รถไฟความเร็วสูงที่มีอนาคตอันสดใสแห่งประเทศไทย
  2013-10-14 19:51:02  cri

(คำบรรยายภาพยนตร์สารคดีในงานแสดงที่ไทย)

มิตรภาพไทย – จีนมีประวัติศาสตร์มายาวนาน เพื่อผลักดันความสัมพันธ์แห่งความร่วมมือแบบหุ้นส่วนยุทธศาสตร์อย่างรอบด้าน เมื่อเดือนเมษายน ค.ศ.2012 รัฐบาลของไทยและจีนได้ลงนามในบันทึกช่วยจำการพัฒนาความร่วมมือด้านรถไฟ และจัดตั้งคณะกรรมธิการร่วม สองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนความเห็นอย่างกว้างขวาง และวิจัยร่วมกันเกี่ยวกับการพัฒนาการรถไฟ

ตามแผนพัฒนาในภาพรวมของการรถไฟแห่งประเทศไทย ทั้งฝ่ายจีนกับฝ่ายไทยได้ร่วมกันศึกษาวิจัยความเป็นไปได้สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ – เชียงใหม่ และสายกรุงเทพฯ – หนองคาย นับได้ว่า พิมพ์เขียวรถไฟความเร็วสูงของประเทศไทย กำลังเปิดตัวสู่สายตาผู้คน และจะมีความชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆ

เส้นทางรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ – เชียงใหม่ มีจุดเริ่มต้นจากกรุงเทพมหานคร พาดยาวขึ้นไปทางเหนือ ผ่านจังหวัดนครสวรรค์ พิษณุโลก จนถึงปลายทางที่จังหวัดเชียงใหม่ ความยาวทั้งหมด 678 กิโลเมตร โดยกำหนดสถานีจอดทั้งหมด 12 แห่ง เช่น สถานีบางซื่อ สถานีพระนครศรีอยุธยา สถานีพิษณุโลก และสถานีเชียงใหม่ เป็นต้น

ส่วนเส้นทางรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ – หนองคายนั้น เริ่มต้นจากกรุงเทพมหานคร ทอดยาวไปสู่เส้นทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ผ่านจังหวัดนครราชสีมา ขอนแก่น แล้วสิ้นสุดที่จังหวัดหนองคาย มีความยาวทั้งหมด 607 กิโลเมตร โดยจะจอดที่สถานีทั้งหมด 9 แห่ง เช่น สถานีบางซื่อ สถานีนครราชสีมา และสถานีหนองคาย เป็นต้น

การพัฒนากรุงเทพมหานครให้เป็นศูนย์กลางด้านจราจรทางรถไฟนั้น ต้องการให้เปิดเส้นทางรถไฟความเร็วสูงจำนวน 6 สาย เส้นทางรถไฟมิเตอร์เกจสายหลักอีก 4 สาย สถานีรถไฟหลัก 1 แห่งคือ สถานีบางซื่อ และสถานนีรถไฟรอง 3 แห่ง ได้แก่สถานีหัวลำโพง สถานีวงเวียนใหญ่ และสถานีธนบุรี ทำให้ผู้โดยสารสามารถเปลี่ยนขบวนรถไฟระหว่างเส้นทางรถไฟมิเตอร์เกจสายหลักกับเส้นทางรถไฟความเร็วสูงได้ที่สถานีเดียว

หากแผนพัฒนาดังกล่าวดำเนินการได้แล้วเสร็จ จะนำมาซึ่งเครือข่ายรถไฟที่ทันสมัย ประกอบด้วยเส้นทางรถไฟมิเตอร์เกจสายหลักและเส้นทางรถไฟความเร็วสูง มีกรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลาง กระจายการคมนาคมด้วยรถไฟจนครอบคลุมถึงพื้นที่ทั่วประเทศไทย แล้วไปเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้านด้วย

การศึกษาวิจัยแผนพัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูงของประเทศไทย ดำเนินการโดยยึดหลักต้นทุนต่ำ ราคาถูก แต่ได้รถไฟที่มีสมรรถนะดี คุ้มค่า โดยสามารถพิจารณาแบบจาก 3 ทางเลือก ได้แก่ แบบความเร็ว 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แบบความเร็ว 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และแบบความเร็ว 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เส้นทางรถไฟส่วนใหญ่มีหินรองรับราง และใช้โครงสร้างแบบสะพานและอุโมงค์ตามความเหมาะสม จึงสามารถลดต้นทุนการก่อสร้างให้ต่ำลงภายใต้เงื่อนไขบังคับที่ตอบสนองความต้องการรถไฟความเร็วสูงและประกันความปลอดภัยในการเดินรถด้วย

ตัวอย่างเช่น แบบรถไฟความเร็ว 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ จะใช้เวลาไม่เกิน 3 ชั่วโมง ใกล้เคียงกับการเดินทางด้วยเครื่องบิน เวลาโดยสารรถไฟความเร็วสูงจึงน้อยกว่าการนั่งรถโดยสารหรือขับรถประมาณ 6 ชั่วโมง และน้อยกว่ารถไฟธรรมดาประมาณ 8 ชั่วโมง ดังนั้นรถไฟความเร็วสูงจึงมีจุดเด่นและข้อได้เปรียบมากกว่าการเดินทางด้วยพาหนะอื่นๆ

โครงการรถไฟความเร็วสูงยังมีส่วนช่วยกระตุ้นอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องให้พัฒนาไปด้วยเพื่อนำความเจริญรุ่งเรืองให้แก่การท่องเที่ยวและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ยกระดับคุณภาพชีวิต และทำให้ประชาชนได้รับความสะดวกสบายมากขึ้น

ประเทศจีนยินดีอย่างยิ่งที่จะกระชับความร่วมมือกับประเทศไทยให้ใกล้ชิดมากขึ้น และร่วมกันสร้างสรรค์อนาคตอันสดใสของการรถไฟแห่งประเทศไทย

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040