ระยะหลังๆมานี้ การค้าการบริการของจีนที่มีต่ออาเซี่ยนได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว มูลค่าการค้ามีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเร็วมาก โดยเฉพาะในด้านการลงทุนกิจการให้บริการ การรับเหมาโครงการ และความร่วมมือด้านการใช้แรงงานเป็นต้น อาเซี่ยนได้กลายเป็นตลาดส่งออกทางการค้าการบริการที่สําคัญของจีน
ในขณะเดียวกัน ความร่วมมือระหว่างอาเซี่ยนกับจีนในด้านการลงทุนทางการขนส่งทางทะเล การขนส่งทางอากาศ การให้บริการทางการเงิน และการให้บริการเกี่ยวกับโครงการก่อสร้างเป็นต้นนั้นได้กลายเป็นส่วนประกอบอันสําคัญของการนําเข้าการค้าการบริการของจีน
กล่าวโดยทั่วไปว่า การที่จีนกับอาเซี่ยนสร้างความสัมพันธ์แบบหารือกัน สร้างเขตการค้าเสรี ส่งเสริมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างสองฝ่ายพัฒนาอย่างรอบด้านนั้น ล้วนได้นําผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่แท้จริงให้แก่กันและกันในปริมณฑลการค้าการบริการ และได้กลายเป็นพื้นฐานสําคัญและแรงขับเคลื่อนที่เข้มแข็งของการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับอาเซี่ยน
การค้าการบริการเป็นปริมณฑลสําคัญของการดําเนินความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างจีนกับอาเซี่ยน พื้นฐานการค้าการบริการของสองฝ่ายไม่เหมือนกัน และมีข้อแตกต่างกันในด้านความได้เปรียบ ข้อแตกต่างเหล่านี้ทําให้มีลักษณะเสริมซึ่งกันและกันในด้านการค้าการบริการระหว่างสองฝ่าย
พื้นฐานการค้าการบริการของประเทศสมาชิกอาเซี่ยนส่วนมากจะดีกว่าจีน ตามสถิติของรายงานแห่งการพัฒนาของโลกประจําปี 2005 ของธนาคารโลก มูลค่าการผลิตของกิจการการให้บริการของจีนเป็น 32% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศจีน ส่วนในประเทศสมาชิกอาเซี่ยน นอกจากข้อมูลของบรูไนที่ไม่ชัดเจนแล้ว ลาวกับพม่าตํ่ากว่าจีน ประเทศสมาชิกอาเซี่ยนอีก 7 ประเทศล้วนมีสัดส่วนสูงกว่าจีน
ส่วนขนาดของการค้าการบริการ จีนมีขนาดใหญ่กว่าประเทศสมาชิกอาเซี่ยน ตามสถิติการค้าระหว่างประเทศประจําปี 2005 ขององค์การการค้าโลก ยอดมูลค่าการส่งออกของการค้าการบริการของจีนเป็น 74,400 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เท่ากับขนาดโดยรวมของ 10 ประเทศสมาชิกอาเซี่ยน
ในด้านโครงสร้างอุตสาหกรรมของการส่งออกของการค้าการบริการ จีนกับประเทศสมาชิกอาเซี่ยนต่างมีความได้เปรียบ จีนมีกําลังแข่งขันค่อนข้างเข้มแข็งในด้านบริการก่อสร้าง ขนส่งทางทะเล ท่องเที่ยว ข่าวสารทางคอมพิวเตอร์ และพาณิชย์ ส่วนสิงคโปร์กับมาเลเซียมีความได้เปรียบในด้านบริการขนส่งทางอากาศ การเงิน โรงแรมและการจัดนิทรรศการเป็นต้น ส่วนไทยมีลักษณะพิเศษในด้านการบริการการท่องเที่ยว
กล่าวได้ว่า จีนกับอาเซี่ยนมีข้อแตกต่างค่อนข้างมากในด้านการค้าการบริการ เช่นพื้นฐานพัฒนา รูปแบบอุตสาหกรรม ความเร็วของการพัฒนาและขั้นตอนพัฒนาเป็นต้น ซึ่งเป็นเหตุให้การค้าการบริการทั้งสองฝ่ายเกิดลักษณะเสริมซึ่งกันและกัน เป็นพื้นฐานให้กับทั้งสองฝ่ายในการขยายและพัฒนาการค้าการบริการ
1 2
|