ปาฐกถาของนายหวัง อี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจีน เรื่อง "เอเปคปักกิ่ง จีนพร้อมแล้ว"
  2014-11-07 22:19:30  cri

ปาฐกถาของนายหวัง อี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจีน

เรื่อง "เอเปคปักกิ่ง จีนพร้อมแล้ว" (ทั้งหมด)

ณ "ฟอรั่มหลันทิง" (Lanting Forum) ครั้งที่ 10

วันที่ 29 ตุลาคม ปี 2014

สวัสดียามบ่าย ทูตานุทูต มิตรทั้งหลาย

ยินดีต้อนรับสู่ "ฟอรั่มหลันทิง"

อีก 12 วัน การประชุมผู้นำเอเปคครั้งที่ 22 ก็จะจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ที่กรุงปักกิ่ง ถึงเวลานั้น นายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีนจะร่วมกับผู้นำและผู้แทนของสมาชิกเอเปคอื่นๆ ร่วมหารืออนาคตเอเปคและแผนพัฒนาเอเชีย-แปซิฟิที่กรุงปักกิ่ง สายตาของทั่วโลกจะพุ่งเป้ามายังเอเชีย-แปซิฟิก มายังจีน มายังกรุงปักกิ่งอีกครั้ง

ปีนี้เป็นปีครบรอบ 25 ปีแห่งการจัดตั้งองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก เมื่อ 25 ปีก่อน 12 ประเทศในย่านเอเชีย-แปซิฟิกร่วมประกาศจัดตั้งองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก การถือกำเนิดขึ้นขององค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิกไม่ได้สร้างความสนใจมากเมื่อเทียบกับเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่สำคัญๆ ในช่วงนั้น เช่น การทลายของกำลังเบอร์ลิน และการสิ้นสุดของสงครามโลก แต่ระหว่างกระบวนการพัฒนาต่อจากนั้น องค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิกเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง นับวันมีอิทธิพลกว้างขวางยิ่งขึ้น กลายเป็นกลไกการเจรจาและความร่วมมือระดับภูมิภาคอันดับ 1 ของโลก มีอิทธิพลสำคัญและลุ่มลึกยาวไกลต่อสถานการณ์เศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิกกระทั่งทั่วโลก

องค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิกได้สร้างสถานการณ์ภูมิเศรษฐศาสตร์โลกใหม่ เมื่อทศวรรษปี 1980 เศรษฐกิจเอเชียตะวันออกพัฒนาอย่างรวดเร็ว เมื่อรวมกับอเมริกาเหนือและยุโรปตะวันตกแล้ว จัดเป็น 3 กลุ่มที่มีความเข็มแข็งดั่งเป็น 3 ขาของ "ติ่ง" (หม้อโบราณจีน) การจัดตั้งเอเปค ได้เชื่อมสัมพันธ์ประเทศริมฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก เชื่อมต่อเขตเศรษฐกิจทั้งเขตที่เจริญขึ้นใหม่และเขตที่พัฒนาแล้ว ทำให้ "เอเชีย-แปซิฟิก" ซึ่งเดิมเป็นนิยามทางภูมิศาสตร์ พัฒนาเป็นเขตความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่มีประชากรจำนวน 2,800 ล้านคน ยอดจีดีพีคิดเป็นครึ่งหนึ่งของโลก ประเทศสมาชิกเอเปกมีประชากรคิดเป็นร้อยละ 40 ของโลก จีดีพีคิดเป็นร้อยละ 57 และยอดการค้าคิดเป็นร้อยละ 46 ของโลก เอเชีย-แปซิฟิกได้เจริญขึ้นเป็นเขตภูมิเศรษฐศาสตร์ที่มีพลังเติบโตและศักยภาพในการพัฒนามากที่สุดของโลก ทั้งเป็นพลังขับเคลื่อนการเติบโตของเศรษฐกิจโลก ซึ่งเป็นที่ยอมรับของทั่วโลกด้วย

องค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิกได้พลิกโหมใหม่ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคของโลก เอเปคเป็นผู้บุกเบิกนำหน้ากลไกลความร่วมมือทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคประเภทต่างๆ ของเอเชีย-แปซิฟิกในปัจจุบัน ช่วง 25 ปีมานี้ สมาชิกเอเปคได้เพิ่มจาก 12 มาเป็น 21 ได้ยกระดับจากระดับรัฐมนตรีเป็นระดับผู้นำประเทศ กลายเป็นกลไกความร่วมมือที่ครอบคลุมพื้นที่กว้างขวางที่สุด มีลักษณะเป็นตัวแทนมากที่สุด และระดับสูงที่สุดของภูมิภาคนี้ ตลอดจนกลายเป็นเวทีสำคัญสำหรับทุกฝ่ายของภูมิภาคในการหารือความร่วมมือโดยรวมของเอเชีย-แปซิฟิก ช่วง 20 ปีตั้งแต่ประกาศ "ปฏิญญาโบกอร์" (Bogor Goals) เป็นต้นมา อัตราภาษีศุลกากรเฉลี่ยของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกลดลง 12 เปอร์เซ็นต์ ยอดการค้าของภูมิภาคเพิ่มขึ้น 7 เท่า แต่ละปีดำเนินโครงการร่วมมือที่มุ่งผลจริงในวงการต่างๆ 30 วงการ เกือบ 200 โครงการ ซึ่งได้แสดงบทบาทสำคัญในการส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจของภูมิภาค ช่วง 25 ปีหลังตั้งเอเปค มีการจัดตั้งกลไกความร่วมมือของภูมิภาคมากมายดั่งหน่อไม้ฤดูใบไม้ผลิที่ผุดขึ้นหลังฝน เช่น 10+1 และ 10+3 ซึ่งรวมกับเอเปคประกอบเข้าเป็นเครือข่ายความร่วมมือภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกที่มีชีวพลังแผ่กระจายทั่ว 4 ทิศและมีความเจริญรุ่งเรือง

องค์การความร่วมมือเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิกได้เปิดยุคของความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับเอเชีย-แปซิฟิก โดยจีนเข้าเป็นสมาชิกเอเปค ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญในกระบวนการเปิดประเทศของจีนและกระบวนการพัฒนาของเอเปค นับจากนั้นมา จีนเริ่มหลอมรวมเข้ากับเอเชีย-แปซิฟิกเร็วขึ้น ปี 2013 ยอดการค้าระหว่างจีนกับสมาชิกเอเปคคิดเป็นร้อยละ 60 ของยอดการค้าต่างประเทศ การใช้ทุนต่างชาติร้อยละ 83 และการลงทุนในต่างประเทศร้อยละ 69 ของจีนล้วนดำเนินการกับสมาชิกเอเปค พร้อมกันนี้ เอเชีย-แปซิฟิกก็นับวันพึ่งพาจีนมากขึ้น โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศประเมินไว้ว่า การเติบโตของเศรษฐกิจจีนคิดเป็นกว่าร้อยละ 50 ของเอเชีย เศรษฐกิจจีนขยายตัวทุก 1 เปอร์เซ็นต์ ก็จะกระตุ้นเศรษฐกิจเอเชียขยายตัว 0.3 เปอร์เซ็นต์ จีนกับเอเชีย-แปซิฟิก ได้ผูกเป็นประชาคมที่ร่วมชะตาเดียวกัน โดยฝ่ายหนึ่งมีความเจริญฝ่ายอื่นก็จะมีความเจริญด้วย ฝ่ายหนึ่งได้รับความเสียหายฝ่ายอื่นก็จะได้รับความเสียหายด้วย

ท่านผู้มีเกียรติ มิตรทุกท่าน

ปัจจุบันโลกกำลังประสบความผันผวนรอบใหม่ มองรอบโลกเกิดประเด็นร้อนเกิดขึ้นบ่อยครั้ง การฟื้นตัวของเศรษฐกิจเป็นภารกิจที่หนักอึ้งและหนทางที่ยาวไกล เมื่อเทียบกับพื้นที่อื่นๆ ของโลกแล้ว ภาพรวมสถานการณ์เอเชีย-แปซิฟิกมีความมั่นคง การพัฒนาเศรษฐกิจเต็มไปด้วยชีวพลัง กล่าวได้ว่าเป็นสมอเรือแห่งความมั่นคงและพื้นฐานแห่งความเจริญรุ่งเรืองของโลก ขณะที่จีนได้แสดงบทบาทสำคัญอันพึงมีของตนในระหว่างนี้ ทั่วโลกมีความปรารถนาเต็มเปี่ยมต่อเอเชีย-แปซิฟิก และมีความปรารถนาเต็มเปี่ยมต่อจีน

ในฐานะสมาชิกสำคัญของครอบครัวใหญ่เอเชีย-แปซิฟิก แต่ไหนแต่ไรมาจีนมองการส่งเสริมความเจริญรุ่งเรืองและความมั่นคงของเอเชีย-แปซิฟิกเป็นหน้าที่ของตัวเอง มุ่งแสดงบทบาทสร้างสรรค์ในกิจการของภูมิภาค คณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่มีนายสี จิ้นผิงเป็นเลขาธิการใหญ่ สานต่อนโยบายการต่างประเทศและตั้งอยู่บนพื้นฐานประเพณีอันดีงามของจีนใหม่ มุ่งสร้างบรรยากาศภายนอกที่เอื้อต่อการสานฝันของประเทศจีนให้เป็นจริงขึ้นในการพัฒนาประชาชาติจีนให้เจริญรุ่งเรืองขึ้นอีกครั้ง นำโอกาสของจีนกับโอกาสของโลกมาแปรเปลี่ยนซึ่งกันและกัน ตลอดจนแสดงบทบาทมหาประเทศที่มีความรับผิดชอบในกิจการระหว่างประเทศและกิจการภูมิภาคมากขึ้น ทั้งนี้เป็นลักษณะเด่นชัดของการทูตจีนภายใต้สถานการณ์ใหม่ และเป็นทิศทางเบื้องต้นของนโยบายการต่างประเทศต่อเอเชีย-แปซิฟิกของจีน

จีนมุ่งสร้างเอเชีย-แปซิฟิกใหม่ที่สันติและมั่นคง จีนอยู่ในเอเชีย-แปซิฟิก พัฒนาเอเชีย-แปซิฟิก สันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกมีความเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของประเทศจีน เพื่อรักษาสันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก จีนเสนอให้สร้างความสัมพันธ์แบบใหม่ระหว่างมหาประเทศจีน-สหรัฐอเมริกา แสวงหารูปแบบการไปมาหาสู่กันระหว่างมหาประเทศที่ต่างกัน โดยไม่ปะทะกัน ไม่เป็นปฏิปักษ์กัน เคารพซึ่งกันและกัน ร่วมมือและได้ประโยชน์ร่วมกัน จีนรณรงค์วิสัยทัศน์ความมั่นคงเอเชียที่ตรงกัน ร่วมมือกัน และยั่งยืนโดยรวม ต้องการสร้างกรอบความร่วมมือด้านความมั่นคงที่ตรงตามความต้องการของภูมิภาคนี้ เป็นที่เห็นชอบของทุกประเทศ และมีลักษณะเปิดเสรีและมั่นคง จีนรณรงค์ลัทธิพหุภาคีอย่างจริงจัง ปฏิบัติตามกฎระเบียบสากล เดินหน้าแก้ไขประเด็นร้อนด้วยสันติวิธี มุ่งส่งเสริมคาบสมุทรเกาหลีปลอดนิวเคลียร์ รักษาสันติภาพของคาบสมุทร สนับสนุนแอฟริกาเดินหน้ากระบวนการสร้างสันติภาพใหม่ จีนยินดีจัดการข้อพิพาททางดินแดนและสิทธิประโยชน์ทางทะเลที่คั่งค้างจากประวัติศาสตร์ด้วยวิธีการเจรจาอย่างสันติ บนพื้นฐานแห่งการเคารพข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ รวมถึงตามกฎหมายระหว่างประเทศและหลักบรรทัดฐานความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

จีนมุ่งสร้างเอเชีย-แปซิฟิกใหม่ที่ให้การร่วมมือและเจริญรุ่งเรือง การพัฒนาของจีนได้ประโยชน์จากความเจริญรุ่งเรืองและความมั่นคงของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก จีนก็ยินดีให้ผลการพัฒนาของจีนเอื้อต่อประเทศต่างๆ ในภูมิภาคมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ จีนจึงขยายความร่วมมือที่อำนวยประโยชน์แก่กันกับประเทศเอเชีย-แปซิฟิกอย่างต่อเนื่อง ร่วมกันสานเครือข่ายผลประโยชน์ร่วมกันที่แนบแน่นยิ่งขึ้น จีนจะนำการพัฒนาภายในประเทศไปเชื่อมกับการเปิดประเทศ นำผลประโยชน์ของประเทศไปเชื่อมกับผลประโยชน์ร่วมกันของสมาชิกเอเชีย-แปซิฟิก พยายามแปรโอกาสของจีนให้เป็นโอกาสของเอเชีย-แปซิฟิก และแปรโอกาสของเอเชีย-แปซิฟิกให้เป็นโอกาสของจีน ช่วงนานปีมานี้ ไม่ว่าในกลไก 10+1 10+3 หรือ การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก จีนล้วนเป็นผู้มีส่วนร่วมสำคัญที่สุดและผู้สร้างคุณูปการที่จริงจังที่สุด จีนถือเอเชีย-แปซิฟิกเป็นทิศทางหลักใน "การก้าวออกไป" ส่งเสิรมวิสาหกิจจีนขยายการลงทุนในประเทศเอเชีย-แปซิฟิกอย่างจริงจัง ดำเนินโครงการความร่วมมือด้านการป้องกันและบรรเทาภัยกับประเทศต่างๆ ในภูมิภาค ร่วมกันรับมือกับการท้าทายต่างๆ ที่เกิดขึ้นฉุกเฉิน เช่น แผ่นดินไหว สึนามิ โรคติดต่อครั้งใหญ่

จีนมุ่งสร้างเอเชีย-แปซิฟิกใหม่ที่เปิดเสรีและเปิดกว้าง การประชุมเต็มคณะของคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนชุดที่ 18 ครั้งที่ 3 กำหนดให้สร้างระบบเศรษฐกิจใหม่ที่เปิดเสรี ขยายจุดเชื่อมกับผลประโยชน์ของทุกประเทศและทุกพื้นที่ เร่งดำเนินยุทธศาสตร์เขตการค้าเสรีให้เร็วขึ้นโดยถือรอบข้างเป็นพื้นฐาน จีนต้องการให้กลไกความร่วมมือระดับภูมิภาคและอนุภูมิภาคต่างๆ ในภูมิภาคนี้หลอมรวมเข้าด้วยกัน และส่งเสริมซึ่งกันและกัน จีนสนับสนุนอาเซียนเป็นแกนนำในความร่วมมือภูมิภาค ยินดีต้อนรับประเทศนอกภูมิภาคแสดงบทบาทสร้างสรรค์ในภูมิภาคนี้ ตั้งแต่ปีที่แล้วเป็นต้นมา ประธานาธิบดีสี จิ้นผิงในนามจีนได้เสนอแนวคิดสำคัญๆ เกี่ยวกับการส่งเสริมความร่วมมือกับต่างประเทศตามลำดับ เช่น การสร้างแถบเศรษฐกิจเส้นทางสายไหม และเส้นทางสายไหมทางทะเลในศตวรรษที่ 21 ตลอดจนการเตรียมจัดตั้งธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเอเชีย (Asian Infrastructure Investment Bank )โดยหุ้นส่วนความร่วมมืออันดับแรกก็คือทุกประเทศเอเชีย-แปซิฟิก กลุ่มเป้าหมายผู้ได้รับประโยชน์อันดับแรกก็คือทุกประเทศเอเชีย-แปซิฟิกเช่นกัน แนวคิดดังกล่าวล้วนเปิดเสรีและเปิดกว้าง ไม่ได้แข่งกับกลไกความร่วมมือที่มีอยู่ในเวลานี้ ซึ่งรวมถึงเอเปคด้วย หากเป็นการประกอบการเสริมซึ่งกันและกัน เพิ่มเติมซึ่งกันและกัน ซึ่งจะมีส่วนปรับปรุงเครือข่ายความร่วมมือภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกให้สมบูรณ์อีกขั้น และอัดฉีดพลังใหม่เพื่อความเจริญรุ่งเรืองและการพัฒนาที่ยั่งยืนของเอเชีย-แปซิฟิก

ท่านผู้มีเกียรติ มิตรทั้งหลาย

ปี 2001 จีนเคยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปคครั้งที่ 9 จากนั้น 13 ปี การประชุมเอเปคจัดขึ้นอีกครั้งในจีน นับเป็นความไว้วางใจต่อจีนของทุกประเทศและเขตแคว้นในเอเชีย-แปซิฟิก ทั้งเป็นภารกิจที่ส่งมอบต่อจีน ฝ่ายต่างๆ ต้องการให้เอเปคในปีนี้ผนึกความรับรู้ร่วมกันและได้ผลคืบหน้าที่แท้จริงในประเด็นการเดินหน้าสร้างภูมิภาคให้เป็นหนึ่งเดียว ต้องการให้เอเชีย-แปซิฟิกรักษาความเจริญรุ่งเรืองและการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ชักนำการฟื้นตัวและการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก ต้องการให้จีนในฐานะเขตเศรษฐกิจใหญ่อันดับที่ 2 ของโลก ใช้ประโยชน์จากการเป็นเจ้าภาพจัดงาน สร้างคุณูปการใหม่เพื่อการพัฒนาของเอเปค และเพื่อความเจริญรุ่งเรืองของเอเชีย-แปซิฟิก

ความต้องการเป็นแรงกดดัน และยิ่งเป็นแรงขับเคลื่อน ช่วง 1 ปีที่ผ่านมา จีนติดต่อกับทุกสมาชิกเอเปคอย่างแนบแน่น กำหนดหัวข้อหลัก ประเด็นหลัก และการประชุมปีนี้อย่างดีที่สุด แสดงบทบาทของจีนอย่างจริงจัง เสนอแผนการของจีน อุทิศสติปัญญาของจีน บนพื้นฐานแห่งความโปร่งใส ประชาธิปไตย และการหารืออย่างเต็มที่ เราได้กำหนดอย่างชัดแจ้งว่า หัวข้อหลักของการประชุมเอเปคในปีนี้คือ "ร่วมสร้างความสัมพันธ์ฉันหุ้นส่วนในเอเชีย-แปซิฟิก เพื่อมุ่งสู่อนาคต" ส่วนประเด็นหลักของการประชุมมี 3 ประการ ได้แก่ "ขับเคลื่อนความเป็นหนึ่งเดียวของเศรษฐกิจในภูมิภาค" "ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรม การปฏิรูป และการเจริญเติบโต" และ "เสริมสร้างการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานและการเชื่อมโยงอย่างครอบคลุม" ทั้งนี้เป็นไปตามกระแสการพัฒนาเศรฐกิจเอเชีย-แปซิฟิกตลอดจนทั่วโลก สอดคล้องกับความต้องการร่วมกันของทุกประเทศและเขตแคว้นของเอเชีย-แปซิฟิก เป็นที่ยินดีและสนับสนุนของทุกสมาชิกเอเปค

ประธานาธิบดีสี จิ้นผิงกับรัฐบาลจีนเห็นความสำคัญของการประชุมเอเปค ณ กรุงปักกิ่ง มาก รอคอยที่จะแลกเปลี่ยน ตอบสนองโดยตรงอย่างลึกและจริงจังกับฝ่ายต่างๆ ในช่วงเปิดประชุม ร่วมเดินหน้ากระบวนการเอเปค คาดได้ว่า ภายใต้ความพยายามร่วมกันของเราท่านทั้งหลาย การประชุมเอเปค ณ กรุงปักกิ่งจะประสบผลสำเร็จมากมาย มีความเป็นไปได้ที่จะประสบผลคืบหน้าใหม่ใน 3 ด้านหลักดังต่อไปนี้

หนึ่งคือ เริ่มต้นกระบวนการเขตการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิก

(FTAAP) ก้าวย่างใหม่สู่การสร้างเศรษฐกิจภูมิภาคให้เป็นหนึ่งเดียว การจัดตั้งเขตการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิกเป็นฉันทามติและความปรารถนาที่ผู้นำเอเปคกำหนดไว้ตั้งนาน มีส่วนช่วยต่อการรวบรวมกลไกความร่วมมือทวิภาคี-พหุภาคีต่างๆ ในภูมิภาคนี้อีกขั้น ลดความทับซ้อน การแตกกระจายเป็นเศษเสี้ยวที่อาจจะเกิดจากข้อตกลงการค้าเสรีต่างๆ ให้น้อยที่สุดเท่าที่จะน้อยได้ จากการปรึกษาหารือกับเขตเศรษฐกิจอื่นๆ ในเอเปค ในช่วงประชุมเอเปค ณ กรุงปักกิ่ง เราจะทำฉันทามติสำคัญเกี่ยวกับการเริ่มต้นกระบวนการเขตการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิก ส่งสัญญาณที่ชัดเจนในการยกระดับความเป็นหนึ่งเดียวกันของเศรษฐกิจในภูมิภาคให้สูงขึ้น แปรความปรารถนาที่มีนานปีให้เป็นปฏิบัติการที่เป็นจริง

สองคือ กำหนดแวดวงที่เป็นเสาหลัก 5 ประการ แสวงหาพลังขับเคลื่อนใหม่ในการพัฒนาเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก การเปลี่ยนรูปแบบ ปรับโครงสร้าง พยุงการเติบโต และส่งเสริมการปฏิรูปเป็นภารกิจร่วมของสมาชิกเอเปค การประชุมฯ ณ กรุงปักกิ่งจะร่วมอภิปรายอย่างลึกเกี่ยวกับเสาหลัก 5 ประการ ได้แก่ การปฏิรูปเศรษฐกิจ เศรษฐกิจรูปแบบใหม่ การเติบโตด้วยนวัตกรรม การเปิดรับและสนับสนุนซึ่งกันและกัน และการพัฒนาความเป็นเมือง นอกจากนี้ ยังจะร่วมหารือเกี่ยวกับการกระชับความร่วมมือในแวดวงแนวหน้า เช่น เศรษฐกิจอินเตอร์เน็ต การพัฒนาความเป็นเมือง และเศรษฐกิจสีน้ำเงิน คาดว่าที่ประชุมฯ จะกำหนดและผ่าน "ฉันทามติว่าด้วยเศรษฐกิจเอเปคพัฒนาด้วยนวัตกรรม การปฏิรูป และการเจริญเติบโต" ซึ่งจะมีอิทธิพลลุ่มลึกยาวไกลต่ออนาคตของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก

และสามคือ เล็งการพัฒนาที่ตอบสนองโดยตรง ร่างพิมพ์เขียวใหม่ว่าด้วยการเชื่อมสัมพันธ์และติดต่อกันทุกระดับของเอเชีย-แปซิฟิก ทางหลวง ทางรถไฟ เส้นทางการบิน กฎเกณฑ์ และกลไกเป็นเสมือนเส้นเลือดและช่องทางการไหลเวียนของเลือดลมที่แผ่ซ่านตามร่างกาย การเชื่อมสัมพันธ์และติดต่อก็คือต้องปรับเส้นเลือดและช่องทางการไหลเวียนของเลือดลม คลายเส้นเอ็นและบำรุงเลือด เราจะยึดการเอื้อประโยชน์แก่สมาชิกสองฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกเป็นเป้าหมาย ถือฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และการไปมาหาสู่กันด้านบุคลากรเป็นองค์ประกอบ 3 ส่วน เดินหน้ากำหนด "พิมพ์เขียวว่าด้วยการเชื่อมสัมพันธ์และติดต่อเอเปค" สร้างหลักประกันที่เข้มแข็งเพื่อพัฒนาเอเชีย-แปซิฟิกในระยะยาวไกล

ปีนี้เป็นปีสำคัญปีหนึ่งในการพัฒนาเอเปค เวลาผ่านไป 25 ปีแล้ว เอเปคสืบสานอดีตและบุกเบิกอนาคต ยืนอยู่บนจุดใหม่ทางประวัติศาสตร์ เราต้องการให้การประชุมเอเปคกรุงปักกิ่งบรรลุเป้าหมาย 3 ประการใหญ่ คือ ร่วมสร้างความสัมพันธ์หุ้นส่วนเอเชีย-แปซิฟิกที่มุ่งสู่อนาคต ร่วมสร้างสถานการณ์เศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิกที่เปิดเสรี และร่วมกำหนดทิศทางพัฒนาเอเปคในอนาคต

ท่านผู้มีเกียรติ มิตรทั้งหลาย

การประชุมเอเปคปักกิ่งเข้าสู่ช่วงนับถอยหลังแล้ว ณ ที่นี้ ข้าพเจ้าขอเรียนท่านทั้งหลายว่า จีนพร้อมแล้ว ปักกิ่งพร้อมแล้ว

แต่ไหนแต่ไรมาจีนก็เป็นประเทศที่รักษาค่ำมั่นสัญญา พูดแล้วก็ต้องปฏิบัติ ความรับผิดชอบใดก็ตามที่มอบให้จีน จีนล้วนจะปฏิบัติตามด้วยดีและจริงจัง ความปรารถนาใดๆ ก็ตามที่ฝากไว้กับจีน จีนล้วนจะสร้างให้เป็นจริงขึ้นอย่างเต็มกำลังความสามารถ งานกีฬาโอลิมปิกเป็นเช่นนี้ งานมหกรรมโลก (เวิลด์ เอ็กซ์โป) เป็นเช่นนี้ การประชุมซีไอซีเอ (CICA) หรือ การประชุมว่าด้วยมาตรการส่งเสริมปฏิสัมพันธ์และสร้างความเชื่อถือกันในเอเชีย เป็นเช่นนี้ การประชุมเอเปคก็จะเป็นเช่นนี้แน่นอน

ปีนี้ จีนไม่เพียงแต่จะจัดการประชุมเอเปคปักกิ่งให้เป็นงานยิ่งใหญ่ที่มีผลงดงาม ความสมานฉันท์ และความราบรื่นเท่านั้น หากยังจะให้การประชุมเอเปคปักกิ่งจารึกไว้อย่างหนักแน่นในประวัติความร่วมมือภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกและการพัฒนาเศรษฐกิจทั่วโลกด้วย นี่เป็นความรับผิดชอบที่จีนพึงแบกรับ ทั้งเป็นคำมั่นสัญญาที่จีนต้องปฏิบัติให้บรรลุผลด้วย

สุดท้ายนี้ ขอให้เราร่วมรอคอยการเปิดฉากเอเปคปักกิ่งอย่างยิ่งใหญ่ ขอให้เราร่วมอำนวยพรให้เอเปคปักกิ่งประสบผลสำเร็จบริบูรณ์ ขอบคุณทุกท่าน

(IN/LING)

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040