มาตรการเหล่านี้ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างประชาคมอาเซียนดังกล่าวนี้ ไม่เพียงแต่เพิ่มบทบาทและศักยภาพของประเทศอาเซียนเท่านั้น หากยังทําให้ประเทศอื่นๆ และองค์การอื่นๆ ทั่วโลกได้เข้าใจถึงความสําคัญของอาเซียนในเขตเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ สหรัฐฯ ออสตรเลีย นิวซีแลนด์ และญี่ปุ่นทั้ง 4 ประเทศได้ส่งผู้แทนระดับเอกอัครราชทูตไปสํานักเลขาธิการอาเซียน ในปี 2008 อาเซียนได้ดําเนินนโยบายทางการทูตหลายขั้วอย่างแข็งขัน ประสบความสําเร็จในการขยายความร่วมมือกับประเทศและองคการระหว่างประเทศนอกภูมิภาค แสดงบทบาทสําคัญยิ่งขึ้นในกิจการระหว่างประเทศและกิจการส่วนภูมิภาค อาเซียนจัดการช่วยเหลือพม่าที่ประสบมหันตภัยพายุไชโคลนนากิสโดยร่วมมือกับองค์การระหว่างประเทศ ได้รับความชื่นชมอย่างกว้างขวาง
ในด้านร่วมมือกับประเทศเขตเอเซียแปซิฟิก อาเซียนจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียน+3 ได้ขยายความร่วมมือกับฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง อาเซียนกับจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือต่างๆ ที่เกี่ยวพันถึงการค้าสินค้า การค้าบริการ การลงทุน ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ การเงิน การแลกเปลี่ยนของสื่อมวลชน และการขนส่ง เป็นต้น เดือนมิถุนายนปี 2008 จีนได้เริ่มดําเนินโครงการความร่วมมือเกี่ยวกับการพัฒนาระหว่างอาเซียนกับออสเตรเลียในขั้นตอนที่ 2 ตามโครงการนี้ ออสเตรเลียจะเสนอเงินจํานวน 57 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แก่อาเซียน เพื่อสนับสนุนการขยายประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนกว้างยิ่งขึ้นภายในเวลา 7 ปีข้างหน้า
นอกจากนี้ อเมริกาเหนือและประเทศพัฒนาในยุโรป สหประชาชาติ และธนาคารโลกก็ได้เสนอเงินทุนจํานวนมาก เพื่อช่วยเหลืออาเซียนเร่งกระบวนการประชาคม สนับสนุนประเทศสมาชิกอาเซียนโจมตีอาชญากรรมข้ามประเทศต่างๆ เช่น การค้ามนุษย์ ค้ายาเสพติด ฟอกเงิน เป็นต้น ต่อต้านลัทธิก่อการร้าย รวมทั้งส่งเสริมศักยภาพของอาเซียนในการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมต่อเขตที่ประสบภัยธรรมชาติภายในภูมิภาคของตน 1 2
|