จีนกำลังจะพัง หรือกำลังพัฒนาเจริญเติบโตอย่างมั่นคงต่อไป เราขอเสนอตัวเลขจาก 3 ด้าน คือ เศรษฐกิจ เทคโนโลยีและการทหารเพื่อแสดงให้เห็นว่า กำลังของประเทศจีนในปัจจุบันเป็นอย่างไง
ด้านเทคโนโลยี
ปัจจุบัน จีนเป็นประเทศอุตสาหกรรมการผลิตใหญ่ที่สุดของโลกยอดการผลิตในหลายๆ ด้านครองอันดับ 1 ของโลก แต่ก็มีบางคนบอกว่า อุตสาหกรรมจีนมีขนาดใหญ่ แต่ไม่เข้มแข็ง หมายถึงวิทยาศาสตร์เทคโนยียังไม่สูง
บางคนบอกว่า สถาบันวิจัยต่างๆ ของจีนหลอกใช้งบประมาณจากรัฐบาล และเอาใส่กระเป๋าของตน นี่เป็นเรื่องจริงหรือ ถ้าเป็นเช่นนี้ พวกเขาจะส่งสถานีอวกาศขึ้นสู่อวกาศได้อย่างไร
เมื่อเทียบเทคโนโลยีสำหรับอุตสาหกรรมการผลิต 33 รายระหว่าจีนกับสหรัฐฯ แล้วเห็นได้ว่า จีนน้ำหน้าด้านเครื่องใช้ฟ้า วัสดุก่อสร้าง รถไฟรถไฟความเร็วสูง กังหันลม อุปกรณ์ไฟฟ้า แบตเตอรี่พลังแสงอาทิตย์และอุปกรณ์สำรวจขุดเจาะน้ำมันปิโตรเลียมก๊าซธรรมชาติ แต่ในอีกกว่า 20 รายการ สหรัฐฯ นำหน้าจีน โดยเฉพาะยานบิน สารกึ่งตัวนำ ชีวภาพ และซอฟแวร์ เป็นต้น มีช่องว่างประมาณ 20 – 30 ปี
ปี 2015 ในด้านการวิจัยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีทันสมัย 149 รายการของโลก สหรัฐฯ มีงานวิจัยสำคัญใน 143 เรื่องและงานวิจัยที่ติดอันดับ 1 จำนวน 108 เรื่อง ส่วนจีนงานวิจัยสำคัญใน 82 เรื่อง ติดอันดับ 1 จำนวน 16 เรื่อง นอกจากนั้น ผลสำเร็จด้านการวิจัยเทคโนโลยีทันสมัยระดับโลกมีกว่า 80% มาจากสหรัฐฯ
ตัวเลขดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า สหรัฐฯ ยังคงเป็นประเทศที่มีความเข้มแข้งอันดับ 1 ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีของโลก แต่จีนก็กำลังใช้ความพยายามไล่ตามและลดช่องว่างอยู่
มีบางคนบอกว่า อย่าไปเทียบสหรัฐฯ เลย ขอแซงหน้าญี่ปุ่นก่อนแล้วค่อยว่ากันอีกที
"รายงานเศรษฐกิจหนึ่งเดียวเอเชียปี 2015" ที่ประกาศโดยธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชียแสดงให้เห็นว่า ยอดการส่งออกผลิตภัณฑ์นิวไฮเทคของจีนครองสัดส่วนในเอเชียเพิ่มจาก 9.4% ของปี 2000 มาเป็น 43.7% ของปี 2014 จีนคว้าอันดับ 1 ของเอเชีย ส่วนญี่ปุ่นมีสัดส่วนลดลงจาก 25.5% ในปี 2000 มาเป็น 7.7% ในปี 2014
ที่จริงแล้ว ปัจจุบัน จีนได้กลายเป็นผู้นำในการส่งออกผลิตภัณฑ์นิวไฮเทคของเอเชีย และสูงกว่าญี่ปุ่นอย่างมาก
ในวงเพื่อนของ WeChat มักจะมีคนออกบทความที่ยกย่องเทคโนโลยีระดับสูงของเยอรมัน และกล่าวว่าจีนคงต้องใช้เวลาอีกนานกว่าจะตามให้ทัน ความจริงเป็นอย่างไร เราขอเสนอดัชนี WFC ซึ่งเป็นดัชนีสำคัญที่สุดในการประเมินกำลังทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีของประเทศต่างๆ ในโลก ซึ่งดัชนีตัวนี้เป็นที่ยอมรับในโลก
เดือนธันวาคมปี 2014มีการประกาศดัชนี WFC สหรัฐฯ ติดอันดับ 1 ได้ 18,643 คะแนน จีนติดอันดับ 2 ได้ 5,206 คะแนน เยอรมันที่ 3 ได้ 4,077 คะแนน รองลงมาคือ ญี่ปุ่น อังกฤษ ฝรั่งเศส แคนาดา สเปน สวิตเซอร์แลนด์และเกาหลีใต้ รัสเซียไม่สามารถเข้า 10 อันดับ
เห็นได้ว่า สหรัฐฯ ยังคงเข้มแข็งมาก WFC เป็น 3.6 เท่าของจีน แต่จีนก็ได้ขยับขึ้นเป็นที่ 2 ของโลก เป็น 1.3 เท่าของเยอรมันและ1.5เท่าของญี่ปุ่น
เดือนพฤษภาคมปี 2015 เวลาผ่านไปแค่ครึ่งปี มีการประกาศดัชนี WFC อีกครั้ง จีนเปลี่ยนจาก 5,026 มาเป็น 6,318 เพิ่มขึ้น 25.7% ขณะเดียวกัน สหรัฐฯ กลับลดลง 6.4% เยอรมันลดลง 3.4% ช่องว่างระหว่างจีนกับสหรัฐฯ กำลังลดลงอย่างรวดเร็ว ส่วนรัสเซียติดอันดับที่ 19 จีนมากกว่ารัสเซีย 18.7 เท่า
นอกจากดัชนี WFC แล้ว ด้านสภาพสิทธิบัตร สถิติจากสำนักงานสิทธิบัตรยุโรป ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สหรัฐฯ และจีน ที่เป็นสำนักงานสิทธิทรัพย์สินทางปัญหารายใหญ่ 5 แห่งของโลกปรากฏว่า ปี 2014 ได้มอบสิทธิบัตรทั้งหมด 945,400 ชิ้น ในจำนวนนี้ สหรัฐฯ ได้รับ 301,000 ชิ้น ครองสัดส่วน 31% รองลงมาก็คือจีน 233,000 ชิ้น แต่มีการเติบโตเร็วที่สุด 12.3 % สหรัฐฯ เติบโต 8.2% ส่วนญี่ปุ่น เกาหลีใต้และยุโรปติดลบ -8.2% -18% และ-3.1%
ด้านการระดมกำลังเพื่อการศึกษาวิจัยวิทยศาสตร์และเทคโนโลยี ปี 2013 จีนมีเจ้าหน้าที่วิจัยและพัฒนา (R&D) จำนวน 3 ,533,000 คน แซงหน้าสหรัฐฯ ติดอันดับ 1 ของโลก
ด้านการลงทุน ปี 2014 จีนจัดสรรงบประมาณด้านการวิจัยและพัฒนารวม 1.3312 ล้านล้านหยวน เพิ่มขึ้น 12.4% เมื่อเทียบกับปี 2013 องค์การความร่วมมือและการพัฒนาเศรษฐกิจโลกคาดว่า จนถึงปี 2019 ค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยเทคโนโลยีของจีนจะนำหน้าสหภาพยุโรปและสหรัฐฯ ขยับขึ้นมาติดอันดับ 1 ของโลก
กล่าวได้ว่า ปัจจุบัน ประเทศที่สามารถแข่งกับสหรัฐอเมริกาในด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีทุกด้านนั้น มีจีนเพียงประเทศเดียวเท่านั้น ประเทศตะวันตกอื่นๆ และญี่ปุ่นคงมีกำลังความสามารถไม่พอ จึงต้องถอนตัวจากการแข่งขันทั้งในด้านเครื่องบินรบรุ่นที่ 4 เสิร์ชเอ็นจิ้น อีคอมเมิร์ซ โซเชียลมีเดีย สมาร์ทโฟน ตลอดจนมาตรฐานการโทรคมนาคม ระบบดาวเทียมนำทางและเครื่องบินขนาดใหญ่ เป็นต้น
(In/Lin)