ข้อมูลเกี่ยวกับโควิด-19 เหล่านี้ จริงหรือไม่ ? (2)

图片默认标题_fororder_20200227新冠专题图

ตั้งแต่จีนเกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ชาวจีนให้ความสำคัญกับการป้องกันโรคเป็นอย่างมาก จึงมีข้อมูลหลากหลายเกี่ยวกับการป้องกันโรคเผยแพร่ตามเน็ตอย่างกว้างขวาง รวมทั้งข้อสงสัยหลากหลายอย่างเกี่ยวกับการป้องกันโควิด-19 ด้วย ซึ่งข้อมูลบางอย่างอาจเป็นการกังวลเกินไป หรือไม่ถูกต้องตามแผนการป้องกันควบคุมโควิด-19 ของคณะกรรมการสุขอนามัยแห่งประเทศจีน และข้อเสนอขององค์การการค้าโลก ซึ่งในบทความตอนที่ 1 ได้อธิบายข้อมูล 6 ข้อมาแล้ว วันนี้ เรามาดูกันต่อว่า มีข้อมูลหรือข้อสงสัยที่ชาวเน็ตสนใจกันอะไรอีก และข้อมูลเหล่านี้เป็นข่าวจริงหรือไม่

7) การอาบแดดช่วยฆ่าเชื้อได้ - ไม่จริง

เชื้อโควิด-19ถูกฆ่าได้ด้วยอุณหภูมิ 56 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 30 นาที และถูกฆ่าได้ด้วยรังสีอัลตราไวโอเลต แต่แสงแดดมีอุณหภูมิไม่ถึง 56 องศาเซลเซียส และรังสีอัลตราไวโอเลตก็มีความรุนแรงไม่พอที่จะฆ่าเชื้อได้ นอกจากนี้ การอาบน้ำอุ่น ซาวน่า เปิดเครื่องฮิตเตอร์ หรือใช้เครื่องเป่าผม ต่างก็ไม่สามารถฆ่าเชื้อได้ นอกจากนี้ เครื่องฟอกอากาศทั่วไปก็ไม่สามารถฆ่าเชื้อได้เช่นกัน

8)ใส่เสื้อที่มีขนเสี่ยงต่อการติดเชื้อง่ายกว่า - ไม่จริง

ตามลักษณะของไวรัสไข้หวัด คาดว่าไวรัสจะติดค้างบนพื้นผิวที่เรียบได้นานกว่า ดังนั้น ไม่ต้องกังวลกับเนื้อผ้าแต่พอกลับถึงบ้านแล้ว เสนอให้รีบถอดเปลี่ยนชุด ฆ่าเชื้อที่เสื้อนอก และเอาเสื้อนอกแขวนในที่อากาศไหลเวียนได้ดี

9) หน้ากากทางการแพทย์และประเภท N95 สามารถใช้แอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อเพื่อใช้ได้นานขึ้น - ไม่จริง

ช่วงหลังๆ นี้ ความต้องการหน้ากากอนามัยในทั่วประเทศจีนเพิ่มขึ้นอย่างมาก บวกกับสภาพการณ์ที่ต้องประกันการสนองความต้องการที่โรงพยาบาลต่างๆ ในเมืองอู่ฮั่น หน้ากากจึงค่อนข้างจะซื้อยากหน่อย ฉะนั้น จึงมีคนคิดที่จะฆ่าเชื้อให้หน้ากากด้วยแอลกอฮอล์ทางการแพทย์ เพื่อจะได้ใช้นานขึ้น แต่อันที่จริงแล้ว ไม่ว่าจะเป็นหน้ากากทางการแพทย์ที่ใช้แล้วทิ้ง หรือหน้ากากประเภท N95 ที่ใช้ได้หลายครั้ง หากติดแอลกอฮอล์แล้ว ก็จะเสียประสิทธิภาพในการป้องกันไวรัสไป เพราะถ้าเป็นหน้ากากประเภท N95 ในสภาพที่แห้ง จะใช้ได้ประมาณ 3 วันหรือประมาณ 5 ครั้ง แต่พอเปียกแล้ว ก็จะเสียประสิทธิภาพป้องกันขณะเดียวกัน สำหรับคนทั่วไปที่ไม่ได้ติดเชื้อ หรือไม่ต้องสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อแล้ว ถึงจะเป็นหน้ากากทางการแพทย์ ก็ไม่ต้องเปลี่ยนใหม่ทุกครั้งที่ถอด พิจารณาเปลี่ยนตามความสะอาดและความแห้งของหน้ากาก

10) ผู้ป่วยโควิด-19 ที่หายเป็นปกติแล้ว จะไม่ติดเชื้ออีก - ไม่จริง

ผู้ป่วยที่หายเป็นปกติแล้วจะมีแอนติบอดี้บ้าง แต่ยังไม่มีการยืนยันว่า แอนติบอดี้นี้มีประโยชน์นานเท่าไหร่ ที่สำคัญอีกอย่าง เชื้อโควิด-19 มีความเป็นไปได้ที่จะเปลี่ยนแปลงไปได้ ดังนั้น ถึงหายป่วยแล้ว ก็มีความเป็นไปได้ที่จะติดเชื้ออีก จึงเสนอให้ใส่หน้ากาก และป้องกันเชื้ออย่างระมัดระวังเช่นเคย

11) เลือดของผู้ป่วยโควิด-19 ที่หายดีแล้วมีแอนติบอดี้ - จริง

เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา นายจาง ติ้งอี่ว์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจินหยินถันเมืองอู่ฮั่นเรียกร้องผ่านสื่อมวลชนว่า ขอให้ผู้ป่วยโควิด-19 ที่หายป่วยแล้วมาบริจาคเลือดของตน เพื่อช่วยรักษาผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง โดยเฉพาะในสภาพการณ์ที่ยังไม่มียารักษาได้นี้เพราะเลือดของผู้หายป่วย ที่มีแอนติบอดี้จำนวนมากนั้น สามารถช่วยผู้ป่วยคนอื่นสู้กับไวรัสได้ นอกจากนี้ หมอเชื่อว่า การวิจัยเลือดของผู้ที่หายป่วยนั้น ยังมีส่วนช่วยในการวิจัยยารักษาเชื้อโควิด-19 เป็นอย่างมากด้วย

12) ผู้ป่วยโควิด-19 ต้องจ่ายค่ารักษาโรคด้วยตนเอง - ไม่จริง

สำหรับผู้ยืนยันติดเชื้อโควิด-19 แล้วทางรัฐบาลจะรับผิดชอบเรื่องการรักษาโรคโดยผู้ป่วยไม่ต้องจ่ายค่ารักษาใดทั้งสิ้นดั้งนั้นผู้ป่วยไม่ต้องกังวลเรื่องเงินทองหากมีอาการไม่สบายเสนอให้ไปตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาลทันทีเพื่อความปลอดภัยของตนและคนอื่นด้วย

อย่างไรก็ตามในช่วงที่เชื้อโควิด-19 ยังแพร่ระบาดอยู่นี้ขอให้ทุกคนล้างมือบ่อยๆ ใส่หน้ากากอนามัยเสมอฆ่าเชื้อเครื่องโทรศัพท์มือถือและของใช้อื่นๆ บ่อยครั้งและพยายามเปิดหน้าต่างถ่ายเทอากาศที่พักและที่ทำงานเป็นประจำและที่สำคัญที่สุดคืออย่าวิตกกังวลเกินควรรักษาสุขภาพและอารมณ์ให้คงที่ก็จะป้องกันร่างกายและจิตใจให้ห่างไกลจากไวรัสได้

Yim/Ldan

ภาพและเนื้อหาข่าวเป็นลิขสิทธิ์ของ China Face

Not Found!(404)