นโยบาย “อเมริกาต้องมาก่อน” ยังคงยากเดินหน้า หลังนายจิม-ยอง คิมลาออกประธานธนาคารโลก

2019-01-14 16:00CRI

图片默认标题_fororder_20190114sh1

วันทำงานวันแรกของปี 2019 นายจิม-ยอง คิม ประธานธนาคารโลก ได้ประกาศลาออกจากตำแหน่ง กลายเป็นประเด็นที่ถกกันทั่วโลก ในหนังสือยื่นขอลาออกนั้น นายจิม-ยอง คิมระบุว่า วันที่ 1 กุมภาพันธ์ เขาจะเข้าร่วมองค์กรที่มุ่งการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของประเทศกำลังพัฒนา และเตรียมตัวดำเนินกิจกรรมการวิจัยทางวิชาการ ซึ่งเขาเองไม่ได้อธิบายถึงรายละเอียดของสาเหตุที่ลาออก แต่สื่อมวลชนเห็นว่า มีส่วนเกี่ยวข้องกับรัฐบาลสหรัฐฯชุดปัจจุบัน ที่บีบบังคับให้นายจิม-ยอง คิมลาออก

เนื่องจากรัฐบาลสหรัฐฯชุดปัจจุบันใช้สิทธิโดยลำพังฝ่ายเดียว ส่งเสริมให้พื้นฟูการผลิตถ่านหิน ตั้งข้อกังขาต่อการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ แต่นายจิม-ยอง คิม สนับสนุนโลกาภิวัตน์ ส่งเสริมให้ใช้พลังงานสะอาด สนใจปัญหาสิ่งแวดล้อม  ธนาคารที่นำโดยเขา แทบจะไม่ให้การสมทบทุนต่อการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานถ่านหินอีก หากพิจารณาจากการทำงานในธนาคารโลก  นายจิม-ยอง คิม เริ่มรับตำแหน่งประธานครั้งแรกเมื่อปี 2012 และต่ออีกสมัยเมื่อปี 2017 ที่ได้รับการเสนอชื่อและสนับสนุนโดยรัฐบาลโอบามา  หลังจากขึ้นดำรงตำแหน่ง เขาพยายามปฏิรูปฝ่ายบุคลากร ทำให้พนักงานไม่พอใจเป็นอย่างมาก เกิดการขัดแย้งกันไม่น้อย  ขณะรับตำแหน่งต่ออีกสมัยนั้น ก็มีการขัดขวางภายในด้วยเช่นกัน

ตั้งแต่นายจิม-ยอง คิมขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นต้นมา เขาให้การสนับสนุนแก่ประเทศกำลังพัฒนาซึ่งรวมถึงประเทศจีนด้วย เห็นชอบในแผนการปฏิรูปองค์การการค้าโลกที่เสนอโดยประเทศกำลังพัฒนา สนับสนุนการค้าเสรีแบบพหุภาคี ยืนหยัดการสนับสนุนประเทศกำลังพัฒนา

ทั้งนี้ ธนาคารโลกก่อตั้งขึ้นในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 2  ประธานธนาคารโลกเป็นชาวอเมริกันมาโดยตลอด และเสนอชื่อโดยประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในเวลานั้น  สหรัฐฯ เป็นหุ้นส่วนรายใหญ่ที่สุดของธนาคารโลก และมี “สิทธิ์วีโต้” คาดว่า ผู้สมัครประธานธนาคารโลกคนใหม่ที่เสนอชื่อโดยสหรัฐฯ ย่อมจะต้องผ่านการตรวจสอบจากองค์ประกอบเศรษฐกิจสำคัญอื่นๆ ถ้าหากสหรัฐฯต้องการรักษาคุณสมบัติสมาชิกธนาคารโลกและการดำเนินงานอย่างเป็นปกติ ก็จะต้องยึดหลัก “สัจนิยม” ไม่ใช่ปฏิบัติตามนโยบาย “สหรัฐฯต้องมาก่อน” อย่างกำเริบเสิบสาน

Yim/LR/Zhou

ภาพและเนื้อหาข่าวเป็นลิขสิทธิ์ของ China Face

Not Found!(404)