วิชาชีพที่ได้รับความนิยมมากที่สุดจากนักศึกษาที่เกิดหลังทศวรรษที่ 1990 (1)
  2017-05-04 17:12:12  cri

ปี 2017 นี้ นักศึกษาที่เกิดปี 1995 ถึงเวลาที่จะสมัครงานแล้ว อีกสองสามเดือน ซึ่งก็คือเดือนกรกฎาคมนี้ นักศึกษารุ่นนี้ก็จะจบจากมหาวิทยาลัยและเริ่มชีวิตการงานของตน ในโอกาสนี้ มาดูกันว่า หนทางการสมัครงานและการทำงานของรุ่นพี่ที่เกิดหลังทศวรรษที่ 1990 ว่าเป็นอย่างไรบ้าง เพราะคนรุ่นนี้ได้เข้าสู่โลกของการทำงานหลายปีมาแล้ว ส่วนคนที่เกิดหลังทศวรรษที่ 1985 ซึ่งอยู่ในช่วงวัยประมาณ 30 ปีกว่าๆ นั้น ถ้าทุกอย่างเป็นไปราบรื่นก็พอมีฐานะบ้างแล้ว กล่าวโดยรวมแล้ว คนสองรุ่นนี้เริ่มก่อร่างสร้างตัวขึ้นได้ และเริ่มเป็นบุคคลที่มีอิทธิพลบ้างในแวดวงการงาน

ล่าสุดนี้ บริษัท mycos ซึ่งเป็นบริษัทสำรวจตลาดของจีนเผยสถิติเกี่ยวกับนักศึกษา 6 รุ่นที่จบตั้งแต่ปี 2010 – 2015 ว่า เรียนจบแล้วนักศึกษาเหล่านี้ได้ทำอาชีพอะไรบ้าง

ปี 2010- 2015 แม้จะเป็นช่วงเวลาสั้นๆ เพียง 6 ปีเท่านั้น แต่ก็เป็นยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงไปมาก ในช่วง 6 ปีนี้ ทำให้ IPHONE พัฒนาจากมือถือที่มีคนใช้น้อยมากเป็นมือถือกระแสหลักในจีน เป็นยุคที่ทำให้ WECHAT พัฒนาจากแอพลิเคชั่นที่ไม่ค่อยมีคนรู้จักเป็นอุปกรณ์ที่ชาวจีนทั่วไปใช้กันติดต่อสื่อสารกันอย่างกว้างขวางเหมือน LINE ในไทย เป็นยุคที่ทำให้สื่อโซเชี่ยลมีเดียบางสื่อล้มเหลวไปแต่บางสื่อพัฒนารุ่งเรืองอย่างคาดไม่ถึง

ผลการสำรวจของบริษัท mycos ดูเหมือนไม่น่าทึ่ง แต่ก็เป็นแนวโน้มที่ค่อนข้างละเอียดอ่อน

นักศึกษาที่จบในปี 2015 ส่วนใหญ่ได้โอกาสการทำงานจากเว็บไซต์หางานสมัครงานแทนช่องทางการหางานผ่านมหาวิทยาลัย

นักศึกษาที่จบเมื่อปี 2015 มีโอกาสหางานได้จากเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องมากกว่ารุ่นก่อนๆ เพราะช่วงนั้นมีเว็บไซต์สมัครงานจีนเริ่มเป็นที่นิยมกันอย่างกว้างขวาง อย่างเช่น เว็บไซต์ 58.com และganji.com ล้วนเป็นเว็บไซต์สมัครงานที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้น และมีดาราดังสุดๆ ของจีน เช่น หยางมี่ และฟั่น ปิงปิง เป็นพรีเซนเตอร์ด้วย คำขวัญของเว็บไซต์ถึงทุกวันนี้ยังจำได้คือ "หางาน! ลองคลิกเข้าไปดูที่ ganji.com! ไม่ว่าเรียนจบมัธยมต้น มัธยมปลาย หรือมหาวิทยาลัย ได้งานดีทั้งนั้นแหละ"

ส่วนการจัดกิจกรรมรับสมัครหรือโพสต์ข้อมูลรับสมัครที่มหาวิทยาลัยนั้นมีความสำคัญลดน้อยลง ปี 2010 ยังมีนักศึกษา 32% สมัครงานผ่านช่องทางเหล่านี้ และมีเพียง 18% เท่านั้นที่หางานได้ผ่านเว็บไซต์ แต่มาถึงปี 2015 ช่องทางรับสมัครผ่านมหาวิทยาลัยกับช่องทางรับสมัครออนไลน์นั้นมีความสำคัญเท่าเทียมกัน ซึ่งต่างกันไม่ถึง 1% เท่านั้น

(Yim/cici)

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040