ในประเทศจีน ประวัติศาสตร์การสร้างพระพุทธรูปหินแกะสลักจะย้อนรอยถึงช่วงปลายสมัยตุงฮั่นหรือสมัยฮั่นตะวันออก (ราว 1,800 ปีก่อน ) คือพุทธศาสนาเริ่มเผยแผ่จากอินเดียเข้ามาจีน บริเวณตอนเหนือแม่น้ำหวงเหอ เริ่มมีการสร้างวัดถ้ำหิน นั่นคือรูปแบบสิ่งก่อสร้างทางพุทธศาสนา ที่ขุดเจาะตามแนวหน้าผาภูเขา
พร้อมๆ กับพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองขึ้นในจีน ในสมัยราชวงศ์ต่อมา หลายพื้นที่ก็มีการขุดสร้างวัดถ้ำหินจำนวนมาก ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่โตอลังการด้วย
ถ้ำหินต้าถงหยุนกั่ง
สมัยเป่ยเว่ย ราวปีค.ศ.386 —557 ถ้ำหินต้าถงหยุนกั่งได้รวบรวมลักษณะการขุดสร้างถ้ำหินพระพุทธรูปทั้งภาคเหนือและภาคใต้ กลายเป็นแบบอย่างของศิลปะการสร้างพระพุทธรูปหินแกะสลักของจีน
ถ้ำหินต้าถงหยุนกั่งตั้งอยู่ภูเขาอู่โจว ชานเมืองทิศตะวันตกของเมืองต้าถง มณฑลซานซี โดยมีถ้ำหินที่ขุดเจาะตามเชิงเขาติดต่อกันยาวประมาณ 1 กิโลเมตร มีถ้ำใหญ่ 45 ถ้ำ ถ้ำเล็ก 252 ถ้ำ พระพุทธรูปหินแกะสลักประมาณ 51,000 องค์ เป็น 1 ของ 4 กลุ่มถ้ำหินโบราณขนาดใหญ่ที่สุดของจีน ซึ่งยังมีอีก 3 แห่งคือ ถ้ำหินโม่เกาเมืองตุนหวง ถ้ำหินหรงเหมินเมืองลั่วหยางและถ้ำหินม่ายจีซานเมืองเทียนสุ่ย
(In/Lin)