กิจกรรมหลักของการประชุมพุทธศาสนาโลก ครั้งที่ 3
  2012-04-26 11:18:45  cri

การประชุมพุทธศาสนาโลก ครั้งที่ 3 แยกเป็น 3 ส่วนคือ

(1) พิธีเปิด

(2) กล่าวปาฐกถา

(3) การประชุมกลุ่มย่อย

1.การเผยแผ่พุทธศาสนาด้วยรูปแบบที่ทันสมัย

การเผยแผ่พุทธศาสนาเริ่มจากในบ้าน การสร้างกุศลเป็นการปฏิบัติตามคำสอนในพระพุทธศาสนา ควรสอนตามที่เหมาะสม ให้ยาตามโรค หลักธรรมคำสอนเผยแผ่แก่บุคคล พระภิกษุเป็นผู้สืบทอดเผยแผ่พระพุทธศาสนา การเผยแผ่และการพัฒนาของพุทธศาสนามีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด รูปแบบเผยแผ่พุทธศาสนาที่มีมาช้านานจำต้องได้รับการปรับปรุงให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น จิตสำนึกและความกระตือรือร้นในการเผยแผ่พุทธศาสนายังต้องเพิ่มขึ้นอีกมาก เพื่อให้รูปแบบการเผยแผ่พุทธศาสนาทันสมัยสอดคล้องกับความต้องการของสังคมในปัจจุบัน

การประชุมกลุ่มย่อยมีวัตถุประสงค์เพื่อเน้นอภิปรายความต้องการความศรัทธาของบุคคลในปัจจุบัน หลักการและเจตนารมณ์ในการเผยแผ่พุทธศาสนา การฝึกอบรมบุคลากรเพื่อกำหนดที่เผยแผ่พุทธศาสนา การเผยแผ่พุทธศาสนาด้วยสื่อสมัยใหม่ รูปแบบเผยแพร่ของศาสนาอื่นๆ ตลอดจนประสบการณ์ในการเผยแผ่พุทธศาสนา

2. การเพิ่มคุณภาพชีวิตในปัจจุบันด้วยการศึกษาฝึกฝนการปฏิบัติวิปัสสนาตามหลักพุทธศาสนา

พุทธศาสนาถือมนุษย์เป็นหลัก ถือบรรดาเวไนยสัตว์ทั้งหลายเป็นหลัก การอยู่ร่วมกันมีบทบาทสําคัญต่อการส่งเสริมอารยธรรมทางจิต สังคมที่มีความสมดุลทางจิตเป็นสังคมที่มีความสมานฉันท์ ระหว่างการศึกเพื่อปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน สิ่งสําคัญอยู่ที่การนำแก่นสารของพุทธศาสนาเข้ามาใช้ในชีวิตประจําวันให้ดี เข้าใจชีวิต แก้ไขความทุกข์ ยกระดับชีวิตให้สูงขึ้น

วัตถุประสงค์ของการประชุมกลุ่มย่อยดังกล่าวนี้คือเพื่ออภิปรายว่าจะนำสมาธิมาใช้ในชีวิตประจำวันและการทำงานได้อย่างไร? การเรียนรู้และปฏิบัติตามหลักธรรมคําสอนด้วยตนเอง การส่งเสริมให้คนรอบข้างและครอบครัวปรองดองกัน ให้สังคมมีความสมานฉันท์ จะเน้นอภิปรายหลักการและปัจจัยสําคัญของการฝึกปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามหลักพุทธศาสนา สร้างรูปแบบการฝึกสมาธิพุที่สอดคล้องกับยุคปัจจุบัน และการน้อมนำพระธรรมคำสอนมาปฏิบัติเพื่อให้ตนเองครอบครัว และที่ทํางานมีความปรองดอง

3.การจัดเก็บ อนุรักษ์ และอรรถาธิบายพระไตรปิฎก

พระไตรปิฎกเป็นคัมภีร์ทางพุทธศาสนาที่สืบทอดวัฒนธรรมทางพุทธศาสนา พระไตรปิฎกหรือสามคัมภีร์ที่มีอยู่ในโลกต่างก็พิมพ์เป็นลายลักษณ์อักษรด้วย ภาษาบาลี และภาษาอื่นๆ อย่างไทย ลาว พม่า ลังกา เขมร มอญ โรมัน แลกเปลี่ยนเป็นภาษาต่างๆ ของทั่วโลก อย่างในจีนชาวฮั่นก็มีพระไตรปิฎกภาษาจีน ชาวทิเบตก็มีพระไตรปิฎกภาษาทิเบต เป็นต้น ฉะนั้น ปัจจุบันต้องร่วมมือกันใช้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อดําเนินการอนุรักษ์ สืบทอด จัดเก็บ และชำระพระไตรปิฎก และให้แจงพระไตรปิฎกให้ง่ายต่อความเข้าใจสอดคล้องกับยุคสมัย

ประเด็นในการประชุมกลุ่มย่อยดังกล่าวนี้คือ อภิปรายการอนุรักษ์ จัดเก็บและชำระพระไตรปิฎก แปลและแลกเปลี่ยนพระไตรปิฎก เผยแผ่พระไตรปิฎกด้วยสื่อดิจิตอล และการแจงพระไตรปิฎกให้ง่ายต่อความเข้าใจของยุคสมัย

4.ประเพณีนิยม สถาวการณ์ปัจจุบันและการพัฒนาการศึกษาพุทธศาสนา

การเผยแผ่พุทธศาสนาต้องอาศัยพระสงฆ์ที่มีคุณสมบัติเพียงพอ การให้คําชี้แนะแก่บรรดาเวไนยสัตว์ทั้งหลาย ต้องพึ่งพาการศึกษาทางพุทธศาสนา การศึกษาเกี่ยวกับพุทธศานามีความสัมพันธ์กับความเจริญรุ่งเรืองและความเสื่อมโทรมของพุทธศาสนา สังคมมีความก้าวหน้าพัฒนาด้วยดี การศึกษาพุทธศาสนาก็ได้รับโอกาสในการพัฒนาอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน แต่ในขณะเดียวกันก็เผชิญกับการท้าทายอย่างรุนแรง

การประชุมกลุ่มย่อยดังกล่าวนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหวนกลับมาทบทวนประเพณีนิยมในการศึกษาพุทธศาสนา พิจารณาสภาวะปัจจุบันของการศึกษาพุทธศาสนา แสวงหาการพัฒนาการศึกษาพุทธศาสนา จะเน้นการอภิปรายรูปแบบการศึกษาพุทธศาสนาที่มีมาช้านาน โอกาสและการท้าทายที่การศึกษาพุทธศาสนาเผชิญหน้าอยู่ สภาวะปัจจุบันและอนาคตการศึกษาต่อของพระสงฆ์ และการศึกษาพุทธศาสนาของฆราวาสและศาสนิกชน

5.แนวคิดและการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมของการทำการกุศลตามหลัก

เมื่อการพัฒนาส่วนภูมิภาคไม่สมดุลกัน มีช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจน การเกิดภัยธรรมชาติบ่อยๆ พุทธศาสนาควรแสดงบทบาทมากยิ่งขึ้นในด้านการให้ปฏิบัติตามแนวคิดการให้ตามหลักพุทธศาสนา ชี้แนะให้บุคลากรทางพุทธศาสนาบำเพ็ญกุศลให้การสงเคราะห์ แบ่งปันประสบการณ์เกี่ยวกับการทำการกุศล ค้นหาปัญหาที่มีระหว่างการทำการกุศล ให้การทำการกุศลมีอิทธิพลมากยิ่งขึ้น

การประชุมฟอรั่มกลุ่มย่อยดังกล่าวนี้จะเน้นการอภิปรายเจตนารมณ์และแนวคิดด้านการให้ตามหลักพุทธศาสนา พิจารณาประสบการณ์การขาดแคลนการกุศล และการดําเนินภารกิจด้านการกุศลตามหลักพุทธศาสนาอย่างเป็นวิชาชีพ

6. การสืบสานและเชิดชูวัฒนธรรมทางพุทธศาสนา

ปัจจุบัน แนวคิดและวัฒนธรรมต่างๆ มีการแลกเปลี่ยนและหลอมรวมกันมากขึ้น บรรยากาศการพัฒนาทางวัฒนธรรมเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างลึกซึ้ง นวัตกรรมทางวัฒนธรรมนับวันมีความสำคัญต่อสังคมอย่างเห็นได้ชัดมากขึ้น ฟอรั่มครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหารือเรื่องการให้วัฒนธรรมทางพุทธศาสนาสอดรับกับวิวัฒนาการและความต้องการของยุคสมัย สืบสานและเชิดชูวัฒนธรรมทางพุทธศาสนาให้ดีขึ้น ตลอดจนเพิ่มขีดความสามารถด้านการสร้างนวัตกรรมของวัฒนธรรมทางพุทธศาสนาให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น

วาระการประชุมกลุ่มย่อยจะมุ่งหารือประเด็นหลักดังนี้ คุณประโยชน์และอิทธพลของพุทธศาสนาต่ออารยธรรมโลก การอนุรักษ์และสืบสานมรดกทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของพุทธศาสนา การประกอบการและการส่งเสริมพุทธศาสนกิจทั้งทางวัฒนธรรมและการศึกษา การสร้างความเจริญรุ่งเรืองและนวัตกรรมทางวัฒนธรรมของพุทธศาสนา

7. การแลกเปลี่ยนของพุทธศาสนานิกายเถรวาทกับนิกายมหายานและการคาดการณ์

ช่วงกว่า 2,500 ปีมานี้ พุทธศาสนาวิวัฒนาการเป็นสองนิกายหลัก คือ นิกายเถรวาทกับนิกายมหายาน ซึ่งผนึกเข้ากับวัฒนธรรมท้องถิ่นอย่างแนบแน่น สร้างวัฒนธรรมอันรุ่งโรจน์และหลากหลาย ดังนั้น เมื่อเผชิญกับโอกาสและการท้าทาย จึงควรเพิ่มการแลกเปลี่ยนระหว่างพุทธศาสนานิกายเถรวาทกับนิกายมหายาน ส่งเสริมความเข้าใจและการไปมาหาสู่กันให้มากขึ้น ซึ่งในยุคนี้มีความสำคัญยิ่ง

วาระการประชุมกลุ่มย่อยจะมุ่งหารือประเด็นหลักดังนี้ ความเหมือนและความต่างระหว่างพุทธศาสนานิกายเถรวาทกับนิกายมหายาน ทบทวนประวัติการแลกเปลี่ยนฉันมิตรระหว่างพุทธศาสนานิกายเถรวาทกับนิกายมหายาน สร้างเวทีการแลกเปลี่ยนพุทธศาสนานิกายเถรวาทกับนิกายมหายาน การคาดการณ์ความร่วมมือระหว่างพุทธศาสนานิกายเถรวาทกับนิกายมหายาน

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040