมบัติหลากหลาย รวมทั้งจะต้องพยายามปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวกับทะเลให้มีความครบถ้วนยิ่งขึ้น ยกระดับการปฏิบัติตามกฎหมายทะเลให้สูงขึ้น คุ้มครองสิทธิประโยชน์ทางทะเลของจีน

นักวิเคระห์ยังเห็นว่า จีนต้องเร่งเผยแพร่หลักการ "อธิปไตยเป็นของจีน" อย่างเต็มที่ โดยใช้ทั้งสื่อในประเทศและต่างประเทศ เน้นการเผยแพร่ข้อเท็จจริงในประวัติศาสตร์เกี่ยวกับอธิปไตยเหนือหมู่เกาะในทะลเจีนใต้ทั้งเชิงประวัติศาสตร์และเชิงนิติธรรม เพื่อให้ประชาชนทั่วโลกรับรู้ร่วมกันว่า "อธิปไตยเหนือหมู่เกาะทะเลจีนใต้เป็นของจีน" พยายามให้สื่อมวลชนสากลมีความเข้าใจที่ถูกต้อง

สื่อจีนรายงานว่า นโยบาย"การระงับข้อขัดแย้งในทะเลจีนใต้ เพื่อพัฒนาร่วมกัน" นั้น มิได้เป็นลักษณะแบบขอไปที หากแต่เป็นยุทธศาสตร์ระยะยาว ประเด็นสำคัญในการระงับข้อขัดแย้งอยู่ที่การพัฒนาร่วมกัน แต่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา บางประเทศฉวยโอกาสยึดครองเกาะแก่งบางแห่งในทะเลจีนใต้ ทำการพัฒนาโดยพลการ แต่ปัจจุบันสถานการณ์เปลี่ยนไปแล้ว จีนมีกำลังเพียงพอที่จะทำให้เกิดการพัฒนาร่วมกัน ทั้งยังมีความเชื่อมั่นที่จะบรรลุเป้าหมายให้สำเร็จได้

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040