บทวิเคราะห์ : สหรัฐฯ ผ่าน “กฎหมายเกี่ยวกับไต้หวัน”ในยามวิกฤตโควิด-19 ไม่เป็นผลดีต่อทุกฝ่าย

2020-03-28 16:23:19 | ไชน่ามีเดียกรุ๊ป
Share with:

วันที่ 26 มีนาคม ตามเวลาท้องถิ่น ผู้นำสหรัฐฯ ลงนามผ่าน “ร่างกฎหมายไทเป 2019” เป็นกฎหมาย เพื่อขัดขวางไม่ให้ประเทศอื่นๆ สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับจีนอย่างเปิดเผย และช่วยเหลือไต้หวันในการมี“พื้นที่บนเวทีสากล” ถือเป็นการแทรกแซงกิจการภายในของจีนอย่างมิชอบ

กฎหมายฉบับนี้ละเมิดหลักการจีนเดียว กับแถลงการณ์ร่วม 3 ฉบับของจีน-สหรัฐฯ อย่างรุนแรง ฝ่าฝืนกฎหมายระหว่างประเทศกับหลักการว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอย่างรุนแรง เป็นการส่งสัญญาณแก่กลุ่มอิทธิพลแบ่งแยกดินแดนเพื่อให้ไต้หวันเป็นเอกราช และเป็นอุปสรรคในการดำเนินความร่วมมือของทั่วโลกเพื่อป้องกันและควบคุมการระบาดของโควิด-19 

ทั่วโลกมี 180 ประเทศ ที่สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับจีน แต่สหรัฐฯ ต้องการใช้ไต้หวันเพื่อทำลายสถานการณ์ความร่วมมือป้องกันโควิด-19 ของทั่วโลก และสร้างแรงต้านต่อความสามัคคีระหว่างจีนกับสหรัฐฯ เพื่อรับมือกับการระบาดของโควิด-19

ปัญหาไต้หวันเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์สำคัญที่สุดของจีน หลักการจีนเดียวเป็นรากฐานทางการเมืองของความสัมพันธ์จีน-สหรัฐฯ และเป็นความเห็นร่วมกันของประชาคมโลกอย่างกว้างขวาง ไม่มีกลุ่มอิทธิพลใดๆ จะสามารถขัดขวางแนวโน้มการเป็นเอกภาพของประเทศ และการฟื้นฟูความเจริญของจีนได้ จุดมุ่งหมายใดๆ ที่ต้องการให้เกิดการแบ่งแยกดินแดนของจีนจะไม่ประสบความสําเร็จ

การที่สหรัฐฯ เจตนาผ่านร่างกฎหมายฉบับนี้ มีแต่จะสร้างข้อพิพาทมากยิ่งขึ้นระหว่าง 2 ฝั่งช่องแคบไต้หวัน เพิ่มอุปสรรคในความสัมพันธ์จีน-สหรัฐฯ และจะทำลายผลประโยชน์ของสหรัฐฯ เอง จีนเรียกร้องสหรัฐฯ แก้ไขเรื่องดังกล่าว หยุดการใช้ “กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับไต้หวัน”  หยุดพฤติกรรมขัดขวางประเทศต่างๆ ในการพัฒนาความสัมพันธ์กับจีน ไม่เช่นนั้นจีนจะตอบโต้กลับอย่างเด็ดขาด

BOLFZI

  • เสียงข่าวประจำวัน (26-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (26-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (26-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (25-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (25-11-2567)

晏梓