China Radio International
ข่าวภายใน
    ประเทศ
ข่าวต่างประเทศ
 ข่าวการเมืองและ
 การต่างประเทศ
 ข่าวเศรษฐกิจ
 ข่าววัฒนธรรม

 ข่าววิทยาศาสตร์
  เทคโนโลยี่

 ข่าวกีฬา
 ข่าวอื่น
วันที่ 13 พฤศจิกายน ปี ค.ศ.2009
อ่านต่อ>>

จีนปัจจุบัน

เศรษฐกิจ

พาเที่ยวจีน

วัฒนธรรม

ชนชาติส่วนน้อย

การเมือง
(GMT+08:00) 2007-07-06 14:48:57    
สัมภาษณ์อาจารย์ สมภพ มานะรังสรรค์อาจารย์ประจําคณะเศรษฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเกี่ยวกับวิกฤตการเงินเอเซียเมื่อ 10 ปีที่แล้ว(ภ)

cri

 

ผู้สื่อข่าว?ขอให้อาจารย์ช่วยสรูปว่ารัฐบาลและสังคมไทยได้ใช้ความพยายามอย่างไรเพื่อฟู้ตัวจากวิกฤตการเงินและได้ผลอย่างไร

ด.ร.สมภพ มานะรังสรรค์?ผมคิดว่าสังคมไทยเอง หนึ่ง เอาภาคธุรกิจก่อน คือธุรกิจเองก็ระวังตัวมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อัตราส่วนของหนี้ต่อสินทรัพย์ลดลงมาก ก่อนหน้านั้น อัตราหนี้ต่อสินทรัพย์เพิ่มมากกว่าสินทรัพย์หลายเท่าตัว แต่ว่าหลังจากที่มีวิกฤตการเงิน เอกชนเองก็ระวังตัวมากขึ้น กู้่หนี้น้อยลง พยายามใช้เงินทุนของตนเองมากขึ้น นี่เป็นประการแรก ประการที่สองคือ การพยายามปรับโครงสร้างของธุรกิจของตนเอง บริหารต้นทุนลดตุ้นทุนลง บริหารการตลาดเพิ่มมากขึ้น บริหารการเงินให้มีเสรีภาพขึ้น เป็นเรื่องที่ 2 ที่ภาคเอกชนทํา อันที่สามคือ พยายามหาพันธมิตรมากขึ้น เช่นพันธมิตรจากต่างประเทศก็ดี เหรือว่าพันธมิตรในประเทศเองก็ดี ขณะเดียวกันอันที่สี่ก็คือ พยายามไม่ทํากิจการที่ไม่ใช่ความเชี่ยวชาญตัวเอง ก่อนหน้านี้ เกือบทุกเครือจะต้องมีอสังหาริมทรัพย์ เรียกว่าไม่คํานึงถึงสิ่งที่เรียกว่าความชํานาญกันเฉพาะอย่าง ก็มีการปรับตัว 4-5 เรื่องของภาคเอกชนเอง ส่วนภาครัฐ รัฐเองโดยเฉพาะย่างยิ่งธนาคารประเทศไทยก็ได้พยายามบริหารจัดการเพื่อดูแลธนาคารพาณิชย์ การปรับตัวเข้าสู่กฎเกณฑ์ขององค์กรระหว่างประเทศ เช่น BIS เพิ่มมากขึ้น มีเงินทุนสํารองต่อสินทรัพย์เพิ่มมากขึ้น อย่างน้อยต้อง 8-8.5% ตามกฎเกณฑ์ของ BIS ในขณะเดียวกันก็พยายามสร้างระบบความเป็นกรรมธิการของธนาคารพาณิชย์ต่างๆ และสร้างความโปร่งใสมากขึ้น เป็นความพยายามของหน่วยงานรัฐเอง นี่เป็นการปรับตัึวของหน่วยงานรัฐ และขณะเดียวกัน ผมคิดว่า การพยายามสร้างเครือข่าวทางธุรกิจอันนี้สําคัญ แบ๊งค์ไทยก็พยายามสร้างเครือข่าวธุรกิจกับต่างประเทศเพิ่มมากยิ่งขึ้น

ผู้สื่อข่าว ?อาจารย์มองว่าประเทศจีนมีบทบาทอย่างไรในการรับมือกับวิกฤตการเงินครั้งที่แล้ว

ด.ร.สมภพ มานะรังสรรค์?ผมคิดว่าจีนเองเนี่ยก็มีบทบาทข้อหนึ่งก็คือ ที่หลายๆ คนกล่าวกันก็คือ จีนไม่มีการเปลี่ยนแปลงค่าเงินหยวน ผมว่าอันนั้นช่วยให้โลกนิ่งขึ้น อันนั้นยอมรับเลย ตอนนั้นถ้าจีนเกิดมีการเปลี่ยนแปลงค่าเงินอย่างมากๆ เนี่ย ก็คงจะทําให้ทั้งโลกโดยเฉพาะเอเชียหนักกว่านี้อีก การที่จีนทําให้ค่าเงินของตัวเองนิ่ง มันเหมือนเป็นเสาที่ช่วยพยุงสถานการณ์ เพราะถ้าจีนเปลี่ยนด้วยในขณะนั้น ผมว่าไปก้นใหญ่เลย แต่ผมคิดว่าสิ่งที่จีนทําได้ดี ที่ผมขอยกย่อง ก็คือหลังจากจีนเข้าร่วม WTO แล้ว จีนได้บริหารจัดการเรื่องภาคการเงิน ไม่ว่าจะเป็นการปฏิรูปแบ๊งค์ชาติก็ดี การแยกแบ๊งค์ชาติออกไปหลายๆส่วน ส่วนหนึ่งแยกเอาที่เหลือเรียกเป็นคณะกรรมการกํากับและตรวจสอบธนาคารพาณิชย์ อันนี้ทันสมัยกว่าเมืองไทย คือแยกเอาฝ่ายกํากับตรวจสอบธนาคารพาณิชย์แยกออกมาต่างหาก แล้วให้แบ๊งค์ชาติทําหน้าที่ทางด้านเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน เรื่องนโยบายการเงิน และเรื่องต่างๆไป ซึ่งเป็นระบบที่ประเทศที่พัฒนามากๆแล้วเขาทํากัน คือจีนได้ปรับตัวทางด้านบริหารโลกการเงินในลักษณะมหาภาคค่อนข้างดี มีการตั้งพ.ร.ต. มีการแยกหน้าที่ชัดเจน มีการเข้าเช็ดซึ่งกันและกัน ผมว่าอันนี้เป็นสิ่งที่ดี และในขณะเดียวกัน จีนปฏิรูปและปรับโครงสร้างระบบการเงินไม่ว่าตลาดเงินหรือตลาดทุน อันนี้ก็น่าสนใจอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหา NPL ของแบ๊งค์พาณิชย์ เช่นแบ๊งค์พาณิชย์ยักษ์ใหญ่ 4 แห่ง แก้ไขปัญหาค่อยๆมีขั้นมีตอน ไม่ใจร้อนเกินไปแต่ในขณะเดียวกันก็ไม่ลอช้า ผมว่า พอจีนเองพึ่งมาเปิดประเทศมาไม่นาน และภาคการเงินก็รู้อยู่แล้วว่า อเมริกา พวกตะวันตก มันล่วงหน้าไปร้อยๆปี แต่ว่าจีนใช้เวลา 5-6 ปีบริหารจัดการตนเองก็ได้ถึงขนาดนี้ก็ถือว่าน่าพอใจแล้ว แล้วจีนเองก็คงจะเป็นผู้ที่มีบทบาทอย่างมากในโลกในระยะต่อไปใ

ท่านผู้ฟังครับ ที่จบลงคือคําให้สัมภาษณ์ของอาจารย์ สมภพ มานะรังสรรค์อาจารย์ประจําคณะเศรษฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเกี่ยวกับวิกฤตการเงินเอเซียเมื่อ 10 ปีที่แล้ว


1 2