วันมรดกโลกทางวัฒนธรรมจีน(6)
  2017-06-21 13:10:52  cri

วันเสาร์ที่สองของมิถุนายนเป็นวันมรดกโลกทางวัฒนธรรมของจีน ถ้าเล่าถึงมรดกโลกทางวัฒนธรรม สถานที่ทางประวัติศาสตร์ของไทย ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนโดยองค์การยูเนสโก ให้เป็นแหล่งมรดกโลกมี 3 แห่งได้แก่ เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา และแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง

ปี 1987 หรือกว่า 30 ปีก่อน กำแพงเมืองจีน พระราชวังต้องห้าม ภูเขาไท่ซาน แหล่งขุดค้นทางโบราณคดีมนุษย์ปักกิ่ง-โจวโข่วเตี้ยน สุสานฉินซี และถ้ำโม่เกาแห่งตุนหวงต่างก็ได้รับการขึ้นทะเบียนโดยองค์การยูเนสโก ซึ่งนั่นก็ทำให้จีนมีแหล่งมรดกโลกเป็นครั้งแรก

สำหรับวันนี้และวันพรุ่งนี้ เราจะนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับมรดกโลกทางวัฒนธรรม 6 แห่งแรกของประเทศจีนดังต่อไปนี้

วันมรดกโลกทางวัฒนธรรมจีน--ถ้ำโม่เกาแห่งตุนหวง

ถ้ำโม่เกาแห่งตุนหวงเป็นชื่อรวมของถ้ำโม่เกาและถ้ำสหัสพุทธตะวันตกที่ตั้งอยู่ในเมืองตุนหวง มณฑลกานซู่ เป็นคลังพุทธศิลป์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและอยู่ในสภาพสมบูรณ์ที่สุดของโลกปัจจุบัน

ถ้ำโม่เกาเป็นวังศิลปะที่หลอมรวมสถาปัตยกรรม ประติมากรรม และภาพเขียนฝาผนังสมัยโบราณทั้ง 3 สาขา โดยเฉพาะขึ้นชื่อด้วยภาพเขียนฝาผนังที่หลากหลายสีสัน

ภาพเขียนฝาผนังตุนหวงมีความเป็นที่สุดทั้งปริมาณและเนื้อหา นำหน้าถ้ำทางศาสนา วัดวาอาราม หรือวังใดๆ ของโลกปัจจุบัน ทอดสายตาไป 4 รอบของถ้ำและเพดานของถ้ำ เต็มเปี่ยมด้วยภาพเขียนเกี่ยวกับพระพุทธรูป เทพยดา นางฟ้า การระบำรำฟ้อน รวมถึงนิทานจากพระคัมภีร์ พุทธประวัติ ผู้อุปถัมภ์ถ้ำ ตลอดจนลวดลายและสิ่งประดับที่สวยประณีตต่างๆ

ประติมากรรมตุนหวงมีชื่อเสียงมานาน ที่นี่มีพระพุทธรูปปางนั่งสมาธิสูง 33 เมตร มีพระโพธิสัตว์องค์เล็กสิบกว่าเซนติเมตร ถ้ำส่วนใหญ่ล้วนมีประติมากรรม รวมแล้วมีจำนวนมาก กล่าวได้ว่าเป็นพิพิธภัณฑ์ประติมากรรมขนาดใหญ่แห่งหนึ่ง

นักท่องเที่ยวต่างชาติมีคำประเมินต่อถ้ำโม่เกาดังนี้

"เมื่อได้ชมถ้ำโม่เกาแห่งตุนหวง ก็เท่ากับได้ชมอารยธรรมโบราณของทั่วโลก"

"ถ้ำโม่เกาเป็นระเบียงภาพเขียนที่ยาวที่สุด มีขนาดใหญ่ที่สุดและมีนัยยะมากที่สุดของโลก"

"ถ้ำโม่เกาเป็นคลังมณีพุทธศิลป์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลกปัจจุบัน"

สมัยนี้ ศูนย์เทคโนโลยีดิจิตอลสถาบันตุนหวงได้ดำเนินโครงการถ้ำโม่เกาดิจิตอลเสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว จัดแสดงเป็นระบบ 3ดี สามารถชมถ้ำแต่ละถ้ำผ่านทางเน็ตได้เสมือนไปชมถึงถ้ำด้วยตนเอง

เพื่อร่วมนับถอยหลัง "วันมรดกทางวัฒนธรรม" ในมิถุนายน แฟนเพจ ChinaFace ของสถานีวิทยุระหว่างประเทศแห่งชาติจีน (CRI) ร่วมกับสถานีโทรทัศน์แห่งชาติจีน (CCTV) ร่วมกันนำเสนอ "จีนในความทรงจำ" โดยจะเผยแพร่ผ่านหลากหลายช่องทางทั้งวิทยุ โทรทัศน์ และโซเชียลมีเดีย

และในแฟนเพจเราชื่อว่า ChinaFace จะจัดกิจกรรมออนไลน์ต่าง ๆ ที่หนึ่งคือ เชิญแฟน ๆ ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการจัดอันดับ "มรดกโลกของจีนในสายตาชาวเน็ตไทย" ผ่านการกดไลก์ แสดงความเห็น หรือแชร์ นอกจากนี้ หากท่านใดเคยมีประสบการณ์ร่วมกับมรดกโลกของจีน ก็สามารถร่วมสนุกโพสต์ภาพหรือเรื่องราวความประทับใจไปพร้อมกับเราได้

กิจกรรมออนไลน์ที่สองคือ สำหรับมรดกทางวัฒนธรรมสำคัญทั้ง 6 แห่งที่กล่าวไปข้างต้นนี้ คุณมีคำถามข้อสงสัยอะไรหรือเปล่า ถ้ามีก็อย่ารอช้าพิมพ์ข้อความส่งกันมาได้เลย ชาวเน็ตจีนกำลังร่วมกิจกรรมนี้อย่างคึกคัก มีการตั้งคำถามมากมาย เช่น:1. ในพระราชวังต้องห้าม นอกจากสวนดอกไม้แล้ว ยังมีสถานพักผ่อนหย่อนใจไหนอีก หากฮ่องเต้ทรงงานหนักมาก ต้องการจะพักสายตาผ่อนคลายบ้างจะทรงทำอย่างไร -- ซินซิน นักศึกษาวัย 21 ปี 2. กำแพงเมืองจีนดูสูงไม่มาก ทำไมจึงสามารถป้องกันการรุกรานได้ -- ถังโซ่วหมิง ข้าราชการ วัย 27 ปี 3. หากจะไปเที่ยวถ้ำโม่เกาคูเมืองตุนหวง ควรศึกษาอะไรก่อนเดินทาง เพื่อจะได้เที่ยวให้มีความหมายมากขึ้น -- เป่าเฉิง พนักกงานออฟฟิส วัย 35 ปี

แฟน facebook @Rattanachote Prasert ส่งข้อความมากล่าวว่า บนโลกใบนี้ ประเทศที่อยากไปเที่ยวชมมากที่สุดคือ " จีนแผ่นดินใหญ่ " เพราะมีภูเขา น้ำตก ทะเลสาป ถ้ำ โบราณสถานที่เก่าแก่สวยงาม จำนวนมากๆ มีสิ่งก่อสร้างที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกเยอะมากๆอาทิเช่น กำแพงเมืองจีนที่ยาวที่สุดในโลก...สะพานข้ามหุบเขาที่ยาวที่สุดในโลก สะพานข้ามทะเลที่ยาวที่สุดในโลก ทางรถไฟความเร็วสูงที่ยาวที่สุดในโลก เขื่อนที่ใหญ่ที่สุดในโลก และที่สุดในโลกอีกมากมาย ที่แฟนพูดดังกล่าว หวังว่าเพื่อน ๆ แม้ว่าชาวจีนหรือชาวต่างประเทศมาชม แต่ก็ต้องการการรักษาจากทุกคนร่วมกัน ทำให้สิ่งก่อสร้างและธรรมชาติเหล่านี้ ได้สืบทอดนาน ๆ ให้ลูกหลานสามารถมาชมด้วย

Yim/Patt

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040