บทวิเคราะห์ : จีนรับมือกับสหรัฐบนพื้นฐานกระทบธุรกิจและประชาชนน้อยที่สุด

2019-08-25 14:51:14 | CRI
Share with:

图片默认标题_fororder_微信图片_20190825144812

เนื่องจากฝ่ายสหรัฐฯ ประกาศจะเก็บภาษีเพิ่มอีก 10% ต่อสินค้านำเข้าจากจีน 2 รายการ ที่มีมูลค่าประมาณ 300,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และเมื่อวันที่ 23 สิงหาคมที่ผ่านมา จีนประกาศว่า จะเก็บภาษีเพิ่ม 10% และ 5% ต่อสินค้านำเข้า 2 รายการจากสหรัฐฯ มีมูลค่าประมาณ 75,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และตกลงจะกลับมาเก็บภาษีเพิ่ม 25% และ 5% ต่อรถยนต์และชิ้นส่วนที่ผลิตในสหรัฐฯ ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคมเป็นต้นไป

มาตรการการตอบโต้ของจีนมีความแข็งแกร่งและสมเหตุสมผล เช่น จีนเป็นตลาดถั่วเหลืองนอกประเทศที่ใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯ เมื่อปี 2017 ปริมาณการส่งออกถั่วเหลืองจากสหรัฐฯ มายังจีน คิดเป็น 57% ของปริมาณการส่งออกทั้งหมด แต่จากผลกระทบของการเก็บเพิ่มภาษีหลายรอบของสหรัฐฯ และมาตรการตอบโต้ของจีน เมื่อปี 2018 ปริมาณการส่งออกถั่วเหลืองจากสหรัฐฯ มายังจีน ลดลงเหลือ 17.9% ของปริมาณทั้งหมด

นอกจากนี้ จีนได้รวมน้ำมันดิบของสหรัฐฯ อยู่ในรายชื่อมาตรการตอบโต้ของจีนเป็นครั้งแรก ตั้งแต่ต้นปีนี้ อัตราการส่งออกน้ำมันดิบจากสหรัฐฯ มายังจีนคิดเป็น 2.6% ของปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบทั้งหมด ลดลงจาก 11% เมื่อปีที่แล้วเป็นอย่างมาก หลังจากจีนเพิ่มภาษีด่านศุลกากร น้ำมันดิบสหรัฐฯ จะเสียเปรียบด้านการแข่งขันในตลาดจีน และทำลายผลประโยชน์ของธุรกิจน้ำมันภายในประเทศ

สถิติแสดงให้เห็นว่า เมื่อปีที่แล้วปริมาณการส่งออกรถยนต์ขนาดเล็กจากสหรัฐฯ มายังจีนลดลง 37.5% หลังจากการเก็บเพิ่มภาษีในครั้งนี้ ธุรกิจรถยนต์สหรัฐฯ ย่อมจะได้รับผลกระทบที่หนักหน่วง

ในระหว่างการดำเนินมาตรการตอบโต้ จีนได้คิดถึงทั้งภายในและนอกประเทศ โดยได้คำนึงถึงปัจจัยต่างๆ เช่น ความผาสุกของประชาชน และอิทธิพลต่อธุรกิจภายในประเทศเป็นต้น โดยไม่ได้รวมยาและอุปกรณ์การรักษาพยาบาลสหรัฐฯ ที่มีความเกี่ยวพันธ์ถึงสุขภาพของประชาชนให้อยู่ในรายชื่อสินค้าที่เพิ่มการเก็บภาษี และจะดำเนินการตามหลักการนี้ต่อไป ทั้งนี้แสดงให้เห็นว่า มาตรการการโต้ตอบของจีนสมเหตุสมผล โดยจะพยายามให้กระทบต่อประชาชนและธุรกิจภายในประเทศน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้

Bo/Ldan/Zhou

  • เสียงข่าวประจำวัน (26-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (26-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (26-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (25-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (25-11-2567)

李丹丹