เอกอัคราชทูตไทยประจำจีน:จีนมีบทบาทสำคัญในความร่วมมือระหว่างกลุ่มจี 20 กับกลุ่มจี 77
  2016-09-03 17:15:35  cri

การประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่มจี 20 ครั้งที่ 11 จะจัดขึ้นที่เมืองหางโจว มณฑลเจ้อเจียงของจีนในวันที่ 4 -5 กันยายนนี้ ไทยในฐานะประธานกลุ่มจี 77 จะเข้าร่วมการประชุมตามคำเชิญ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีจะนำคณะผู้แทนเข้าร่วมประชุม ก่อนเปิดประชุม นายธีรกุล นิยม เอกอัคราชทูตไทยประจำจีนกล่าวกับผู้สื่อข่าวซีอาร์ไอว่า จีนมีบทบาทสำคัญในความร่วมมือระหว่างกลุ่มจี 20 กับกลุ่มจี 77 ภายใต้ภูมิหลังที่เศรษฐกิจโลกได้รับการปรับปรุงอย่างลึกซึ้งนั้น จีนเสนอยุทธศาสตร์การพัฒนา"หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง"และเสนอให้จัดตั้งธนาคารเอไอไอบี โดยมีบทบาทขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจโลกและภูมิภาค

นายธีรกุล นิยมชื่นชมจีนเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดกลุ่มจี 20 หางโจว เขาเห็นว่า การเตรียมงานนี้ของจีนมีความพร้อมและสมบูรณ์

สัปดาห์ที่แล้ว เขาได้มีโอกาสเดินทางไปสำรวจศูนย์ประชุมนานาชาติเมืองหางโจว พื้นที่จัดประชุมฯ ได้เห็นความพร้อมในทุกด้าน และในเรื่องของประสานงานการจัดประชุมฯ ได้เห็นความร่วมมือร่วมใจของจีนในทุกภาคส่วนและทุกระดับ โดยเฉพาะการร่วมแรงร่วมใจของประชาชนเมืองหางโจว ที่มีภาคภูมิใจในฐานะเมืองเจ้าภาพจัดการ ทำให้ผู้ที่เข้าร่วมประชุมเกิดความประทับใจ

การพัฒนาและบริหารจัดการโลกต้องการให้ประเทศกำลังพัฒนาเข้าร่วมอย่างแข็งขัน นายธีรกุล นิยมห็นว่า การที่จีนเชิญประเทศกลุ่ม G77 เข้าร่วมการประชุมสุดยอดกลุ่ม G20 นั้น จะส่งเสริมให้กลุ่ม G20 รับฟังความเห็นของประเทศส่วนใหญ่ เขากล่าวว่า

"กลุ่ม G20 ประกอบด้วยประเทศที่มีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ และอุตสาหกรรมในชั้นนำของโลก รวมแล้ว 19 ประเทศกับ 1 องค์การ กลุ่ม G77 ซึ่งมีสมาชิกประเทศกำลังพัฒนาถึง 134 ประเทศ ซึ่งถือว่าเป็นสมาชิกส่วนใหญ่ของสังคมโลก เพราะฉะนั้นก็ถือเป็นการเริ่มต้นของการร่วมมือที่มีความหมายของกลุ่มประเทศที่มีความสำคัญ 2 กลุ่ม การที่กลุ่ม G20 เปิดโอกาสให้กลุ่ม G77 เข้ามาร่วมประชุมครั้งนี้ก็จะทำให้ประเด็นสำคัญที่เป็นหัวข้อการหารือของกลุ่ม G20 ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องของการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ การเงินเพื่อการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ และการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก ได้รับการหารือจากประเทศส่วนใหญ่ของโลก จะทำให้มุมมองต่อประเด็นปัญหาต่างๆ มีอย่างครบถ่วน เพราะว่าประเทศส่วนใหญ่ของโลกได้อยู่ในกรอบต่างๆ ของการหารือด้วย ดังนั้น ทิศทางการแก้ไขปัญหาและการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการพัฒนาจะมีความสมดุล จะสะท้อนให้เห็นถึงความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ของโลก"

เกี่ยวกับความปรารถนาที่มีต่อการประชุมครั้งนี้ นายธีรกุล นิยมกล่าวว่า หวังว่ากลุ่ม G20 หวังว่า จะสามารถเรียนรู้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีที่ทันสมัยและแนวคิดสร้างผลงานนวัตกรรม ขณะเดียวกัน ก็อยากให้กลุ่ม G20 และองค์การระหวางประเทศให้การสนับสนุนทางนโยบายแก่ประเทศกำลังพัฒนามากยิ่งขึ้น เขากล่าวว่า

"ประเด็นที่ประเทศกลุ่ม G20 ให้ความสำคัญก็คือการส่งเสริมอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดเล็กและขนาดย่อม ซึ่งเราเรียกว่า SME เกี่ยวกับเรื่องนี้ทุกคนก็ทราบกันดีว่า SME เป็นตัวหลักสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของปรเทศกำลังพัฒนาเกือบทุกประเทศ และอีกประเด็นหนึ่งที่เราอยากจะเห็นก็คือการปฏิรูปสถาบันการเงินและการลงทุน อย่างเช่น IMF ซึ่งเราเห็นว่าสถาบันเหล่านี้ควรจะให้สิทธิประโยชน์และสิทธิของการเข้าถึงแก่ประเทศกำลังพัฒนามากขึ้น และประเด็นสุดท้ายซึ่งเราจะให้ความสำคัญคือ การลดมาตรการการกีดกันทางการค้าและการลงทุนต่อประเทศกำลังพัฒนา สิ่งเหล่านี้เป็นหัวใจสำคัญของประเทศกำลังพัฒนา"

ขณะกล่าวถึงบทบาทของจีน นายธีรกุล นิยมเห็นว่า จีนมีบทบาทเป็นสะพานเชื่อมกลุ่มจี 20 กับกลุ่มจี 77

จีนจะมีบทบาทที่สำคัญอย่างยิ่ง ต่อการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกลุ่มจี 20 กับกลุ่มจี 77 เพราะจีนเป็นสมาชิกของทั้งสองกลุ่ม จีนเป็นประเทศกำลังพัฒนาที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่ม 77 เป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จการพัฒนาในช่วงระยะเวลา 30 ปี กลายเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 2 ของโลก จีนมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ในฐานะเป็นสมาชิกของกลุ่มทั้งสอง ทำให้จีนสามารถแสดงบทบาทเป็นตัวเชื่อมโยงความร่วมมือระหว่างกัน ความสำเร็จของการพัฒนาเศรษฐกิจของจีน จีนก็สามารถแบ่งปันประสบการณ์ให้กับประเทศกำลังพัฒนาต่างๆ ได้เป็นอย่างดี

ภายใต้เบื้องหลังเศรษฐกิจที่กำลังปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง นายธีรกุล นิยมชื่นชมการพัฒนาอย่างยั่งยืนของจีน เขากล่าวว่า

ขณะนี้ เศรษฐกิจของโลก รวมทั้งเศรษฐกิจของจีน อยู่ในข่วงชะลอตัว อย่างไรก็ตาม จีนมีนโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ และมีมาตราการต่างๆ ที่พร้อมจะออกใช้ได้ทันที ซึ่งไม่เน้นการพัฒนาและการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างก้าวกระโดดอย่างที่ผ่านมา แต่เน้นความพอเพียง ความยั่งยืน และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมจีนฉบับที่ 13 ปี 2016 – 2020 ก็เน้นถึงการขับเคลื่อนประเทศโดยใช้นวัฒกรรม และเทคโนโลยีชั้นสูง เน้นถึงเรื่องของสิ่งแวดล้อม เน้นถึงการพัฒนาเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ยังมีนโยบายการปฏิรูปของรัฐวิสาหกิจ ภาคการผลิตต่างๆ นโยบายเหล่านี้ ทำให้เศรษฐกิจจีนมีความมั่นคง เงินหยวนก็เป็นเงินสกุลที่มีความมั่นคงและได้กลายเป็นเงินสกุลสากล มีสิทธิ์เข้า SDR สิ่งเหล่านี้ได้สร้างความมั่นใจที่ว่า เศรษฐกิจจีนสามารถเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจของโลก

เร็วๆ นี้ นายสี จิ้นผิงประธานาธิบดีจีนเคยกล่าวว่า การพัฒนาของจีนเป็นประโยชน์กับโลก นายธีรกุล นิยมกล่าวเห็นด้วยว่า

นโยบาย " 1 แถบ 1 เส้นทาง"ที่ริเริ่มโดยท่านประธานาธิบดีจีนสี

จิ้นผิง ก็เป็นความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศที่อยู่ตามแถบเส้นทาง ประมาณ 70 กว่าประเทศ ดูจากสถิติแล้วจะเห็นว่า มูลค่าการค้าการลงทุนระหว่างกันของประเทศที่อยู่ตามแถบเส้นทางมีการขยายตัวอย่างมาก นอกจากนั้น ยังมีการจัดตั้งธนาคาร AIIB ซึ่งถือว่าเป็นเครื่องมือสำคัญที่ทำให้การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการเชื่อมโยงประเทศในภูมิภาคในเอเชียเกิดขึ้นได้ง่ายขึ้น ซึ่งการเชื่อมโยงที่ดีจะเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่จะทำให้เกิดการพัฒนาภูมิภาคและความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนในภูมิภาค ก็ถือว่าเศรษฐกิจจีนมีส่วนช่วยสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจของโลกและความอยู่ดีกินดีของประชาชน

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040