วัฒนธรรมบนเส้นทางสายไหมใหม่: การเรียนรู้ผ่านศิลปะ
  2017-12-05 21:30:17  cri

2.

เมื่อกลางศตวรรษที่ 20 การวิพากย์สตรีนิยมมีการเปลี่ยนแปลง เน้นว่าชายหญิงอยู่ตรงข้ามกัน แต่พอมาถึงในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 การวิพากย์สตรีนิยมมองไปถึงว่าความสัมพันธ์ระหว่างชายหญิงสามารถแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกันได้ สร้างสรรค์สิ่งใหม่ได้ มิหนำซ้ำยังมีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา แนวคิดในเรื่องความสัมพันธ์ชายหญิงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมข้ามประเทศได้ ในฐานะวัฒนธรรมแตกต่างที่ไม่ได้เป็นปรปักษ์ต่อกัน การแลกเปลี่ยนจึงนำมาซึ่งความรู้และสร้างสรรค์วัฒนธรรมใหม่ขึ้นมา

แนวคิด "หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง" มี 5 เรื่องที่เชื่อมประสานกัน หนึ่งในนั้นคือการ "เชื่อมประสานใจถึงใจ"

การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมจะเป็นตัวสำคัญที่ทำให้ประชาชนสามารถเข้าใจและเชื่อมต่อกันแบบใจถึงใจได้

ผลงานของสตรีชาวจีนเริ่มออกสู่สายตาชาวโลกประมาณปี 1990 เป็นต้นมา แสดงให้เห็นถึงการเติบโตของจีนยุคใหม่ผ่านการสะท้อนตัวตนของเพศหญิง ผลงานของศิลปินหญิงที่มาแสดงในครั้งนี้มีการผสมผสานระหว่างตะวันตกและตะวันออก โดยดึงเอาเอกลักษณ์ของตะวันตกมาผสมกับสิ่งดีงามของตะวันออกได้อย่างลงตัว

ในการประชุมเรื่องสตรีของสหประชาชาติกล่าวสรุปไว้ว่า การพัฒนาของเพศหญิงไม่ใช่เฉพาะแสดงให้เห็นถึงแค่การพัฒนาของผู้หญิง แต่เป็นการสร้างสรรค์และการพัฒนาของมนุษยชาติ ผลงานที่นำมาจัดแสดงในวันนี้นอกจากจะเป็นชิ้นงานของศิลปินหญิงแล้ว ยังมีผลงานของศิลปินชายร่วมด้วย ก็ถือเป็นการแลกเปลี่ยนสนทนาระหว่างสองเพศ การสนทนาระหว่างความดั้งเดิมกับความสมัยใหม่ การสนทนาระหว่างวัฒนธรรมและวัฒนธรรม ก่อเกิดมุมมองต่างๆ ผ่านสิ่งที่เรียกว่า "จิตรกรรม"

อาจารย์เริ่น อี้หมิงบรรยายเกี่ยวกับผลงานของศิลปินหญิง

3.

วัฒนธรรมกับวิถีชีวิตประจำวันเป็นเรื่องที่แยกกันออกได้ลำบาก 1-2 ปีที่ผ่านมาจีนกับไทยมีการเพิ่มความสัมพันธ์ในรูปแบบการท่องเที่ยวมากขึ้น สิ่งที่ตามมาด้วยนั้นไม่ใช่เพียงแค่ตัวเลขหรือเม็ดเงิน แต่คือ "ความไม่เข้าใจกัน"

แท้จริงแล้วความแตกต่างกันแค่เพียงเล็กน้อยก็อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดกันได้ เช่น คนจีนมาเที่ยวไทย พอสั่งน้ำแข็งเปล่าในร้านอาหารถูกคิดเงิน ในขณะที่คนไทยไปเมืองจีนสั่งชาเปล่าไม่มีน้ำแข็งก็โดนคิดเงินเช่นเดียวกัน

3.1 ผลการประชุมพรรคคอมมิวนิสต์จีน

ปัจจุบันนี้มาถึงยุคที่จีนเป็นมหาอำนาจและมีบทบาทสำคัญต่อโลก จีนมีชนชั้นกลางเพิ่มมากขึ้น ปัญหาสังคมใหม่ๆ จึงเกิดขึ้นตามมา ซึ่งแนวทางการพัฒนาของจีนมีหัวใจสำคัญคือความสมดุลหรือดุลยภาพ จึงใส่ใจเรื่องนี้เป็นพิเศษ ในขณะที่สี จิ้นผิง ผู้นำของที่ต้องการเพิ่มสภาวะผู้นำให้เข้มแข็งมากขึ้น เพราะหลังจากที่จีนผ่านยุคปฏิรูปมา สภาวะผู้นำของจีนมีแนวโน้มที่จะลดลง เพราะอำนาจกระจายลงสู่ท้องถิ่นและองค์กรต่างๆ มากขึ้น

นัยยะสำคัญที่กล่าวถึงนี้อาจสามารถถอดเป็นประเด็นสำคัญได้ 7 ประเด็น

1. พรรคคอมมิวนิสต์จีนยังคงมีบทบาทสำคัญในทุกเรื่อง โดยเฉพาะการบรรลุความฝันของจีนและรื้อฟื้นอารยธรรมบนเส้นทางสายไหม

2. จีนต้องเป็นผู้เล่นที่มีอิทธิพลระดับโลกในปี 2050

3. จีนยังต้องดำเนินการเรื่องปราบปรามคอรัปชั่น

4. เสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กองทัพ

5. คงอำนาจของรัฐบาลส่วนกลางเหนือฮ่องกง มาเก๊า และการต่อต้านความเป็นเอกราช

6. การสร้างเวทีหรือพื้นที่การแข่งขันในประเทศจีนให้กับนักลงทุนต่างชาติ

7. การปกป้องผลประโยชน์ของสาธารณะ เช่น แก้ไขปัญหาความยากจน พัฒนาพื้นที่ห่างไกล เป็นต้น

สิ่งที่กล่าวมาสะท้อนให้เห็นว่าจีนมีความมั่นใจในศักยภาพของตน และใช้นโยบายหรือยุทธศาสตร์ที่สอดคล้องกับความเป็นจริง

3.2 ด้านนโยบายต่างประเทศ นโยบายของจีนคือการสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันของมนุษยชาติ ตอนนี้จีนยังถือว่าตนเองเป็นประเทศกำลังพัฒนา นโยบายต่างประเทศก็ยังใช้แนวทางของประเทศกำลังพัฒนา

ความฝันของจีนคือการเป็นประเทศมหาอำนาจในปี 2050 การวางแผนต้องทำให้เป็นระบบ ไม่เอาเรื่องเล็กๆ มาเป็นอุปสรรคในการร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน เพราะจีนต้องการสภาพแวดล้อมที่มีสันติภาพและความร่วมมือจากประเทศเพื่อนบ้าน แต่ในข้อเท็จจริงแล้วตั้งแต่ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ขึ้นรับตำแหน่งก็ได้แสดงความรับผิดชอบและสวมบทบาทให้เห็นว่าจีนมีความยิ่งใหญ่และบทบาทสำคัญในเวทีโลก เช่น ปัญหาก่อการร้าย ภาวะเรือนกระจก เป็นต้น

จีนสร้างรูปแบบใหม่ของความสัมพันธ์ระหว่างมหาอำนาจ โดยการแสดงให้มหาอำนาจที่ดำรงอยู่ก่อน (อย่างสหรัฐอเมริกา) ให้เกิดการยอมรับผู้อื่นและมองเห็นพื้นฐานเรื่องประโยชน์ร่วมกัน

จีนได้แสดงให้เห็นถึงความกระตือรือร้นที่จะมีส่วนร่วมและเสริมพลังเข้าไป แสดงให้เห็นว่าโลกเราต้องพึ่งพาอาศัยกัน ด้วยเหตุนี้ จีนจำเป็นต้องเสริมสร้างความเข้าใจ และสร้างภาพพจน์ให้ประเทศอื่นๆ เข้าใจจีน เพราะบางประเทศยังไม่เข้าใจและมีความสับสนว่าการขึ้นมาของจีน จะมีผลในทางลบหรือไม่อย่างไร "ซอฟท์ พาวเวอร์" หรืออำนาจอ่อน จึงถูกนำมาใช้

นโยบายหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางหรือการก่อตั้งธนาคาร AIIB เป็นยุทธศาสตร์สำคัญของจีน ได้รับการยอมรับจากนานาประเทศและเข้าใจว่านโยบายนี้จะต้องอยู่กับโลกไปอีกหลายสิบปี การที่จีนขยายและก่อตั้งศูนย์วัฒนธรรมในต่างประเทศ การให้ทุนนักศึกษา การช่วยเหลือประเทศต่างๆ สิ่งที่ไม่เกี่ยวกับประเด็นการเมือง เศรษฐกิจ จีนถือว่าเป็นเรื่องของวัฒนธรรมที่จีนต้องส่งเสริม เป้าหมายอันยิ่งใหญ่ คือรื้อฟื้นอารยธรรมและค่านิยมของจีน ตั้งแต่ยุคของเหมา เจ๋อตง สร้างประเทศ ยุคของเติ้ง เสี่ยวผิง ส่งเสริมการค้า พอมาถึงปัจจุบันได้ก้าวมาถึงจุดที่รื้อฟื้นเรื่องวัฒนธรรมขึ้นมา

แนวคิดหลักที่มีอิทธิพลต่อจีน ไม่ว่าจะเป็น ขงจื่อ พุทธศาสนา หรือเต๋าก็ตาม จะเห็นได้ว่าคนจีนต้องการอยู่ร่วมกันกับสังคม ไม่ว่าจะสังคมจีนเองหรือสังคมโลก อยู่กันอย่างสันติสุขและไม่สร้างศัตรู ต้องการเห็นสันติภาพและความเจริญรุ่งเรืองของโลก

อำนาจด้านการต่างประเทศแบ่งได้เป็น 4 ด้าน คือ การเมือง เศรษฐกิจ การทหาร และอุดมการณ์ อำนาจอุดมการณ์จีนในปัจจุบันต่างกับสมัยก่อน เพราะตอนนี้ใช้ซอฟท์ พาวเวอร์ (อำนาจอ่อน) นำ เพื่อให้ประเทศอื่นๆ คล้อยตาม จีนเองรับรู้และยอมรับว่าเรื่องการใช้ซอฟท์ พาวเวอร์ของตนยังต้องพัฒนาอีกมาก หากเปรียบเทียบกับสหรัฐอเมริกา เนื่องจากสหรัฐอเมริกาเป็นผู้เล่นที่อยู่มาก่อนและอีกเรื่องคือซอฟท์ พาวเวอร์ที่จีนใช้มาตลอดคือการใช้โดยรัฐผ่านรัฐ ไม่ได้ผ่าน NGOs ซึ่งในอนาคตอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงหรือประยุกต์ให้เหมาะสมเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพมากขึ้น

3.3 เรื่องวัฒนธรรม จีนกับไทยใกล้ชิดกันมาตลอด ไทยรู้ว่าตัวเองเป็นชาติเล็กก็ต้องการผูกสัมพันธ์กับชาติใหญ่ นอกจากนั้นจีนเข้ามาทำค้าขายกับไทย ลูกหลานไทยมีเชื้อสายจีน แต่ยังมีหลายแง่มุมของวัฒนธรรมจีนที่เรายังไม่สามารถรับทราบได้ ยกตัวอย่างเช่น

ในด้าน "การเจรจา" จีนให้ความสำคัญต่อกระบวนการมากกว่าผลลัพธ์ และถึงแม้จะตั้งเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของการเจรจาไว้ แต่ก็พร้อมที่จะปรับเปลี่ยนได้ อยู่ที่ผลประโยชน์สูงสุดที่ได้รับในขณะนั้น ซึ่งตรงนี้ต่างกับทางตะวันตกมาก ด้านไทยเองก็ยืดหยุ่นสูงและไม่คาดหวังผลลัพธ์ในทันทีทันใด สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความอดทนของคนเอเชีย

ในการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างจีนกับไทย ไทยคงต้องกำหนดสถานะของตนเองให้ชัด ในขณะที่จีนมองระดับโลก มองภาพใหญ่ แต่ไทยเป็นประเทศเล็กมองอะไรในระดับอนุภูมิภาคหรือภูมิภาค ในแง่นี้ทั้งสองฝ่ายต้องปรับตัว ทั่วโลกชื่นชมนโยบายของจีนที่ต้องการสร้างสันติภาพ แต่ในทางปฏิบัติยังขาดภาคเอกชนหรือประชาสังคมเข้าร่วม เพราะรัฐวิสาหกิจยังมองประโยชน์ของรัฐเป็นสำคัญ เวลามาเจรจาท่าทีอาจจะดูแข็ง แต่การใช้ซอฟท์ พาวเวอร์ให้สำเร็จอาจจะต้องใช้หน่วยงานที่ไม่ใช่รัฐมาช่วยเหลือ โยงไปถึงข้อสรุปสุดท้ายคือ การเจรจากับองค์กรของจีนที่มีอำนาจมีหลายระดับ การตกลงในครั้งหนึ่งๆ อาจจะมีการส่งสารไปไม่ถึงทุกหน่วยหรือทุกฝ่าย สิ่งเหล่านี้ควรต้องปรับปรุงแก้ไข มิฉะนั้นอาจทำให้มีการไม่พอใจหรือเข้าใจผิดกันได้

อาจารย์สมปอง สงวนบรรพ์ อธิบายเรื่องการใช้อำนาจอ่อนและมุมมองเกี่ยวกับนโยบายหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง

1  2  3  
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040