ท่านผู้ฟังที่เคารพ ยินดีต้อนรับเข้าสู่รายการ"จับมืออาเซียน" อีกครั้ง ในรายการวันนี้ดิฉันจะแนะนําอาหารมาเลเซียในกรุงปักกิ่ง ตอน"ไปชิมอาหารมาเลเซียที่ร้าน'Peranakan'ของกรุงปักกิ่ง"
ร้าน"Kafe Peranakan-Malaysian Cuisine"แบ่งเป็นสองชั้น การตกแต่งเต็มไปด้วยสไตล์มาเลเซีย สิ่งตกแต่งทั้งหมดล้วนซื้อหามาจากมาเลเซีย จากมาเลเซียสู่กรุงปักกิ่ง เพื่อให้ชาวปักกิ่งได้ชื่นชมศิลปะวัฒนธรรมของมาเลเซีย
ท่านคงรู้สึกสงสัยว่าทําไมร้านนี้ตั้งชื่อ"Peranakan" ดิฉันได้ค้นหาคําตอบในเมนู ได้คําตอบว่าในมาเลเซีย ชาวจีนกับชาวมาเลเซียแต่งงานแล้วมีลูกหลานก็ถูกเรียกว่า"Peranakan" ถ้าเป็นผู้ชายจะถูกเรียกว่าเป็นบาบา(Baba) ถ้าเป็นผู้หญิงก็เรียกว่าโยงยา(Nyonya) อาหารที่พวกเขารับประทานก็ถูกเรียกว่าอาหารโยงยา ระหว่างอาหารมาเลเซียที่มีความหลากหลาย อาหารโยงยามีชื่อเสียงมาก ซึ่งเป็นการผสมวิธีทําอาหารจีนกับเครื่องปรุงของอาหารมาเลเซีย มีรสชาติเปรี้ยวหวาน หอม และเผ็ด ซึ่งเป็นที่นิยมของผู้คนทั้งหลาย
นายโก๊ะ คิง คี(Koh King Kee)เจ้าของร้าน"Peranakan"เป็นชาวมาเลเซียเชื้อสายจีน เขาเล่าว่า"มาเลเซียเป็นประเทศที่มีหลายเผ่าชน มีชาวมาเลเซีย ชาวอินเดีย ชาวจีน ด้วยเหตุนี้อาหารมาเลเซียจึงมีความหลากหลาย ได้รวบรวมสิ่งเด่นๆในการทําอาหารของชนเผ่าต่างๆ อร่อยมากเลย ร้านของเรามีอาหารสะเต๊ะ(sate)และข้าวมะพร้าวที่มีชื่อเสียงของมาเลเซีย มีชาทาริค(The tarik)ของอินเดีย"
อาหารมาเลเซียส่นใหญ่ใช้กะทิและผงกะหรี่ มีรสชาติข้มเข้น กะหรี่เป็นเครื่องปรุงที่เรารู้จักกันดี แต่วิธีทําอาหารมาเลเซียแตกต่างกับอาหารเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อื่นๆ อาหารมาเลเซียใส่กะทิเพื่อลดรสเผ็ดของกะหรี่และให้มีกลิ่นหอมด้วย แล้วยังใส่เครื่องปรุงหลายอย่างด้วย กล่าวได้ว่าการทําอาหารพื้นเมืองของมาเลเซียต้องการเครื่องปรุงจํานวนมาก นายโก๊ะ คิง คีกล่าวว่า
"เราใช้ความพยายามซื้อวัตถุดิบของมาเลเซีย มีวัตถุดิบบางอย่างเช่นตะไคร้มักจะซื้อจากเมืองไทยเพราะว่าที่โ่น่นคุณภาพดีกว่า และมีวัตถุดิบบางอย่างที่หาซื้อไม่ได้ในปักกิ่ง เราก็มักจะซื้อที่ฮ่องกงโดยผ่านเมืองกวางโจว "
ในร้าน"Peranakan"มีพ่อครัวชาวอินเดียนับว่ามีฝีมือดีที่สุดของกรุงปักกิ่ง แต่ร้านนี้มีเรื่องที่แตกต่างกับร้านอาหารเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อื่นๆก็คือนอกจากพ่อครัวชาวอินเดียคนหนึ่งแล้ว พ่อครัวคนอื่นๆเป็นชาวจีนทั้งหมด พวกเขาสามารถทําอาหารพื้นเมืองมาเลเซียได้ดี ก็เนื่องจากมาดามโก๊ะ ภรรยาของนายโก๊ะ คิง คี มาดามโก๊ะให้สัมภาษณ์ว่า
"สําหรับพ่อครัว ถ้าเราเชิญมาจากมาเลเซียจะสะดวกกว่า แต่เมื่อมองการณ์ไกลแล้ว เรารู้สึกว่าควรฝึกอบรมพ่อครัวชาวจีน สอนให้พวกเขาทําอาหารมาเลเซีย ซึ่งมีส่วนช่วยต่อเรา และก็มีส่วนช่วยต่อจีน"
1 2
|