เมื่อวันที่ 15 ธันวาคมปี 2008 "กฎบัตรอาเซียน"เริ่มบังคับใช้อย่างเป็นทางการ ซึ่งนับเป็นป้ายบอกระยะทางอันสําคัญของการพัฒนาสมาคมประชาชาติเอเซียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงให้เห็นว่าอาเซียนประสบผลสําเร็จสําคัญในความพยายามสร้างสรรค์ประชาคมร่วมกัน ได้เสนอหลักประกันทางกฎหมายที่มีความสําคัญต่อการสร้างประชาคมร่วมกันของอาเซียน
นายซูซิ โล บัมบัง ยูโดโยโน ประธานาธิบดีอินโดนีเซียกล่าวว่า "กฎบัตรอาเซียน"จะเสนอเวทีกฎหมายแก่ความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกต่างๆ เร่งการเติบโตของเศรษฐกิจอาเซียน ขยายพื้นฐานของอาเซียน และเสริมสร้างการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศสมาชิกต่างๆ ทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม
การสร้างประชาคมร่วมกันของอาเซียนเริ่มตั้งแต่ประชาคมเศรษฐกิจ ในการประชุมระดับรัฐมนตรีเศรษฐกิจที่จัดขึ้นเมื่อเดือนพฤษภาคมปี 2008 ประเทศสมาชิกอาเซียนได้อภิปรายแผนการปฏิบัติตามพิมพ์เขียวของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ดร.สุรินทร์ พิศ สุวรรณ เลขาธิการอาเซียนเน้นในที่ประชุมครั้งนั้นว่า การเป็นองค์เดียวกันทางการค้ายังคงเป็นประเด็นสําคัญของการเติบโตด้านเศรษฐกิจของอาเซียน ซึ่งจะแสดงบทบาทในการขับเคลื่อนส่งเสริมประชาคมเศรษฐกิจ เป็นส่วนช่วยให้บรรลุเป้าหมายประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนโดยเร็ว อาเซียนพยายามส่งเสริมเสรีภาพด้านการให้บริการทางการค้าในปี 2015
ปี 2008 อาเซียนได้บรรลุพิมพ์เขียวประชาคมด้านการเมืองและความมั่นคง พิมพ์เขียวประชาคมด้านวัฒนธรรมและสังคม และการยกร่างพิมพ์เขียวเกี่ยวกับโครงการปฏิบัติของประชาคมอาเซียนครั้งที่ 2 ตามโครงการ เอกสารเหล่านี้จะเป็นส่วนหนึ่งของแถลงการณ์ที่ประชุม ซึ่งจะพิจารณาในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 14 ที่จะจัดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้
ขณะเดียวกัน อาเซียนก็มีการพัฒนาตนเอง ให้สอดคล้องกับบรรยากาศใหม่หลังจาก"กฎบัตรอาเซียน"เริ่มมีผลบังคับใช้ ประเทศสมาชิกของอาเซียนตระหนักว่าโครงสร้างขององค์การในขณะนี้ไม่สามารถสนับสนุนการจัดกิจกรรมให้หลากหลายมากยิ่งขึ้น ฉะนั้น ประเทศสมาชิก ต่างก็เห็นพ้องต้องกันจําเป็นต้องพัฒนาองค์การอาเซียน ซึ่งรวมทั้งจัดตั้งคณะมนตรีประสานงานอาเซียนที่ประกอบด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิก และคณะมนตรีการเมือง-ความมั่นคง คณะมนตรีเศรษฐกิจ คณะมนตรีสังคม-วัฒนธรรม จัดตั้งองค์การสิทธิมนุษยชนอาเซียน ส่งเสริมบทบาทของสํานักเลขาธิการอาเซียน รวมทั้งจัดส่งผู้แทนระดับเอกอัครราชทูตไปประจําสํานักเลขาธิการอาเซียนซึ่งตั้งอยู่ที่กรุงจาการร์ต้าในต้นปีนี้
ประเทศสมาชิกของอาเซียนยังเห็นด้วยที่จะรับสมัครรองเลขาธิการ 2 คนอย่างเปิดเผย ซึ่งจะรับผิดชอบการสร้างประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและกิจการต่างๆ เกี่ยวกับประชาคมร่วมกัน ประเทศสมาชิกต่างๆ ยังได้อภิปรายข้อเสนอเกี่ยวกับการใช้กฎบัตรอาเซียนเป็นเอกสารเดินทางในเขตอาเซียนของเจ้าหน้าที่สํานักเลขาธิการอาเซียน
1 2
|