ปาฐกถาของนายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีนเรื่อง "ปฏิรูปและเปิดประเทศอย่างลึก ร่วมสร้างเอเชีย-แปซิฟิกที่งดงาม" ในที่ประชุมสุดยอดผู้นำอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม องค์การเอเปค (เอเปค ซีอีโอ ซัมมิท) ณ เกาะบาเหลี อินโดนีเซีย วันที่ 7 ตุลาคม ปี 2013
  2014-11-10 16:55:48  cri

จีนเป็นมหาประเทศ จะเกิดความผิดพลาดชนิดคว่ำไม่เป็นท่าในปัญหาขั้นมูลฐานไม่ได้เด็ดขาด หากเกิดขึ้นก็ไม่มีทางที่จะกอบกู้และชดเชยได้ จุดยืนของจีนก็คือความกล้าต้องมาก ฝีก้าวต้องมั่นคง ทั้งต้องแสวงหาด้วยความกล้า กล้าที่จะบุกเบิก ทั้งต้องมีความระมัดระวังความสุขุมรอบคอบ คิด 3 ครั้งก่อนลงมือปฏิบัติ จีนต้องยึดทิศทางที่ถูกต้องในการปฏิรูปและเปิดประเทศ กล้าที่จะแทะกระดูกแข็ง กล้าที่จะลุยในน้ำเชี่ยวอันตราย กล้าที่จะผ่าตัดโรคเรื้อรังที่สั่งสมมานานปี ทำได้ถึงขั้นปฏิรูปอย่างไม่ติดขัด เปิดเสรีอย่างไม่หยุดยั้ง

สุภาพสตรี สุภาพบุรุษ และมิตรทั้งหลาย

เอเชีย-แปซิฟิกเป็นครอบครัวใหญ๋ จีนเป็นสมาชิกหนึ่งของครอบครัวใหญ่นี้ การพัฒนาของจีนแยกจากเอเชีย-แปซิฟิกไม่ได้ ความเจริญรุ่งเรืองของเอเชีย-แปซิฟิกก็แยกจากจีนไม่ได้เช่นกัน เศรษฐกิจจีนที่พัฒนาอย่างยั่งยืนด้วยดี จะนำมาซึ่งโอกาสแก่การพัฒนาของเอเชีย-แปซิฟิกมากขึ้น

จีนจะรักษาสันติภาพและเสถียรภาพของภูมิภาคอย่างเด็ดเดี่ยวแน่วแน่ วางพื้นฐานอันแข็งแกร่งเพื่อสร้างชัยชนะด้วยกันแก่เอเชีย-แปซิฟิก ข้าพเจ้าเคยพูดไว้ในฟอรั่มเอเชียโป๋อ๋าวประจำปีนี้และอีกหลายโอกาสว่า สันติภาพประดุจดั่งอากาศและแสงตะวัน ทำให้ได้ประโยชน์แต่ไม่รู้สึก หากสูญเสียก็ยากที่จะอยู่รอด หากไร้ซึ่งสันติภาพ การพัฒนาก็คือน้ำที่ไร้ต้นน้ำ ไม้ที่ไร้ราก ครอบครัวสมานฉันท์จะทำให้กิจการทุกอย่างรุ่งเรือง จีนเป็นสมาชิกหนึ่งของครอบครัวใหญ่เอเชีย-แปซิฟิก ยินดีอยู่ด้วยกันอย่างปรองดอง เฝ้าสังเกตและช่วยเหลือซึ่งกันและกันกับทุกสมาชิกครอบครัว ทั้งหวังว่าฝ่ายต่างๆ ของเอเชีย-แปซิฟิกจะทะนุถนอมสถานการณ์ที่สันติและมั่นคงที่มาโดยไม่ง่ายนี้ ร่วมกันเดินหน้าสร้างเอเชีย-แปซิฟิกที่มีความสมานฉันท์ ความสันติที่ยั่งยืน และความเจริญรุ่งเรืองด้วยกัน

จีนจะมุ่งส่งเสริมการพัฒนาและความเจริญรุ่งเรืองของภูมิภาค สร้างโอกาสเพื่อให้เอเชีย-แปซิฟิกได้ประโยชน์ด้วยกันมากขึ้น จีนเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุด ตลาดส่งออกรายใหญ่ที่สุด และแหล่งที่มาของการลงทุนรายสำคัญสำหรับเขตเศรษฐกิจหลายเขตในเอเชีย-แปซิฟิก ปี 2012 การเติบโตของเศรษฐกิจของจีนคิดเป็นกว่าร้อยละ 50 ของเอเชีย จนถึงปลายปี 2012 จีนอนุมัติให้บริษัทต่างชาติมาลงทุนจำนวนกว่า 760,000 ราย การลงทุนโดยตรงจากนักธุรกิจต่างชาติเป็นวงเงินราว 1.3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ จีนได้ร่วมลงนามข้อตกลงการค้าเสรี 12 ฉบับกับประเทศและเขตแคว้น 20 แห่ง ที่กำลังเจรจากันมี 6 แห่ง ในจำนวนดังกล่าว คู่ค้าเสรีส่วนใหญ่เป็นสมาชิกเอเปค ในช่วง 5 ปีจากนี้ไป สินค้าที่นำเข้าสู่จีนจะมีกว่า 10 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ การลงทุนในต่างประเทศจะมีกว่า 500,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ นักท่องเที่ยวชาวจีนที่ไปเที่ยวต่างประเทศจะมีกว่า 400 ล้านคน เมื่ออุปสงค์ภายในประเทศของจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุปสงค์ด้านการใช้จ่ายและการลงทุนขยายตัว ก็จะนำมาซึ่งโอกาสความร่วมมือกับนักลงทุนต่างชาติมากขึ้น

จีนจะมุ่งสร้างกรอบความร่วมมือภูมิภาคที่ข้ามสองฝั่งแปซิฟิกและอำนวยประโยชน์แก่ฝ่ายต่างๆ สาเหตุที่มหาสมุทรแปซิฟิกมีความกว้างขวาง ก็เพราะว่ามันไม่มีสิ่งกีดขวางธรรมชาติใดๆ จึงไม่ควรตั้งสิ่งกีดขวางใดๆ โดยฝีมือมนุษย์ เราควรให้เอเปคแสดงบทบาทในการนำและการประสานงาน ยึดแนวคิดเปิดเสรี เปิดกว้าง อำนวยประโยชน์แก่กัน และได้ชัยชนะด้วยกัน เพิ่มการประสานงานด้านนโยบายเศรษฐกิจมหภาคและด้านข้อตกลงว่าด้วยการค้าเสรีภูมิภาค เดินหน้ากระบวนการสร้างภูมิภาคให้เป็นหนึ่งเดียวอย่างลึก ป้องกันไม่ให้เกิดปรากฏการณ์ "ชามสปาเกตตี้"(Spaghetti bowl phenomenon)เดินหน้าสร้างความสัมพันธ์ฉันหุ้นส่วนที่แนบแน่นยิ่งขึ้นระหว่างสองฝั่งแปซิฟิก ร่วมหารือการพัฒนาเอเชีย-แปซิฟิกในระยะยาวไกล

สุภาพสตรี สุภาพบุรุษ และมิตรทั้งหลาย

"การเดินทางกว้างไกลไร้ที่สิ้นสุด ชักใบเรือขึ้นต้องพึ่งสายลม" เอเชีย-แปซิฟิกเป็นพื้นที่การพัฒนาด้วยกันของเรา เราล้วนเป็นเรือใบที่แล่นอยู่ในท้องมหาสมุทรเชีย-แปซิฟิก การพัฒนาเอเชีย-แปซิฟิกในอนาคตเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของทุกสมาชิกเอเปก

จีนมีความปรารถนาต่อการประชุมเอเปกครั้งนี้อย่างมาก โดยต้องการร่วมแรงร่วมใจกับบรรดาหุ้นส่วนในเอเชีย-แปซิฟิก ร่วมกันสร้างเอเชีย-แปซิฟิกให้มีความงดงาม เป็นแกนนำของโลก อำนวยประโยชน์แก่ทุกฝ่าย และสร้างความผาสุกให้กับลูกหลาน สำหรับการนี้ ข้าพเจ้าขอเสนอความปรารถนา 4 ประการดังนี้

ประการที่ 1 ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกควรแสวงหาการพัฒนาด้วยกัน เขตเศรษฐกิจต่างๆ ของเอเชีย-แปซิฟิกมีการติดต่ออย่างแนบแน่น ผลประโยชน์หลอมรวมกัน ควรแสดงความเหนือกว่าของตนอย่างเต็มที่ จัดสรรทรัพยากรเศรษฐกิจให้ดีขึ้น ปรับผังอุตสาหกรรมให้สมบูรณ์ขึ้น สร้างห่วงโซ่มูลค่าเอเชีย-แปซิฟิกที่เข้าถึงผลประโยชน์กันถ้วนหน้า และบ่มเพาะตลาดเอเชีย-แปซิฟิกที่ใหญ่มหาศาลให้อำนวยประโยชน์แก่ทุกฝ่าย โดยเขตเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้วควรให้การสนับสนุนและความช่วยเหลือแก่เขตเศรษฐกิจที่กำลังพัฒนา ขณะที่ฝ่ายหลังก็ควรมุ่งรุดหน้าไล่ตามให้ทัน มีเพียงลดความเหลื่อมล้ำให้น้อยลงเท่านั้น เอเชีย-แปซิฟิกจึงจะพลอยดีขึ้นเฉกเช่นน้ำขึ้นเรือย่อมสูง

ประการที่ 2 ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกควรยืนหยัดพัฒนาอย่างเปิดเสรี หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลงแล้ว ทั่วโลกมีเขตเศรษฐกิจ 13 แห่งที่มีอัตราการเติบโตสูงเป็นเวลากว่า 25 ปี โดยมีลักษณะร่วมกันก็คือ ใช้นโยบายเปิดเสรี เราควรคล้อยตามกระแสแห่งยุคสมัย รักษาระบบการค้าพหุภาคที่อิสระ เสรี และไม่เลือกปฏิบัติ คัดค้านลัทธิกีดกันทุกรูปแบบ เราควรร่วมมือสร้างเศรษฐกิจชนิดเปิดเสรีและกรอบความร่วมมือภูมิภาค เดินหน้าสร้างเขตการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิกด้วยเจตนารมย์แห่งการเปิดเสรีและเปิดกว้าง

ประการที่ 3 ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกควรส่งเสริมการพัฒนาด้วยความคิดสร้างสรรค์ การเติบโตที่เพียงแต่พึ่งพานโยบายกระตุ้นการคลังและนโยบายพิเศษทางการเงินจะไม่มีความยั่งยืน ส่วนการเติบโตที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการใช้ทรัพยากรมากเกินควรและสร้างมลภาวะก็ได้ไม่คุ้มเสีย เราควรมีความสร้างสรรค์ใหม่ทั้งวิสัยทัศน์การพัฒนาและวิธีการพัฒนา ควรทิ้งแนวคิดและกรอบเก่าๆ โดยยึดหลักการพัฒนาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การพัฒนาแบบหมุนเวียน และการพัฒนาแบบคาร์บอนต่ำ

ในการบ่มเพาะธุรกิจใหม่ๆ ควรส่งเสริมแรงขับเคลื่อนการเติบโต และเพิ่มกำลังแข่งขันหลัก (Competence) ให้สูงขึ้น

และประการที่ 4 ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกควรแสวงหาการพัฒนาที่ตอบสนองกัน ทุกเขตเศรษฐกิจของเอเชีย-แปซิฟิกมีผลประโยชน์หลอมรวมกัน ชะตากรรมเดียวกัน เขตหนึ่งมีความเจริญเขตอื่นๆ ก็จะมีความเจริญด้วย เขตหนึ่งได้รับความเสียหายเขตอื่นๆ ก็จะได้รับความเสียหายด้วย ในห่วงโซ่สมดุลไดนามิกนี้ การพัฒนาของเขตเศรษฐกิจแต่ละเขตล้วนจะเกิดปฏิกิริยาที่เป็นห่วงลูกโซ่ต่อเขตเศรษฐกิจอื่นๆ เราควรปลูกสำนึกเอเชีย-แปซิฟิกที่มีชะตากรรมเดียวกัน ชักนำการพัฒนาของผู้อื่นด้วยการพัฒนาของตัวเอง แสดงความได้เปรียบของแต่ละเขตอย่างมากที่สุดด้วยการประสานงานและตอบสนองกัน ส่งต่อพลังงานบวก สร้างสภาวะตอบสนองกันด้วยดีและพัฒนาอย่างประสานสอดคล้องกันระหว่างเขตเศรษฐกิจต่างๆ

ปัจจุบัน การสร้างระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของประเทศเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศกำลังพัฒนาและตลาดที่เจริญขึ้นใหม่ ต้องการระดมทุนจำนวนมหาศาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงหลังๆ นี้ยังเผชิญกับภัยเสี่ยงที่เศรษฐกิจอยู่ในช่วงขาลงมากขึ้น ความผันผวนของตลาดการเงิน และการท้าทายที่หนักหน่วงอื่นๆ จึงจำเป็นต้องระดมทุนสำหรับการสร้างระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานมากขึ้น เพื่อประกันให้เศรษฐกิจขยายตัวอย่างยั่งยืนและมั่นคง ส่งเสริมการเชื่อมสัมพันธ์และการติดต่อ สร้างเศรษฐกิจของภูมิภาคให้เป็นหนึ่งเดียว ด้วยเหตุนี้ จีนจึงมีข้อริเริ่มให้ตั้งธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย (Asian Infrastructure Investment Bank )

ยินดีให้การสนับสนุนด้านเงินทุนแก่ประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาค ซึ่งรวมถึงประเทศอาเซียนด้วย ในการสร้างระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน โดยธนาคารฯ ใหม่นี้จะร่วมกับธนาคารเพื่อการพัฒนาพหุภาคีที่มีอยู่ในทั้งในและนอกภูมิภาค ให้ความร่วมมือกัน เกื้อกูลกัน ร่วมกันส่งเสริมเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิกให้พัฒนาอย่างยั่งยืนและมั่นคง

1 2 3 4
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040