กระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจกับประวัติศาสตร์การจัดเอเชียนเกมส์ของจีน (1)
  2010-12-09 16:39:13  cri

ปี 1990 กรุงปักกิ่งได้เป็นเจ้าภาพ่จัดกีฬาเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 11 และนับเป็นครั้งแรกที่จีนได้จัดการแข่งขันกีฬาขนาดใหญ่ เวลาผ่านไป 20 ปี เมืองกว่างโจว ทางภาคใต้ของจีนก็ได้จัดเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 16 เสร็จสิ้นไปด้วยความสำเร็จ คบเพลิงศักดิ์สิทธิ์แห่งกีฬาเอเชียนเกมส์ยังคงสว่างเช่นเดิม แต่ความหมายภายใต้รูปแบบและแนวคิดในการจัดงาน ล้วนเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างลึกซึ้ง สะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเชิงประวัติศาสตร์ของสังคมจีนในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา

เมื่อครั้งที่ปักกิ่งจัดการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ จีนยังเป็นประเทศกำลังพัฒนาที่คืบหน้าก้าวไปท่ามกลางกระบวนการปฏิรูปและเปิดประเทศ 20 ปีให้หลัง กีฬาเอเชียนเกมส์กว่างโจว ทำให้ชาวโลกได้เห็นถึงภาพลักษณ์ของประเทศใหญ่แห่งตะวันออกที่มีอิทธิพลและมีสิทธิ์มีเสียงพอสมควรบนเวทีโลก

การกีฬาเป็นการเผยแพร่เจตนารมณ์แห่งชาติ และการแสดงให้เห็นถึงกำลังของประเทศ ไม่ว่ากรุงปักกิ่งหรือเมืองกว่างโจว การจัดกีฬาเอเชียนเกมส์ให้ประสบความสำเร็จครั้งหนึ่งนั้น ทางคณะกรรมการจัดการแข่งขันล้วนต้องเผชิญกับแรงกดดันด้านงบประมาณ เมื่อ 20 ปีก่อน กรุงปักกิ่งจัดเอเชียนเกมส์ด้วยความสำเร็จได้ ก็โดยอาศัยการระดมกำลังจากทั่วประเทศภายใต้ระบบเศรษฐกิจที่มีการวางแผน ถึงปี 2010 เมืองกว่างโจวสามารถจัดการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ที่มีขนาดใหญ่และยากยิ่งขึ้น โดยอาศัยเพียงเงินทุนของเมืองนี้เองและจากการใช้ระบบการตลาดเป็นหลักในการหาทุน โดยได้ัรับการสนับสนุนจากรัฐบาลกลางและท้องที่อื่นๆ ไม่มากนัก

เมื่อเดือนกันยายนปี 1984 กรุงปักกิ่งได้รับโอกาสการจัดกีฬาเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 11 ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่จีนจัดงานกีฬาระดับนานาชาติขนาดใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ทางการขาดแคลนทั้งเงินทุน และไม่มีประสบการณ์ เมื่อจัดตั้งคณะกรรมการจัดการแข่งขันขึ้น ปรากฏว่าต้องการงบประมาณ 2,500 ล้านหยวน เวลานั้น การคลังส่วนกลางผันงบฯ มาให้ได้เพียง 1,900 ล้านหยวน ซึ่งยังขาดอีก 600 ล้านหยวน ช่วงนั้น สิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐานของกรุงปักกิ่งยังไม่สมบูรณ์ ทั้งยังต้องสร้างอาคารกีฬาใหม่และปรับปรุงสนามกีฬาเก่าจำนวนมาก เมื่อเริ่มต้นโครงการก่อสร้าง วัสดุก่อสร้างก็สูงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้การเตรียมงานเอเชียนเกมส์น่าเป็นห่วงมาก

แต่เจตนารมณ์รักชาติและความภาคภูมิใจในการเป็นเจ้าภาพจัดกีฬาเอเชียนเกมส์ ของประชาชนจีน เป็นกุญแจไขปัญหานี้ ตั้งแต่ผู้นำพรรคและรัฐบาล ประชาชนจากแวดวงต่างๆ คนชราที่เกษียญแล้ว เด็กๆ ระดับอนุบาล ตลอดจนพี่น้องร่วมชาติชาวฮ่องกง มาเก๊า และไต้หวัน ชาวจีนโพ้นทะเลทั่วโลก พากันบริจาคเงินให้กับเอเชียนเกมส์ปักกิ่ง เหยียน ไห่เสีย เด็กนักเรียนหญิงชาวมณฑลเจียงซู ขณะนั้นอายุ 12 ปี ของ ใอบเงิน 1.6 หยวนซึ่งเป็นเงินแต๊ะเอียที่ได้รับจากพ่อแม่ในเทศกาลวันตรุษจีน ให้กับคณะกรรมการจัดการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ นับเป็นเงินบริจาคงวดแรกที่ทางคณะกรรมการฯ ได้รับ หลี่ กุ้ยซิง ชาวนาอายุ 26 ปีจากเขตภูเขาอี๋เหมิงซานที่อยู่ห่างไกลจากกรุงปักกิ่ง นำเงิน 200 หยวนที่ทั้งครอบครัวประหยัดการใช้จ่ายและเก็บสะสมมานานหลายปี พร้อมกับผักดองและหมานโถว เดินทาง 17 วันเพื่อส่งเงินมายังกรุงปักกิ่ง เด็กนักเรียนกรุงปักกิ่งจำนวนนับล้านคนได้เข้าร่วมกิจกรรม "ส่งดอกไม้ช่อหนึ่งให้กับเอเชียนเกมส์" สมาคมนักธุรกิจส่วนตัวแห่งชาติได้บริจาคเงินกว่า 20 ล้านหยวนในสร้างอาคารกีฬาแห่งหนึ่ง

สถิติปรากฏว่า จนถึงกีฬาเอเชียนเกมส์ปักกิ่งสิ้นสุดลง มีผู้คนมากกว่า 100 ล้านคนได้บริจาคเงินและสิ่งของให้กับเอเชียนเกมส์ปักกิ่ง ยอดมูลค่ารวมประมาณ 700 ล้านหยวน

20 ปีให้หลัง เมืองกว่างโจวได้เป็นเจ้าภาพจัดกีฬาเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 16 ซึ่งเป็นช่วงที่จีนดำเนินนโยบายการปฏิรูปและเปิดประเทศมากว่า 30 ปีแล้ว ปัจจุบันจึงมีกำลังด้านเงินงบประมาณพอสมควร การจัดกีฬาเอเชียนเกมส์กว่างโจวครัง้นี้ใช้งบประมาณ 120,000 ล้านหยวนในการก่อสร้างอาคารกีฬาและสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐานทั่วทั้งเมือง โดยไม่มีการระดมเงินบริจาคจากประชาชนแต่อย่างใด

เมื่อปี 1989 จีดีพีทั่วประเทศจีนมีประมาณ 1.6 ล้านล้านหยวน แต่ปี 2009 จีดีพีของเมืองกว่างโจวเกินกว่า 9 แสนล้านหยวน คิดเป็น 60% ของยอดจีดีพีทั่วประเทศเมื่อ 20 ปีก่อน ส่วนมณฑลกวางตุ้งที่เมืองกว่างโจว ตั้งอยู่นั้น จีดีพีของปี 2009 สูงถึง 3.9 ล้านล้านหยวน คิดเป็น 2.5 เท่าตัวของยอดจีดีพีทั่วประเทศจีนเมื่อ 20 ปีก่อน

กว่างโจวไม่ต้องการให้ประชาชนช่วยปริจาคเงิน เพราะมีงบประมาณส่วนหนึ่งจากการคลังส่วนกลางของรัฐบาล และอีกส่วนหนึ่งมาจากการทำกิจการทางการตลาด มีบริษัท 48 แห่งได้เข้ามาเป็นสปอนเซอร์ ซึ่งจำนวนสปอนเซอร์และจำนวนเงินสนับสนุนที่ได้รับล้วนสร้างสถิติสูงสุดในประวัติศาสตร์การทำการตลาดของกีฬาเอเชียนเกมส์

การก่อสร้างสนามกีฬาและหมู่บ้านนักกีฬา และการใช้ประโยชน์หลังการแข่งขัน เป็นภาระทางการคลังที่หนักมากและเป็นเรื่องปวดหัวมากสำหรับเมืองเจ้าภาพที่จัดการแข่งขัน แต่เมืองกว่างโจวได้จัดการประมูลขยายหมู่บ้านนักกีฬา หมู่บ้านเจ้าหน้าที่เทคนิคการกีฬาและหมู่บ้านสื่อมวลชนเรียบร้อยแล้ว โดยขายได้ในราคา 25,500 ล้านหยวน สูงกว่าราคาตั้งต้นในประมูลที่ 16,500ล้านหยวน โดยเพิ่มขึ้น 9,000 ล้านหยวน ถือว่าเป็นลดแรงกดดันด้านการคลังสาธารณะด้วยวิธีทางการตลาด

(Ton/Lin)

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040