บทสัมภาษณ์คุณชัยวัฒน์ วนิชวัฒนะ นายกสมาคมผู้สื่อข่าวไทย-จีน(1)
  2015-12-09 10:42:00  cri

 

 

เมื่อปลายเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา สถานีวิทยุซีอาร์เป็นเจ้าภาพจัดโครงการ "ฉันเล่าเรืองเมืองจีน" เพื่อคัดสรรผู้แทนแฟนเน็ตต่างชาติยอดเยี่ยมจากทั่วโลก ผู้ได้รับเลือกต้องเป็นมิตรแท้ชาวจีนที่มีความใกล้ชิดผูกพันกับจีน และได้สร้างผลงานเด่นในฐานะเป็นสื่อบุคคลประชาสัมพันธ์ประเทศจีนผ่านโซเชียลมีเดีย ปรากฏว่า แฟนเน็ต

ปรากฏว่า แฟนเน็ต 10 คนจากประเทศไทย อินโดนีเซีย อิหร่าน เกาหลีใต้ อินเดีย เนปาล รัสเซีย อังกฤษ กรีซ แคนาดาได้รับเลือกเป็นสุดยอดแฟนเน็ตทั่วโลก ซีอาร์ไอได้เขิญแขกผู้มีเกียรติเหล่านี้เดินทางมาเยี่ยมเยื่อนกรุงปักกิ่ง และร่วมพิธีมอบรางวัลสุดยอดแฟนเน็ตซีอาร์ไอออนไลน์ระหว่างวันที่ 13 – 19 พฤศจิกายนที่ผ่านมา

สำหรับสุดยอดแฟนเน็ตจากประเทศไทยที่ซีอาร์ไอเชิญมาคือ คุณชัยวัฒน์ วนิชวัฒนะ บรรณาธิการอาวุโสหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ และนายกสมาคมผู้สื่อข่าวไทย-จีน คุณชัยวัฒน์มุ่งมั่นผลักดันการแลกเปลี่ยนด้านวัฒนธรรมและข่าวสารระหว่างไทยกับจีน ส่งเสริมผู้สื่อข่าวสองประเทศให้เพิ่มพูนความเข้าใจระหว่างกัน และกระชับมิตรสัมพันธ์กัน

ในโอกาสที่แขกชาวต่างชาติ 10 คนมารับรางวัลสุดยอดแฟนเน็ตที่ซีอาร์ไอ หลู่ เฟิง พนักงานซีอาร์ไอ ภาคภาษาไทยได้สัมภาษณ์คุณชัยวัฒน์ วนิชวัฒนะเกี่ยวกับมุมมองต่อเศรษฐกิจจีน โครงการร่วมมือรถไฟจีน-ไทย ภาระหน้าที่ของสมาคมผู้สื่อข่าวไทย-จีน โอกาสการพัฒนาของไทยจากยุทธศาสตร์หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง เป็นต้น วันนี้ขอนำเสนอบทสัมภาษณ์

เฟิง: การมาร่วมคณะสุดยอดแฟนเน็ตทั่วโลกเยือนจีนในโครงการ "ฉันเล่าเรื่องเมืองจีน" ของสถานีวิทยุซีอาร์ไอในครั้งนี้ ห่างจากคุณชัยวัฒน์มาปักกิ่งครั้งที่แล้วเกือบ 30 ปี เมื่อเปรียบเทียบกับประสบการณ์การเยือนสองครั้งเนี่ย คุญชัยวัตน์รู้สึกประทับอะไรลึกซึ้งที่สุดครับ?

ชัยวัฒน์: ถ้าเปรียบเทียบกับครั้งแรก นับจริงก็ 26 ปีเต็มๆ ที่ตอนนั้นมาปักกิ่งครั้งแรก ตอนมาครั้งแรกเนี่ยเหมือนกับว่าไม่รู้จักอะไรเลย ได้มาเห็นปักกิ่งครั้งแรก ได้มารู้จักเพื่อนคนจีนเนี่ย อะไรก็ดูใหม่ไปหมด แต่สำหรับเที่ยวนี้ ได้เห็นความเปลี่ยนแปลงของกรุงปักกิ่งว่า ตึกรามบ้านช่อง อาคารสมัยใหม่สร้างขึ้น แม้แต่ซีอาร์ไอก็เป็นอาคารสำนักงานแห่งใหม่ที่ผมมาเยือน แต่เห็นว่าแห่งใหม่นี้ก็ 18 ปีแล้ว กำลังจะสร้างที่ใหม่กว่าอีก ถนนหนทาง รถยนต์ อันนี้ชัดเจนว่าเปลี่ยนไปเยอะ ครั้งแรกที่ผมมาตอนนั้น ผมเห็นมีแต่จักรยานเป็นส่วนใหญ่ แต่วันนี้รถยนต์เป็นส่วนใหญ่ จักรยานเห็นน้อยลงไปเยอะเลย แต่ที่ประทับใจจริงๆ ผมว่าอยู่ที่ผมได้เจอะเพื่อนใหม่ที่เป็นชาวต่างชาติอีก 9 คน เพราะว่าครั้งนี้ซีอาร์ไอเชิญมา 10 ประเทศ 10 คนครับ ผมได้เจอเพื่อนใหม่อีก 9 ประเทศจากรัสเซีย รัสเซีย แคนาดา อังกฤษ อินเดีย เนปาน เกาหลีใต้ อิหร่าน กรีซ ซึ่งไม่เคยรู้จักกันมาก่อนเลย นี่เป็นสุดยอดแฟนเน็ตของซีอาร์ไอ นี่คือสิ่งที่ประทับใจจริงๆ อีกข้อหนึ่งตามก็คือ รู้จักเพื่อนจีนเพิ่มขึ้น อย่างที่มาเจอคุณหลู่ เฟิง มาเจอทีมงานซีอาร์ไอที่มาให้การต้อนรับ แล้วก็อยู่ด้วยกันมาหลายวัน แล้วก็วันนี้ได้มาเยี่ยมที่สำนักงานซีอาร์ไอ ได้เจอเทียมงานภาคภาษาไทย ข้อสำคัญอีกข้อคือ ได้เจอเพื่อนเก่า อย่างคุณเถียน อี้หยุน ซึ่งรู้จักกันมาตั้งแต่เมื่อ 26 ปีก่อน แล้วก็ห่างไกลไปเป็นเวลานั้น ในระหว่างนั้น คุณเถียนก็มีโอกาสไปไทย ก็ได้มีการไปต้อนรับ ก็คิดถึงกัน แต่วันนี้คุณเทียนได้มาพบกันที่นี้ ผมก็ถือว่าประทับใจครับ

เฟิง: หลายปีที่ผ่านมา ประเทศจีนเป็นขุมพลังขับเคลื่อนการเติบโตของเศรษฐกิจโลกมาต่อเนื่องกัน ในฐานะผู้สื่อข่าวและบรรณธิการอาวุโสด้านข่าวเศรษฐกิจ คุณชัยวัฒน์มองว่า สาเหตุหลักที่ทำให้เศรษฐกิจจีนสามารถพัฒนาอย่างรวดเร็วและมีเสถียรภาพคืออะไรครับ?

ชัยวัฒน์: หลายปีที่ผ่านมา การที่จีนสามารถเติบโตได้ในอัตราที่สูง อัตราการเติบโต GDP ปีหนึ่งมากกว่าสองหลัก เป็นพราะอะไร ผมเชื่อว่าอย่างหนึ่งอยู่ที่ความเข้มแข็งของฝ่ายผู้ปกครองบ้านเมือง คือการเป็นรัฐบาลที่สามารถตัดสินใจได้เด็ดขาด ไม่ต้องการเรื่องฝ่ายค้าน ไม่ต้องกลัวอะไรแบบนี้ ซึ่งเวลามียุทธศาสตร์อะไรจะเดินหน้า แล้วก็ประเกศเดินหน้าไปอย่างมั่นคง อย่างชัดเจนมีเวลาต่อเนื่อง ซึ่งแค่ไปเทียบกับประเทศประชาธิปไตย บางทีคิดจะทำอะไรอย่างหนึ่งมันยาก ต้องรอเสียงเห็นพ้องกัน แล้วก็บางครั้ง แม้ว่าจะมีนโยบาบแล้วแต่มีการเมืองมาขัด ฝ่ายค้านต่อต้าน มีม๊อบมีอะไรต่างๆ มันทำให้เดินหน้าลำบาก หรือบางทีประชาธิปไตยสะดุด มีการยึดอำนาจบ้าง มีการปฏิวัติมีอะไรต่ออะไร นโบายก็เลยไม่ต่อเนื่อง อันนี้ผมไม่ได้ว่าประเทศอื่น ไม่ได้ไปเจาะจงประเทศไหน เปรียบเทียบให้ท่านผู้ฟังได้ฟังว่าอันนี้ทำให้จีนสามารถเดินหน้าได้ชัดเจน แต่ก็ในระหว่างการเดินหน้ามาเติบโตมากเกินไป บางที่ก็ใช้คำว่าร้อนแรงเกินไป เราก็ได้เห็นว่าตอนนี้จีนก็เริ่มชะลอลง ถูกไหมครับ แต่ว่าถ้าเป็นการชะลอเพื่อเดินหน้าต่อไปอย่างมั่นคง เพราะว่าผมคิดว่าบางที่เศรษฐกิจโตมากๆ ไม่จำเป็นต้องใช้คำว่าสองหลัก แต่ถ้าคุณเป็นอัตรา GDP หลักเดียว หกเจ็ดเบอร์เซนไปได้เนี่ย แล้วก็คนยังไปได้ต่อเนื่องเนี่ยมันเป็นความมั่นคงเหมือนกัน

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040