นักซ่อมหนังสือโบราณจีน(1-2)
  2017-02-14 13:06:05  cri

วิชาแรกที่ต้องเรียนรู้ในการทำงานคือทำกาวแป้งเปียก

เมื่อเข้าไปในห้องซ่อมหนังสือโบราณก็จะพบว่ามีอ่างปลาสวยๆ ใบหนึ่งตั้งไว้และเลี้ยงปลาทองสีแดงหลายตัว ซึ่งทุกคนต่างก็ชมว่าเลี้ยงปลาทองได้ดี แต่หลี่ อี้ตงหัวเราะพร้อมพูดว่า เปลี่ยนปลาเรื่อยๆ เท่านั้นแหละ

หลี่ อี้ตงสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาประวัติวิจิตศิลป์และเรียนวิชาเอกวิจารณ์คุณค่าผลงานพู่กันจีน จึงมีพื้นฐานซ่อมหนังสือโบราณระดับหนึ่ง แต่นักศึกษาเมื่อเริ่มทำงานในห้องซ่อมหนังสือโบราณแล้วล้วนต้องเรียนรู้ทักษะพื้นฐานเป็นเวลาหลายเดือนกว่าจะเริ่มทำงานจริงจังได้ ซึ่งวิชาแรกก็คือทำกาวแป้งเปียก

หลี่ อี้ตงกล่าวว่า อย่าคิดว่าทำกาวแป้งเปียกง่ายนะ เขาเองกว่าจะพอทำได้ต้องฝึกหลายเดือนทีเดียว กาวแป้งเปียกแบ่งออกเป็น 2 ชนิดได้แก่ แป้งเปียกที่ทำจากแป้งมันกับแป้งเปียกที่ทำจากแป้งสาลี ซึ่งแป้งเปียกที่ทำจากแป้งมันนั้นส่วนใหญ่ใช้สำหรับซ่อมหนังสือโบราณ ส่วนแป้งเปียกที่ทำจากแป้งมันนั้นส่วนใหญ่ใช้สำหรับซ่อมภาพวาดโบราณ แต่แป้งมันที่ตลาดมีขายนั้นส่วนใหญ่จะเพิ่มส่วนประกอบต่างๆ ซึ่งใช้ซ่อมหนังสือโบราณไม่ได้ นักซ่อมหนังสือโบราณทั้งหลายจึงต้องทำแป้งเปียกจากแป้งมันกันเอง

วิธีทำก็คือ ใช้น้ำผสมกับแป้งเป็นก้อนแป้ง แล้วล้างก้อนแป้งเรื่อยๆ สิ่งที่ล้างออกไปก็คือแป้งมัน และสิ่งที่เหลือก็คือกลูเตน เมื่อพูดถึงกลูเตน หลี่ อี้ตงก็รู้จักดี เขากล่าวว่า กลูเตนนั้นต้องนึ่งก่อน จากนั้นก็เก็บไว้ในตู้เย็น แล้วนำไปหั่นเป็นชิ้นๆ ผัดกับพริกอร่อยมาก เพราะฉะนั้น กลูเตนผัดพริกซึ่งเป็นผลที่เกิดจากการทำกาวแป้งเปียกนั้นถือเป็นสวัสดิการพิเศษอย่างหนึ่งของนักซ่อมหนังสือโบราณ

แม้กาวแป้งเปียกที่ทำจากแป้งมันนั้นมีขั้นตอนซับซ้อนมาก แต่สิ่งที่ดูฝีมือของนักซ่อมหนังสือโบราณได้นั้นคือกาวที่ทำจากแป้งสาลี เพราะสัดส่วนของน้ำและแป้งสาลี อุณหภูมิของน้ำ ความสูงในการชงน้ำเข้ากับแป้ง ระยะเวลาที่กวน และกำลังที่ใช้ล้วนมีส่วนเกี่ยวข้องกับคุณภาพของกาว กาวแป้งเปียกที่ดีนั้นต้องออกสีเหลืองนิดหน่อย ใช้ชามตักขึ้นมาจะเป็นก้อนหนึ่ง ไม่ได้ไหลเหมือนน้ำ

กาวแป้งเปียกเข้มข้นมาก แม้หลี่ อี้ตงยังเป็นหนุ่มวัยรุ่น แต่ทุกครั้งที่ทำกาวแป้งเปียกต้องใช้กำลังมากจนแขนปวดเมื่อย เพราะการทำกาวแบบนี้ต้องใช้มือกวน ใช้เครื่องกวนไม่ได้เลย ในห้องซ่อมหนังสือโบราณนี้มีอุปกรณ์หลายอย่างเป็นอุปกรณ์ที่สืบทอดจากรุ่นก่อน อย่างเช่นก้อนตะกั่วที่ใช้ทับหนังสือ แม้ว่าทุกวันนี้ในห้องซ่อมหนังสือมีอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ทันสมัยหลายอย่าง แต่นักซ่อมหนังสือโบราณเห็นว่า การใช้อุปกรณ์ไฟฟ้านั้นจะไม่มีความรู้สึกแบบที่ใช้มือทำ กำลังที่ใช้นั้นควบคุมได้ยาก

แต่ว่านักซ่อมหนังสือโบราณวัยรุ่นเหล่านี้ก็ไม่ได้ต่อต้านเทคโนโลยีใหม่ เช่น ระบบวิเคราะห์เส้นใยกระดาษที่ทันสมัยนั้นสามารถบอกได้ว่าหนังสือโบราณนั้นทำจากวัสดุอะไรบ้าง จึงมีส่วนช่วยต่อการซ่อมหนังสือโบราณมาก

(Yim/cici)

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040