ประการแรก ความต้องการเกี่ยวกับการค้าการบริการของทั้งสองฝ่ายจะเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง เมื่อพิจารณาจากแง่มุมการพัฒนาเศรษฐกิจของจีนกับประเทศอาเซี่ยน ต่างก็เผชิญหน้ากับภาระหน้าที่ลําบากที่ต้องปรับปรุงโครงสร้างอุตสาหกรรม การพัฒนากิจการให้บริการ ขยายการเปิดกิจการให้บริการไปสู่ภายนอกจึงกลายเป็นทางเลือกที่แน่นอน ทั้งหมดเหล่านี้มิต้องสงสัยว่าย่อมจะนําโอกาสให้กับผู้ให้บริการต่างประเทศ ความได้เปรียบในด้านภูมิภาค วัฒนธรรมและพื้นฐานความร่วมมือที่แท้จริงของกันและกันย่อมจะอํานวยความสะดวกให้กันและกันมากยิ่งขึ้น
โดยเฉพาะด้วยการพัฒนาของเขตการค้าเสรีจีน-อาเซี่ยน การค้าเกี่ยวกับสินค้าและการลงทุนในอุตสาหกรรมอื่นๆระหว่างจีนกับอาเซี่ยนจะเพิ่มมากยิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง ย่อมจะเพิ่มความต้องการที่มีต่อการให้บริการต่างๆเช่นโลจิสติก การเงิน และประกันภัยเป็นต้น จะนําโอกาสใหม่ๆให้กับผู้ให้บริการทั้งสองฝ่าย
ประการที่สอง การพัฒนาความร่วมมือการค้าการบริการมีช่องว่างใหญ่มาก ข้อแตกต่างและลักษณะเสริมซึ่งกันและกันของจีนกับอาเซี่ยนในการพัฒนาการค้าการบริการย่อมจะทําให้มีความร่วมมือระหว่างสองฝ่ายมากกว่าด้านการแข่งขัน
นอกจากช่องว่างของความร่วมมือการค้าการบริการภายในภูมิภาคแล้ว สิ่งที่สําคัญยิ่งก็คือ เบื้องหน้าการเคลื่อนย้ายใหม่ของอุตสาหกรรมระหว่างประเทศที่ถือกิจการการบริการเป็นหัวใจสําคัญนั้น จีนกับประเทศสมาชิกอาเซี่ยนจะต้องจัดวางทรัพยากรสําคัญๆภายในภูมิภาคให้ดีโดยอยู่บนพื้นฐานร่วมมือภายในภูมิภาค เพิ่มแรงรวมตัวและกําลังแข่งขันโดยรวมของเขตการค้าเสรีจีน-อาเซี่ยนในด้านการรองรับการเคลื่อนย้ายอุตสาหกรรมระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นทางเลือกเชิงยุทธศาสตร์และเป็นกรอบยุทธศาสตร์ร่วมกันในการพัฒนาการค้าการบริการของสมาชิกเขตการค้าเสรีจีน-อาเซี่ยน
สรุปแล้วก็คือ จีนกับอาเซี่นยถึงแม้ว่ามีการแข่งขันกันในด้านพื้นฐานอุตสาหกรรมการบริการ ทรัพยากรสําคัญ การพัฒนาการค้าการบริการ การดึงดูดเงินทุนต่างชาติและการรับเหมาโครงการบริการเป็นต้นก็ตาม แต่ระดับพัฒนาทางเศรษฐกิจและสภาพแบบขั้นบันไดของโครงสร้างอุตสาหกรรมของทั้งสองฝ่ายก็ทําให้ทั้งสองฝ่ายมีลักษณะหลากหลายและลักษณะเสริมซึ่งกันและกันในด้านที่มีความได้เปรียบของแต่ละฝ่ายด้วย 1 2
|