ท่านผู้ฟังที่เคารพ ยินดีต้อนรับเข้าสู่รายการพิเศษ"จีนกับไทยสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตครบรอบ 32 ปี" รายการวันนี้ ขอเสนอเรื่อง"มิตรภาพระหว่างจีนกับไทยมีที่มายาวนานและไปได้กว้างไกล---บทสัมภาษณ์นายจาง จิ่วหวน เอกอัครราชทูตจีนประจําประเทศไทย"
เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคมปี 1975 รัฐบาลจีนกับไทยลงนามในแถลงการณ์ร่วมปักกิ่งเกี่ยวกับการสร้างความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการที่กรุงปักกิ่ง แถลงการณ์ร่วมปักกิ่งแสดงถึงความปรารถนาดีของจีนกับไทยที่มุ่งจะพัฒนาความร่วมมือฉันมิตรบนพื้นฐานหลักการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ 5 ประการ
วันที่ 1 กรกฎาคมปี 1975 ควรบันทึกไว้เป็นวันที่มีความหมายพิเศษในประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับไทย ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับไทยเปิดหน้าใหม่ตั้งแต่นั้นมา
จีนกับไทยสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตเป็นเวลากว่า 30 ปีแล้ว ทั้งสองฝ่ายไว้วางใจกัน ร่วมมือกันอย่างมีประสิทธิภาพในด้านการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์ จีนกับไทยสร้างความร่วมมือฉันมิตรอย่างมั่นคงและพัฒนาไปด้วยดีในทุกด้าน ความสัมพันธ์เช่นนี้สอดคล้องกับผลประโยชน์พื้นฐานและความปรารถนาร่วมกันของทั้งสองประเทศและประชาชนทั้งสองประเทศ
เนื่องในโอกาสจีนกับไทยสถาปนาความสัมพันธ์ใกล้จะครบ 32 ปี นายจาง จิ่วหวน เอกอัครราชทูตจีนประจําประเทศไทยกล่าวถึงปัจจัยสําคัญหลายประการที่ส่งเสริมมิตรภาพระหว่างจีนกับไทยพัฒนาต่อไปขณะให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวซีอาร์ไอว่า
"ผมคิดว่าปัจจัยแรกคือปัจจัยทางประวัติศาสตร์ ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับไทยเริ่มตั้งแต่สมัยโบราณ ในช่วงหลายพันปีมานี้ ประชาชนทั้งสองประเทศไปมาหาสู่กันอย่างใกล้ชิด ระหว่างการไปมาหาสู่กัน ประชาชนจีนกับประชาชนไทยมีความสัมพันธ์ลึกซึ้งมาก เรามักจะพูดว่าคนไทยกับคนจีนไม่ใช่อื่นไกลเป็นพี่น้องกัน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงกล่าวว่า'จีนไทยพี่น้องกัน สืบทอดนับพันๆปี' ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับไทยในปัจจุบันเป็นการเลือกสรรที่แน่นอนในการพัฒนาประวัติศาสตร์ ปัจจัยที่สองคือ การเรียกร้องของสมัย โลกปัจจุบันมีลักษณะหลายขั้ว เศรษฐกิจกระแสโลกาภิวัตน์พัฒนาอย่างรวดเร็ว จึงเรียกร้องให้ประเทศต่างๆโดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านต้องเสริมสร้างความร่วมมือกัน ร่วมกันรับมือต่อสภาวการณ์ในปัจจุบัน ด้วยเหตุนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับไทยจึงได้พัฒนาต่อไป การเสริมสร้างความร่วมมือฉันมิตรและอํานวยประโยชน์แก่กันจึงเกิดจากการเรียกร้องในการพัฒนาของยุคสมัย ปัจจัยที่สามคือ จีนกับไทยมีหลักการชี้นําที่ถูกต้อง ซึ่งก็คือหลักการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ 5 ประการ เคารพซึ่งกันและกัน อํานวยประโยชน์แก่กันอย่างเสมอภาค ไม่แทรกแซงกิจการภายในของกันและกัน ภายในการชี้นําของหลักการดังกล่าว ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศพัฒนาไปด้วยดี ปัจจัยที่สี่คือ ประชาชนทั้งสองประเทศมีความเข้าใจร่วมกันว่า การเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างสองประเทศจะสอดคล้องกับผลประโยชน์พื้่นฐานและความปรารถนาร่วมกันของประชาชนทั้งสองประเทศ เพราะฉะนั้น ไม่ว่าภายในสองประเทศจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรก็ตาม การผลักดันความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศในด้านต่างๆให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นก็เป็นความเข้าใจร่วมกันมาโดยตลอดในบรรดาบุคคลวงการต่างๆของทั้งสองประเทศ"
1 2
|