ท่านผู้ฟังครับ ปีนี้เป็นปีครบรอบ 10 ปีของการเกิดวิกฤตการเงินเอเซียเมื่อปีค.ศ.1997 โอกาสนี้เพื่อเป็นการรําลึกและเตือนใจทุกคนทั้งหลาย มิให้ลืมเลือนบทเรียนจากวิกฤการเงินเอเซีย เมื่อเร็ว ๆ นี้ ผู้สื่อข่าวซีอาร์ไอประจํากรุงเทพฯได้ขอสัมภาษณ์ ด.ร. สมภพ มานะรังสรรค์อาจารย์ประจําคณะเศรษฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเกี่ยวกับวิกฤตการเงินเอเซีย ต่อไปขอเชิญท่านฟังคําให้สัมภาษณ์ของอาจารย์ สมภพ มานะรังสรรค์ หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์ต่อท่านผู้ฟังได้บ้างไม่มากก็น้อยครับ
ผู้สื่อข่าว?ขอให้อาจารย์ช่วยสรูปสาเหตุการเกิดวิกฤตการเงินครั้งนี้ครับ
ด.ร.สมภพ มานะรังสรรค์?ผมคิดว่าเกิดจากสองสามเรื่อง ประการแรก เกิดจากการบริหารจัดการเศรษฐกิจมหาภาคที่ผิดพลาด ตัวอย่างเช่นนโยบายการเงินที่ผิดพลาด นโยบายการเงินที่ผิดพลาดมากมากในปีนั้นก็คือการที่ประเทศไทยมีการเปิดเสรีทางการเงินมากๆ ตัวอย่างเช่นมีการเปิดใช้ระบบที่เรียกว่า BIBF ที่เรียกเป็นภาษาไทยว่าวิเทศธุรกิจ ก็คือการเปิดเสรีบัญชีทุน ก็คือเปิดเสรีเต็มที่ ใดรมีี่รายเส้น BIBF สามารถเอาเงินนอกอย่างเสรีได้ แต่ว่าขณะเดียวกันก็ไปใช้นโยบายตรึงค่าเงิน ซึ่งนโยบายสองแบบนี้เป็นโยบายที่ไม่สอดคล้องกัน คือด้านหนึ่งเปิดเสรีให้เงินเข้ามาเต็มที่ แต่อีกด้านหนึ่งกลับไปตึงค่าเงินใช้ค่าเงินอัตราแลกเปลี่ยนแบบค่อนข้างตายตัว ถึงแม้จะอ้างว่าใช้ระบบตะกร้าเงิน แต่จริงๆแล้วก็คือมีการเข้าไปแทรกแซงค่าเงินอย่างมาก นี่เป็นเหตุผลประการแรก ประการที่สองคือ การกู้เงินต่างประเทศมากเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งงินกู้ระยะสั้น ที่ประเทศไทยเคยกู้เงินระยะสั้นมามากกว่าทุนสํารองต่างประเทศที่มีอยู่สามสี่เท่าตัว ฉะนั้น กู้ระยะสั้นมาปล่อยกู้ระยะยาว เช่นมาปล่อยกู้อสังหาริมทรัพย์ ฉะนั้นแล้วก็แน่นอน ในขณะที่เศรษฐกิจดีก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่เศรษฐกิจเริ่มมีปัญหา เจ้าหนี้ก็จะทวงเงิน พอทวงเงิน เงินก็ไหลออก ที่สาเหตุที่มีการกู้เงินต่างประเทศมากก็เพราะว่า หนึ่ง ระบบเศรษฐกิจโลกมีสภาพคล่องสูง ดอกเบี้ยตํ่ามากเทียบในประเทศ เราเช็คดูในปี 1993 ซึ่งไทยเริ่มเปิดใช้ BIBF ดอกเบี้ยในตลาดโลกเป็นแค่ 3-4% แต่ว่าดอกเบี้ยในเมืองไทย 11-12% ก่อนนั้นสูงกว่านั้นอีกดอกเบี้ยเงินฝากประเทศไทยเคยสูงขึ้น 17% ในช่วงก่อนนั้น 2 ปี 17-18% ในช่วงสมัยรัฐบาลชวน ช่วงเกิดวกฤตใหม่ๆ ฉะนั้น ดอกเบี้ยเงินกู้ 11-12% ก็เรียกว่าเงินกู้แก่ลูกค้าชั้นดี แต่ต่างประเทศดอกเบี้ย 3% กว่า แต่ในประเทศ 11- 12% กู้เข้ามาได้อย่างเสรี มาปล่อยกู้ต่อ ฉะนั้นคนกู้เข้ามาเสียค่าธรรมเนียมอย่างมาก 2-3% ค่าประกันความเสี่ยง ต้นทุนไม่เกิน 6% เทียบกับดอกเบี้ยในประเทศ 12% ก็ยังตํ่ากว่า 6% ก็จะกู้กันมาก พอกู้มากก็ทําให้หนี้ต่างประเทศสูงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหนี้ต่างประเทศระยะสั้น ขณะที่ประเทศไทยมีทุนสํารองเป็น 39,000 ล้านเหรียญ แต่มีหนี้ต่างประเทศระยะสั้น 120,000 ล้านเหรียญ สูงถึง 3 เท่าตัว และประการที่สาม ก็เกิดจากตัวชี้ด้านเศรษฐกิจมหาภาค ที่บางตัวมีเรื่องอันตราย ตัวอย่างเช่นการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ประเทศไทยขาดดุลบัญชีเดินสะพัดตั้ง 8% ของ GDP กว่า ในช่วงปีประมาณ 1994-1995 อย่างต่อเนื่องมา ซึ่งปกติแล้ว ประเทศกําลังพัฒนาไม่ควรจะขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเกิน 45% ของ GDP แต่ประเทศขาด 8% กว่า เวลาขาดบัญชีเดินสะพัดหมายถึงประเทศไทยต้องหาดอลลาร์มาใช้คืนต่างประเทศ แต่ว่าดอลลาร์เราหาใช้คืน ประเทศไทยต้องเทเงินบาทขายไปแลกซื้อดอลลาร์ เงินบาทก็จะอ่อนค่าลง เพราะถูกเทขาย ขณะดอลลาร์ก็มีค่าขึ้น เพราะถูกแลกซื้อ แต่ว่าประเทศไทยไม่ยอมให้บาทอ่อนค่าลง ก็คือซื้อบาทล่วงหน้า แล้วขายดอลลาร์ล่วงหน้า เพื่อให้มีแรงซื้อบาทเข้ามา ให้คงที่ได้
1 2
|