China Radio International
ข่าวภายใน
    ประเทศ
ข่าวต่างประเทศ
 ข่าวการเมืองและ
 การต่างประเทศ
 ข่าวเศรษฐกิจ
 ข่าววัฒนธรรม

 ข่าววิทยาศาสตร์
  เทคโนโลยี่

 ข่าวกีฬา
 ข่าวอื่น
วันที่ 13 พฤศจิกายน ปี ค.ศ.2009
อ่านต่อ>>

จีนปัจจุบัน

เศรษฐกิจ

พาเที่ยวจีน

วัฒนธรรม

ชนชาติส่วนน้อย

การเมือง
(GMT+08:00) 2008-04-11 14:18:35    
ไทย-จีนร่วมแสวงหาวิธีการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศในเมืองจีน (ตอนที่ 2)

cri

ท่านผู้ฟังคะ รายการ"จับมืออาเซี่ยน"ครั้งที่แล้วเป็นการแสดงความคิดเห็นของรศ.ดร.สมพงศ์ วิทยศักดิ์พันธุ์ จากภาควิชาภาษาไทยคณะมนุษยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เกี่ยวกับไทยจีนร่วมกันแสวงหาวิธีการพัฒนาในการเรียนการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ ขณะที่อาจารย์สมพงศ์ วิทยศักดิ์พันธุ์ร่วมการสัมมนาทางวิชาการหัวข้อ"การเรียนการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ"จัดขึ้นที่มหาวิทยาลัยภาษาและการค้าต่างประเทศกวางตุ้ง รายการวันนี้ ขอเชิญท่านฟังเนื้อหาสาระที่น่าสนใจอีกมากจากการแสดงความคิดเห็นของรศ.ดร.สมพงศ์ วิทยศักดิ์พันธุ์ในการสัมมนาต่อค่ะ

ความสัมพันธ์ไทย-จีนที่แน่วแน่แน่นแฟ้นมีภาษาเป็นสื่อเชื่อมโยงก่อเกี่ยวให้เกิดความต่อเนื่องยาวนาน แม้ผลกระทบทางวิกฤติเศรษฐกิจก็ไม่อาจที่จะหยุดยั้งความสัมพันธ์ที่มีภาษาเป็นรากฐานที่ดีนี้ได้

"ความสัมพันธ์ไทย-จีนที่แน่วแน่แน่นแฟ้นมากขึ้นเรื่อยๆ ระยะสี่ห้าปีที่ผ่านมาที่มีนักศึกษาจีนนับหมื่นคนกระจายไปอยู่เกือบทุกสถาบันราชภัฏในประเทศไทยและในมหาิลัยเกือบประเทศทั้งหมด ทุกคนมาถามผมว่าเกิดอะไรขึ้น ในขณะที่เศรษฐกิจของไทยซบเซา ตะวันตกทิ้ง แต่จีนไม่ได้ทิ้งเรา กลับทุ่มเทเพื่อสร้างงานเหล่านี้สร้างความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับไทยมากขึ้น ผมคิดว่าความสัมพันธ์ที่ดียิ่งระหว่างนี้จะเป็นตัวเสริมที่สำคัญมากๆที่จะทำให้การเรียนการสอนไทย-จีนของเราพัฒนามากยิ่งขึ้น ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการศึกษาของไทนและของจีนนั้นมีความแน่นแฟ้นมั่นคงมากยิ่งขึ้น "

อย่างไรก็ตาม ในทัศนะของผู้คลุกคลีอยู่กับการเรียนการสอนภาษาไทยในเมืองจีนและภาษาจีนในเมืองไทย อ.สมพงศ์ได้ให้บทสรุปและข้อเสนอแนะที่น่าสนใจ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทยในเมืองจีนให้สัมฤทิธ์ผลมากยิ่งขึ้น สนองความตามความต้องการในการสานสัมพันธ์ของประชาชนสองประเทศให้แน่แฟ้นมากขึ้นว่า

"ตำราการเรียนการสอนที่ขาดแคลน ตำรานี่เราจะผลักดันให้อาจารย์ของเราสร้างตำราของสถาบันของตนเองเพื่อแก้ไขการออกเสียงข้อบกพร่องทางไวยากรณ์ที่เกิดขึ้นหรือระบบเสียงที่เกิดขึ้น การสร้างตำราที่ดี จะต้องดัดแปลงมาให้เหมาะสมกับแต่ละท้องถิ่น อย่างเช่น ถ้าจะสร้างตำราสำหรับนักเรียน นักศึกษาที่มณฑลกวางตุ้ง เราจะต้องสนใจเรื่องตัว"น" ตัว"ง"ให้มาก เพราะว่าที่นี่จะมีปัญหาเรื่องตัว"น" ตัว"ง" เราจะสร้างเขาเรียกว่าเป็นแบบฝึกหัดที่จะซ้ำๆที่เด็กสามารถแก้ไขตัวนี้ได้มากแค่ไหน ถ้าจะให้ภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศงอกงามขึ้นมาได้ ไม่ใช่ว่ามีสถาบันใดสถาบันหนึ่งป้อนตำราขึ้นไปมีอิทธิพลเหนือสถาบันอื่น แต่แต่ละสถาบันต้องเขียนตำราของตัวเองขึ้นมา เรื่องสื่อการสอนเป็นปัญหาเป็นประเด็นหลัก สื่อการสอนยังมีสื่อการสอนตั้งมากมายทีเดียว สื่อการสอนตรงนี้ผมคิดว่าเราสามารถแลกเปลี่ยนกันได้ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอินเตอร์เน็ตก็ดี เรื่องของการสอบวัดต่างๆ เรื่องของการวัดผลประเมินผล เรื่องการสอบวัดระดับภาษาไทย เราน่าจะเป็นความสัมพันธ์และความร่วมมือกันต่อไปในอนาคตระหว่างหน่วย สิ่งที่มีปัญหามากที่สุด ประเทศไทยเราขาดแคลนครูสอนภาษาจีน ประเทศจีนขาดแคลนครูสอนภาษาไทย เราจะต้องมีการอบรมร่วมมือกัน จะมีการคุยเรื่องให้มากขึ้นระหว่างรัฐบาลกับกระทรวงศึกษาธิการ ระหว่างอาจารย์ ระหว่างสถาบันอุดมศึกษา นำไปสู่การพัฒนาตำราหรือพัฒนาวิธีการเรียนการสอน ว่าวิธีการเรียนการสอนแบบใดที่ยอดเยี่ยมที่สุดสำหรับการเรียนการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่าง ประเทศ ทุกปีจะมีการสัมมนาการเรียนการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ ถ้าไม่ที่ประเทศไทยปีหนึ่งก็ที่ประเทศจีนปีหนึ่ง และเราเอานวัตกรรมใหม่ๆทางด้านการเรียนการสอนไปแลกเปลี่ยนกันที่นั่น ถึงเป็นการอบรมพัฒนาบุคลากรทางด้านการเรียนการสอนภาษาไทย ถ้าสามารถทำได้ จะทำให้สมาคมการเรียนการสอนภาษาไทยที่นี่และทำให้การจัดการเรียนการสอนภาษาไทยในประเทศไทยเป็นไปอย่างได้ผลมากยิ่งขึ้น

1 2