ทางเข้าสู่ลานบ้านของพิพิธภัณฑ์
การแสดงเหมยหลานฟางได้รับการชื่นชมและยกย่องจากชาวญี่ปุ่นอย่างมากตั้งแต่ครั้งแรก และมีการผูกสัมพันธ์กับนักแสดงคาบูกิ ซึ่งถือเป็นศิลปะการแสดงชั้นสูงของญี่ปุ่นด้วย
กระทั่งเมื่อครั้งกองทัพญี่ปุ่นยาตราผ่านสะพานหลูกู่หรือสะพานมาร์โคโปโลเข้ามายึดกรุงปักกิ่งนั้น นายพลผู้คุมกองทัพยังเรียกร้องให้ เหมย หลานฟาง ทำการแสดงให้ดูด้วย แต่เขาก็ไม่ยินยอม
ต่อมาในปี 1930 เหมย หลานฟางตัดสินใจออกเดินทางไปเปิดการแสดงที่สหรัฐอเมริกา ซึ่งสร้างความฉงนสนเท่ห์ให้กับเพื่อนฝูงและคนจีนที่ได้ข่าวนี้มาก เพราะขณะนั้นสหรัฐอเมริกายังทำสงครามเย็นกับจีนอยู่ ซึ่งผู้กำกับภาพยนตร์ประวัติชีวิตของเหมย หลานฟาง ซึ่งออกฉายเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม ปี 2008 ได้เคยให้สัมภาษณ์ต่อกรณีการไปอเมริกาครั้งนี้ของเหมย หลานฟาง ไว้ว่า
"ผมสงสัยมาตลอดว่า เขากล้าไปแสดงที่อเมริกาเมื่อปี 1930 ซึ่งเป็นช่วงที่เต็มไปด้วยแรงกดันได้อย่างไร ทั้งไม่มีใครในอเมริการู้จักงิ้วปักกิ่ง แล้วเพื่อนหลายคนของเขาก็คัดค้านการเดินทางไปเสี่ยงภัยของเขา แต่เขาก็ยังยืนยันจะทำ และสุดท้ายเขาก็ได้รับการตอบรับอย่างดี กระทั่งได้เปิดการแสดงถึง 15 รอบ"
การแสดงของเหมย หลานฟาง ได้เผยให้ชาวจะวันตกเห็นถึงมนต์เสน่ห์ของวัฒนธรรมที่ฝังรากลึก และศิลปะอันงดงามของจีน ซึ่งเท่ากับว่าเป็นการเปิดสู่โลกภายนอกอย่างอาจหาญทั้งที่ตอนนั้นสังคมจีนถูกปิดล้อมจากทุกด้าน