บทสัมภาษณ์คุณชัยวัฒน์ วนิชวัฒนะ นายกสมาคมผู้สื่อข่าวไทย-จีน(3)
  2015-12-09 10:49:48  cri

เฟิง: หลังจากนายกรัฐมนตรีของจีนและไทยได้ลงนามบันทึกช่วยจำเกี่ยวกับโครงการร่วมมือรถไฟจีน-ไทย รัฐบาลไทยได้แถลงนโยบายและยุทธศาสต์การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ จริงๆ แล้ว ทางด้านจีนเองตั้งแต่ดำเนินการปฏิรูปและเปิดประเทศ ก็เคยพุ่งเป้าพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ 4 เขต โดยเมืองเซินเจิ้นกลายเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษแรกของจีน ต่อจากนั้นได้กำหนด 14 เมืองชายฝั่งทะเลให้เป็นเมืองเปิดริมชายฝั่งที่ใช้นโยบายเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งมีบทบาทสำคัญให้เศรษฐกิจของจีนเจริญรุ่งเรื่องขึ้นมา และพัฒนาอย่างรวดเร็ว ได้ข่าวว่า สมาคมผู้สื่อข่าวไทย-จีนซึ่งมีคุณชัยวัฒน์ วนิชวัฒนะเป็นนายกสมาคม จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสัมมนาว่าด้วยการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ กรุณาอธิบายประเด็นที่น่าสนใจของสัมมนาครั้งนี้ครับ

ชัยวัฒน์: เรื่องเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนของไทย เกิดขึ้นในรัฐบาลชุดปัจจุบัน ที่ส่วนหนึ่งของนโยบายก็คือต้องการกระจายความเจริญสู่ในส่วนภูมิภาคต่างๆ ของไทย ไม่ให้มันกระจุกตัวอยู่เฉพาะในส่วนกลาง ขณะเดียวกัน ก็เป็นการพัฒนาจังหวัดชายแดนขึ้นมารองรับนโยบายที่ไทยและอีก 9 ประเทศอาเซียนจะก้าวเข้าสู่ AEC หรือว่าประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มันก็เป็นการกำหนดยุทธศาตตร์ มีทั้งหมดประมาณ 10 จังหวัดชายแดนทั่วประเทศ ทั้งเหนือ ทั้งอีสาน ทั้งตะวันออก ตะวันตก แล้วก็ภาคใต้นะครับ ไม่ใช่เฉพาะที่สงขลาอย่างเดียว แต่ว่าจังหวัดที่มีศักยภาพบริเวณชายแดนของไทยทั่วประเทศ ได้มีการกำหนดให้มีเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษขึ้นมา ถามว่าจะทำอะไร เขาต้องการพัฒนาให้สามารถรองรับการค้า การลงทุนระหว่างประเทศได้ ยกตัวอย่างนะครับ อย่างเช่นที่ผมบอกว่าจะไปจัดสัมมนาที่สงขลาในวันที่ 19 พฤศจิกายนนี้ สงขลาจริงๆ มีด่านอยู่ 2 ด่าน ด่านปาดังเบซาร์กับด่านสะเดา ซึ่งค้าขายกับมาเลเซียอยู่แล้ว แต่ว่าพื้นที่ด่านศุลกากรมันแคบ ถนนหนทางก็แคบ ทุกวันนี้รถบรรทุกติดกันยาวเป็นกิโลๆ เขาก็เลยต้องการขยายด่านศุลกากรให้มีอีกด่านหนึ่งขึ้นมา แล้วก็แยกระหว่างคนกับสินค้า จะมีแผนทำเป็นทางด่วน ให้เชื่อมต่อจากเขตเมืองเข้าสู่ด่าน แล้วก็เชื่อมต่อไปถึงมาเลเซีย และในอนาคตก็จะมีต่อทางรถไฟให้ไปได้ มันก็จะทำให้การค้า Flow คือไม่เกิดการติดขาด แล้วก็มีความสะดวกสะบายยิ่งขึ้น ประกอบกับทางหาดใหญ่มีสนามบิน มีท่าเรือน้ำลึก ต่อไปก็สามารถเชื่อมโยงการค้าให้คร่องตัวมากขึ้น และมีนิคมอุตสาหกรรมเกิดขึ้นด้วย จะใช้ตรงนั้นเป็นจุดกระจายสินค้า มีการลงทุนผลิตและส่งออกสินค้าได้ทันที ซึ่งตรงนี้ผมคิดว่าก็เหมือนกับที่จีนเคยทำ อย่างที่คุณหลุ่ เฟิงบอกว่า จีนเคยใช้แผนนี้พัฒนา อย่างเซินเจิ้น อะไรต่ออะไรเกิดขึ้นมา

เฟิง: ผมก็เชื่อมั่นว่า นโยบายนี้จะยิ่งอำนวยต่อการพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางด้านโลจิสติกส์ของอาเซียน ทำให้ทุกประเทศอาเซียนร่วมกันได้รับประโยชน์ด้วยครับ แล้วหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจคงให้ความสำคัญกับการรายงานข่าวเศรษฐกิจจีน ปกติจะฟอกัสข่าวเศรษฐกิจจีนด้านไหนบ้าง?

ชัยวัฒน์: เนื่องจาก "ฐานเศรษฐกิจ" เป็นหนังสือพิมพ์แนวเศรษฐกิจเป็นหลักอยู่แล้ว ก็ต้องให้ความสำคัญกับเรื่องการค้า การลงทุนเป็นหลักแน่นอน ที่เราติดตามก็คือความร่วมมือระหว่างไทยกับจีนในความร่วมมือด้านเศรษฐกิจเป็นหลัก ตอนนี้ที่ทุกคนเฝ้าติดตามมากคือ ตกลง(โครงการ)รถไฟ จีน-ไทยเอายังไงแน่ การเจรจากับรัฐบาลไทยไปถึงไหน ข่าวตอนแรกบอกว่าจะเริ่มลงมือก่อสร้างปีนี้ จะชัดเจนไหม หรือว่าจะไปเริ่มกันปีหน้า แล้วถ้าเริ่มปีหน้าจะเสร็จเมื่อไร จะเปิดใช้บริการได้จริงหรือเปล่า กำหนดการชัดเจนแบบนี้เป็นต้น เพราะว่าถ้าเกิดขึ้นจริงเนี่ย เราก็จะเห็นว่าสิ่งที่จะตามมาก็คือความเจริญตามสถานีต่างๆของรถไฟที่บอกว่าจะเป็น High Speed จะเป็นรถไฟความเร็วสูงเนี่ย นักลงทุนเขาก็รออยู่ หรือจังหวัดต่างๆ ที่เป็นสถานีขึ้นลงเขาก็หวังว่าจะเกิดความเจริญตามมา ความเจริญอันนั้นคืออะไร ก็คืออาจจะให้มีการลงทุนให้แต่ละจุดเป็นจุดขนถ่ายผู้คน หรืออาจจะมีการลงทุนต้านอสังหาริมทรัพย์ อะไรแบบนี้เป็นต้นที่มันจะตามมา

เฟิง: ครับผม แหล่งท่องเที่ยวก็จะบูมไปด้วย

ชัยวัฒน์: คือถ้าเป็นอย่างนั้นเราหวังว่า สงสัยคงไม่ใช่แค่ 10,000,000 คนของจีนที่มาเยือน(เมืองไทย)หรืออาจจะมากกว่านั้น หรือขนาดเดียวกัน คนไทยหรือจากมาเลเซีย สิงคโปร์ทางใต้ก็จะสามารถเดินทางไปสู่จีนได้สะดวกมากขึ้นอีกเยอะเลย

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040