เพื่อไม่ให้ศิลปะ "ต้ากู่" ตกสมัย นางเสี้ย เสี่ยวหวา เฟ้นหาและดัดแปลงเรื่องต่าง ๆ จากชีวิตประจำวันมาเป็นเนื้อหาในการแสดง ใช้แสงสีและเทคโนโลยีสมัยใหม่มาประกอบ นอกจากนี้ เธอยังวิจัยทฤษฏี และข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับศิลปะ "ต้ากู่" เพื่อรังสรรค์วิธีการ ขับร้องใหม่ด้วย
นางเสี้ย เสี่ยวหวากล่าวว่า "ต้ากู่" มีจังหวะค่อนข้างช้า ถ้าจะได้รับความนิยมจากคนสมัยนี้ ก็ต้องปฏิรูปทำนองเพลง และลีลาการแสดง ดิฉันผสมผสานเพลงพื้นบ้าน งิ้วปักกิ่งและงิ้วพื้นบ้านอื่น ๆ เข้าไปในการแสดง "ต้ากู่" เพื่อให้ผู้ชมเกิดความรู้สึกแปลกใหม่ และความรักชอบ"
กลเม็ดเด็ดพรายของนางเสี้ย เสี่ยวหวาคือ ภายในเวลา 5 นาที เธอจะขับร้องประโยคที่เป็นคู่กัน 50 คู่ เฉลี่ยแล้วนาทีละ 10 คู่ ซึ่งทำให้รับรู้ได้ว่า "ต้ากู่" ฝึกเล่นได้ยากเพียงใด
นางเสี้ย เสี่ยวหวาสนใจอบรมนักแสดงรุ่นใหม่ เธอเห็นว่า ถ้าจะให้ศิลปะ "ต้ากู่" คงอยู่ต่อไป ก็ต้องอบรมบุคลากรสำรองไว้ ในช่วงหลายปีมานี้ ก็มีคนจำนวนไม่น้อยโทรมาบอกว่า อยากจะเรียนศิลปะ "ต้ากู่" กับเธอ แต่พอรู้ว่า "ต้ากู่" เรียนยากมาก ส่วนใหญ่เลิกลาไป นางเสี้ย เสี่ยวหวา บอกว่า "ต้องเลือกผู้ที่มีพรสวรรค์ โดยเฉพาะผู้ที่มีอัจฉริยะด้านจังหวะมาฝึก สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ต้องเลือกผู้ที่มีเสียงแบบแนวนอนฝึกเล่น นักร้องฝึกเล่น "ต้ากู่"ไม่ได้ เพราะสุ้มเสียงของนักร้องเป็นแบบแนวตั้ง นักแสดงหญิงที่มีเสียงขึ้นจมูกจะเล่น "ต้ากู่" ได้ดีกว่า เพราะจะขับร้องได้เพราะกว่า"
เมื่อปี 2003 นางเสี้ย เสี่ยวหวาริเริ่มให้ตั้งวิชา "ต้ากู่" ขึ้นในโรงเรียนศิลปะพื้นบ้านภาคเหนือของจีน และเปิดอบรมในช่วงปิดเทอมของทุกปี ต่อไปขอเชิญท่านฟัง "ต้ากู่" ที่ขับร้องโดย หวางหยิง เด็กหญิงวัย 10 ขวบค่ะ
หวางหยิง เริ่มฝึกเล่น "ต้ากู่" เมื่อปีที่แล้ว ขณะนี้ เธอเล่นได้หลาย ตอนแล้ว เธอบอกว่า เธอชอบ "ต้ากู่" มาก ถึงเป็นงานอดิเรกทั้งหมดของเธอ "หนูรู้ว่า ต้ากู่ ขาดแคลนผู้สืบทอด หนูจึงสมัครมาเป็นผู้สืบทอด เพราะอยากให้ผู้คนทั้งหลายรู้จักต้ากู่"
1 2
|