แม้ปัจจัยรอบด้านจะพร้อมสรรพเพียงใด หากผู้เรียนไม่ตั้งใจ ไม่มีเป้าหมายที่ชัดเจน ไม่เป็นสุขกับการเรียน ไม่บูรณาการ ความสัมฤิธ์ผลในการเรียนการสอนภาษาไทยคงจะเกิดขึ้นมิได้ อสมพงศ์แนะนำให้ใช้หลักplay and learn ในการเรียนการสอน
"เห็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในวันนี้ก็คือว่า ประการแรก การศึกษาของประเทศจีนมุ่งไปสู่ลักษณะสหสาขาวิชามากขึ้น คือบูรณาการความรู้ต่างๆมากขึ้น มันทำให้การเรียนการสอนเดิมของจีนที่มีอยู่นะครับพัฒนาขึ้นไปอีกก็คือว่า นักศึกษาแทนที่จะเรียนรู้จากการท่องจำเพียงอย่างเดียว แต่เรียนรู้ด้วยการพัฒนาสมอง เด็กที่เรียน หนึ่งต้องมีเป้าหมายแน่นอน สองทุกอย่างที่เรียนต้องมีความหมาย และเด็กจะสนใจ ประการที่สอง สำหรับกิจกรรมในห้องเรียนและนอกห้องเรียน มันมีคำศัพท์ใหม่ซึ่งประเทศใช้เยอะมาก เราใช้คำว่าเพลินนิ่ง เพลินนิ่งก็คือว่า การเรียนทุกอย่างไม่เพียงแต่ใช้สมองในแง่ของbrainess learning และต้องให้ผู้เรียนคิดอยู่ตลอดเวลา และทำอยู่ตลอดเวลาเพื่อจำ และใช้คำว่าplay and learn หมายความว่าการเรียนทุกอย่างจะต้องเป็นการเล่นประกอบการเรียนหรือการเรียนประกอบการเล่น ประเทศจีนกำลังก้าวไปสู่การเรียนในห้องเรียน30% เรียน30% เล่น30% คือแล้วเรียน1ชั่วโมงนะครับ เรียนทฤษฏีเพียงแค่30 แล้วที่เหลือให้เป็นกิจกรรมในห้องเรียนที่มากขึ้น มันได้พิสูจน์แล้วว่า play and learnเป็นการเรียนรู้ที่ประทับใจอยู่ในหัวเด็กมากที่สุด ผมคิดว่าถ้าเราจะพัฒนาหลักการตัวนี้เข้าสู่ที่การเรียนการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ และเด็กมีวิธีการเรียนแบบใหม่ ผมคิว่า ถ้าเรามีวิธีการเรียนการสอนที่ปลูกฝังอย่างนั้น และการปลูกฝังนี่ไม่่ใช่ปลูกฝังเรื่องทัศนะคติที่ดีต่อภาษาไทยนะ เราปลูกฝังเรื่องสังคมทำที่ดีระหว่างไทย-จีนหรือสองอย่างด้วย ผมมั่นใจเหลือเกินว่า ด้วยวิธีการอย่างนี้ ด้วยความร่วมมือที่ดีเช่นนี้ ด้วยความทุ่มเทกำลังกายและกำลังใจของทั้งอาจารย์ที่มีอย่างนี้ การเรียนการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศในจีนจะรุ่งเรืองและพัฒนายิ่งๆขึ้นไปครับ " 1 2
|