"ต้ากู่" แปลว่า "กลองใหญ่" เป็นศิลปะการเล่าเรื่องคลอกับการขับร้องที่มีประวัติกว่า 200 ปีและเป็นที่นิยมทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของจีน เนื้อหาส่วนใหญ่เป็นนิทานเก่าแก่ ขณะเล่น มือหนึ่งของนักแสดงจะเขย่าแผ่นไม้ไผ่หลายแผ่นที่ผูกเชื่อมกันให้เกิดจังหวะ อีกมือหนึ่งใช้ไม้ตีกลอง บางทีจะมี อีกคนหนึ่งช่วยบรรเลงเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายอยู่ข้าง ๆ ไม่ต้องมีเวทีที่หรูหราตระการตา ไม่มีดาราผู้มีชื่อเสียง ความศัทธาและความจริงใจของนักแสดง "ต้ากู่" ศิลปะพื้นบ้านที่แพร่หลายในเขตชนบททางตะวันออก เฉียงเหนือนี้จึงถูกจัดเข้าบัญชีรายชื่อมรดกทางวัฒนธรรม ที่จับต้องไม่ได้ระดับชาติ รายการวันนี้ ขอเสนอเรื่อง "ต้ากู่" ศิลปะการเล่าเรื่องคลอกับการขับร้องของทางตะวันออกเฉียงเหนือจีนค่ะ
นางเซี่ย เสี่ยวหวา เป็นผู้สืบทอดศิลปะ "ต้ากู่" เล่าให้ฟังว่า "ดิฉัน รักชอบศิลปะ "ต้ากู่" มาตั้งแต่เด็ก เวลานั้น ที่ชนบททางภาคตะวันออก เฉียงเหนือมีแค่ "ต้ากู่" และ "เอ้อร์เหรินจ้วน" ศิลปะพื้นบ้านเพียงสองอย่างเท่านั้นที่จัดแสดงในเทศกาลต่าง ๆ หรือหน้าหนาวที่ออกไปทำนาไม่ได้ หมู่บ้านต่าง ๆ มักจะเชิญคณะ "ต้ากู่" มาแสดงที่หมู่บ้านของตน ซึ่ง"ต้ากู่" ก็เหมือนละครโทรทัศน์ในปัจจุบัน มีเล่นกันทุกวัน ชาวบ้านพากันไปดู นับร้อยนับพันคน"
นางเสี้ย เสี่ยวหวา มีอายุกว่า 50 ปี เกิดที่อำเภอซงอี๋ มณฑลจี๋หลิน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ศิลปะ "ต้ากู่" แพร่หลาย และแม่ของเธอก็เป็นนักแสดง "ต้ากู่" ผู้มีชื่อเสียง อาของเธอเป็นผู้บรรเลงเครื่องดนตรีประเภทสายให้ เสี้ย เสี่ยวหวา มักจะพูดเล่นว่า เธอเริ่มฟัง "ต้ากู่" ตอนที่เธอยังอยู่ในท้องของแม่ พออายุได้ 8 ขวบ เธอขึ้นเวทีแสดง และกลายเป็นดาราเด็กที่ได้รับความนิยมอย่างสูง ตั้งแต่นั้นมา ทำให้เธอมีความผูกพันกับ "ต้ากู่"มาโดยตลอด
ท่านผู้ฟังคะ ที่ท่านกำลังฟังอยู่นี้คือ "ต้ากู่" ที่ขับร้องโดยนางเสี้ย เสี่ยวหวาค่ะ
ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน หน้าหนาวค่อนข้างยาวนาน และ หนาวเหน็บ "ต้ากู่" จึงเป็นการบังเทิงที่สำคัญของชาวนาแถบนั้น พวกเขามักจะนั่งฟังกันล้อมรอบ ๆ เตาไฟ เสี้ย เสี่ยวหวาแนะนำว่า "ต้ากู่ของ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีท่วงทำนองอันหลากหลาย สามารถแสดงถึงความร่าเริงหรรษา และความเศร้าโศกเสียใจ ทั้งมีการพรรณนาถึงความกล้าหาญของวีรบุรุษ และก็มีการพรรณนาถึงความนุ่มนวล อ่อนช้อยของหญิงสาวด้วย มีการแสดงทั้งแบบสั้นเพียงไม่กี่นาที และแบบที่เล่นยาวนานหลายเดือนหรือเป็นปีก็มีเล่นกัน ลักษณะพิเศษของ ต้ากู่ คือ ตอนที่บรรยายความรู้สึกนึกคิดของคน มักจะใช้วิธีการขับร้อง ตอนที่แนะนำบรรยากาศ หรือสถานที่ มักจะ ใช้วิธีการบอกเล่า บางทีก็มีการแทรกงิ้วพื้นบ้านด้วย "
1 2
|