"การทำลายล้างที่สร้างสรรค์" มองสื่อไทยในยุคดิจิทัลเข้ามาแทนกระดาษ
  2018-01-15 20:29:33  cri

บทบาทตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญฯ ทำอะไรบ้าง

บทบาทตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญ คือ ผู้ที่ศึกษาหาความรู้ความจริงอะไรบางอย่างเพื่อให้ทุกคนมีความร่วมมือที่เท่ากันและเอามาปรับให้เข้ากัน ไม่ให้เกิดการทะเลาะเบาะแว้งกัน ไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำหรือความไม่พึงพอใจกัน ซึ่งผู้เชี่ยวชาญสื่อนานาชาตินี้ ส่วนใหญ่เป็นนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยชื่อดังบ้าง เป็น Think Tank Team ของประเทศนั้นๆ หรือพวกนักคิดนักวิชาการที่ชอบศึกษาวิจัยบ้าง ผู้ก่อตั้งศูนย์ศึกษาเกี่ยวกับจีนศึกษาโดยเฉพาะในประเทศนั้นๆ หรือเป็นผู้ที่สนใจเรื่องจีนว่ามีบทบาทอย่างไร ทั้งหมดเรียกว่า "เราชอบศึกษาเรื่องจีน"

คิดว่าตำแหน่งใหม่นี้จะสามารถพัฒนาต่อยอดด้านสื่อมวลชนไทยอย่างไรได้บ้าง

บางท่านไม่เคยทราบเลยว่าองศ์กรต่างๆ ในประเทศจีนนั้นมีลักษณะเป็นของรัฐทั้งหมด แต่เป็นรัฐที่ไม่เผด็จการ เขาจะมีวิธีการควบคุมของเขาและมีอิสระพอควร เรามีหน้าที่เอาโมเดลของจีนมาแจ้งให้เพื่อนสื่อมวลชนได้ทราบ เพื่อทำให้เกิดการเปรียบเทียบว่านโยบายแบบนั้นใช้ได้หรือไม่ อันไหนควรเอาหรือไม่ควร นโยบายตรงนั้นของเขาใช้ไม่ได้ไม่เหมาะกับประเทศไทยก็อย่าเอามา เป็นต้น กรณีศึกษาต่างๆ เมื่อนำมาเทียบเคียงแล้วอาจสามารถหาทางออกบางอย่างได้ เช่น ประเทศจีนนั้นเมื่อมีปัญหาเขาจะปรึกษากันตรงๆ เลยว่าตอนนี้คนหันไปสนใจพวก Social media เป็นจำนวนมาก คนดูทีวีกันน้อยลง เขาจะทำยังไง? จะแก้ไขปัญหากันยังไง?

ส่วนของประเทศไทยผู้ชมผู้ฟังก็หายเข้าไปอยู่ในโลก Online กันแทบจะหมดแล้วเช่นกัน จะแก้ปัญหานี้ยังไง? แค่กรณีนี้กรณีเดียวก็สามารถแลกเปลี่ยนกันเป็นวันแล้ว หรือจะพยายามมุ่งไปที่ดิจิทัลเต็มตัวเลยไหม? เป็นต้น

บทบาทนิเทศศาสตร์ยุคใหม่ ยุคปัจจุบันที่หนังสือเริ่มหายไปและดิจิทัลเข้ามาแทน

ปัญหาเรื่องดิจิทัลมาทำลายสื่อต่างๆ เกิดขึ้นทั่วโลก หลีกเลี่ยงไม่ได้ ผมขอใช้คำว่า "การทำลายล้างที่สร้างสรรค์" หมายถึง มีการเปลี่ยนแปลง แต่มีความสร้างสรรค์อยู่ อยู่ที่ว่าถ้าเราสามารถรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงได้ เปลี่ยนแปลงตัวเองเร็ว เราก็สามารถแสวงหาโอกาสใหม่ๆ ได้

บางคนสามารถสร้างแฟนเพจที่มีผู้ติดตามมากมายได้ สมัยก่อนต้องมีเงินทุนถึงจะทำได้ แฟนเพจข่าวคุณภาพดี สารคดีคุณภาพดี คลิปคุณภาพดี เกิดขึ้นมาเป็นดอกเห็ด นี่แหละที่บอกว่าเป็นการทำลายล้างที่สร้างสรรค์ เพราะสื่อดิจิทัลสามารถเปิดพื้นที่ใหม่ๆ ทำให้คนที่มีความคิดสร้างสรรค์หรือคนที่ปรับตัวตามทันเกิดขึ้นมาได้ ไม่ว่าประเทศจีนหรือประเทศในอาเซียนต่างประสบปัญหานี้หมด แต่ประเทศจีนนั้นรับมือได้ดี การเกิดขึ้นของผู้ผลิตรายย่อยไม่ได้ทำให้อุตสาหกรรมโดยรวมเกิดปัญหา แต่ของไทยพวกกลุ่มโทรทัศน์เกิดปัญหามาก เพราะจำนวนช่องมากไป ทำให้คุณภาพลดต่ำลง เกิดการแย่งชิงกันมากขึ้น ทำให้วงการสื่อไทยซบเซา

อีกปัญหาหนึ่งที่ประเทศเราใช้ social media เยอะมากจนติดอันดับโลก ทำให้คนของประเทศถูกโน้มนำไปในทิศทางเดียวกันหมด ในประเทศจีนมี social media ของตนเองสามารถควบคลุมกึ่งบริหารได้บ้าง ของไทยทุกอย่างเทไปที่ Facebook YouTube Google หมด และยังมีเรื่องการไม่เสียภาษีอีก ทั้งหมดนี้ทำให้ประเทศไทยมีปัญหาในวงการนิเทศศาสตร์

1  2  3  
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040