ถาม: วิธีการล้างมือให้สะอาดแบบมาตรฐานที่แพทย์ปฏิบัติทำอย่างไร?
ตอบ: การล้างมือแบบวิธีปฏิบัติของแพทย์ให้ถูกต้อง 7 ขั้นตอนคือ
1.ฝ่ามือถูฝ่ามือ เริ่มต้นการล้างมือง่ายๆ ด้วยการถูสบู่ หรือกด liquid soap ปริมาณพอเหมาะ ถูให้เกิดฟอง ก่อนนำฝ่ามือทั้งสองข้างประกบกันและถูให้ทั่ว จนรู้สึกสะอาด
2.ฝ่ามือถูหลังมือ ปาดฟองสบู่มาที่หลังมือ แล้วล้างมือต่อโดยการใช้ฝ่ามือถูหลังมือและซอกนิ้วให้สะอาด จากนั้นสลับข้าง วิธีนี้จะสามารถกำจัดเชื้อโรคบริเวณหลังมือ
3.ประกบฝ่ามือถูซอกนิ้ว พลิกมือกลับมาประกบกัน ก่อนจะล้างมือให้สะอาดด้วยการถูซอกนิ้วด้วยสบู่ให้สะอาดหมดจด
4.ฝ่ามือขัดหลังนิ้ว กำกำปั้นข้างหนึ่งขึ้นล้างมือต่อ โดยใช้ฝ่ามืออีกข้างหนึ่งขัดบริเวณหลังนิ้ว สลับข้างทำแบบเดียวกันจนรู้สึกว่ามือสะอาด
5.ถูนิ้วหัวแม่โป้ง กางนิ้วหัวแม่โป้งก่อนใช้ฝ่ามืออีกข้างกำรอบแล้วหมุนวนด้วยฟองสบู่เป็นวงกลม ทำให้สะอาดทั้งสองด้าน
6.ขัดฝ่ามือด้วยปลายนิ้ว แบมือข้างหนึ่ง แล้วใช้ปลายนิ้วมืออีกข้างขัดฟองสบู่ตามแนวขวางจนทั่ว แล้วสลับข้างทำวิธีเดียวกัน
7.ถูรอบข้อมือ กำมือรอบข้อมือข้างหนึ่ง แล้วถูวนไปรอบๆ จากนั้นเปลี่ยนข้าง ทำเช่นเดียวกัน วิธีนี้จะช่วยให้ข้อมือสะอาด
สิ่งที่ควรระมัดระวังเป็นพิเศษคือ ต้องล้างที่ใส่แหวน ที่ใส่นาฬิกา และที่ใส่เครื่องประดับอื่นๆ ในบริเวณมือ โดยควรถอดแหวน นาฬิกา และเครื่องประดับ อย่าง สร้อยข้อมือ ออกก่อนแล้วค่อยล้างให้สะอาด ถ้าล้างมือโดยไม่ถอดเครื่องประดับ ก็มีความเป็นไปได้ที่เชื้อไวรัสจะติดค้าง และยากที่จะสะอาด
ถาม: ควรป้องกันการติดเชื้อเวลาขึ้นลิฟท์อย่างไร?
ตอบ: อันที่จริง เชื้อไวรัส แบคทีเรียกับจุลินทรีย์ทั้งหลาย จะไม่สามารถอยู่รอดบนพื้นผิวที่สะอาดและเรียบลื่น แต่จะอยู่ได้นานในสถานที่ที่มืด เปียกชื้นและสกปรก สาเหตุที่ที่กดลิฟต์กับลูกบิดประตูมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อค่อนข้างสูงคือ เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องสัมผัส ทำให้เกิด cross-infection ได้ง่าย วิธีป้องกันการติดเชื้อตอนขึ้นลิฟต์ได้แก่ 1.เพิ่มความถี่ในการฆ่าเชื้อในลิฟท์ 2.ใช้กระดาษทิชชู่กดลิฟต์ หลีกเลี่ยงการใช้มือเปล่า 3.ในกรณีที่ใช้มือจับแล้ว ใช้แอลกอฮอล์เจลล้างมือให้สะอาด
ถาม: ควรปฏิบัติตัวอย่างไรเพื่อลดความเสี่ยงการติดเชื้อในสถานที่ทำงาน?
ตอบ: กรณีนั่งอยู่ในออฟฟิศคนเดียว สามารถที่จะไม่ใส่หน้ากากอนามัย แต่ถ้าในออฟฟิศมีหลายคน ก็แนะนำให้ทุกคนใส่หน้ากาก นอกจากนี้ ต้องทำการฆ่าเชื้อบนโต๊ะทำงาน และเครื่องมือต่างๆ รณรงค์ให้พนักงานทุกคนให้ความสำคัญต่อการล้างมือ มาตรการสำคัญอีกอย่างคือ แนะนำพนักงานให้แยกกันไปโรงอาหารเป็นช่วงๆ ตอนนั่งทานก็อย่านั่งโต๊ะเดียวกัน ถ้าซื้ออาหารใส่กล่องได้ เอากลับไปทานที่โต๊ะทำงานที่สุด
ถาม: การพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อบ่อยๆ จะส่งผลกระทบต่อร่างกายมนุษย์และสิ่งแวดล้อมอย่างไร?
ตอบ: การพ่นน้ำยาฆ่าในพื้นที่เดียวกันหลายครั้ง เสี่ยงต่อการเกิดมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม จึงต้องหลีกเลี่ยงการฆ่าเชื้อในสถานที่หนึ่งบ่อยเกินไป หากพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อใส่ตัวคน สารคลอรีนก็สามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านผิวหนัง หรือผ่านลมหายใจ ไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพแต่แอลกอฮอล์เจลปลอดภัย สามารถใช้ได้หลายครั้งต่อวัน
ถาม: พลาสมาของผู้ป่วยโควิด-19 ที่หายดีแล้ว นำไปใช้กับผู้ป่วยรายอื่นได้หรือไม่? การเจาะเลือดเพื่อได้พลาสมานั้นจะส่งผลเสียต่อสุขภาพของผู้บริจาคเลือดหรือไม่?
ตอบ: ผลการวิจัยเกี่ยวกับการรักษาในขั้นคลินิกยืนยันว่า พลาสมาของผู้ป่วยที่หายดีสำคัญมากสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการสาหัส และผู้ป่วยที่มีอาการถึงขั้นวิกฤต การเจาะเลือดเพื่อได้พลาสมานั้น ต้องการเจาะเลือดปริมาณ 200 – 300 ml โรงพยาบาลสามารถแยกเม็ดเลือดแดงกับพลาสมาให้ออกจากกันได้ แล้วรับเพียงพลาสมาเท่านั้น ส่วนเม็ดเลือดแดงจะถูกฉีดเข้าเส้นเลือดของผู้บริจาคภายในเวลาสั้นๆ รอประมาณ 1 – 2 อาทิตย์ ปริมาณพลาสมาในร่างกายผู้บริจาคเลือดก็จะฟื้นฟูเป็นปกติ จึงแทบไม่มีผลเสียต่อสุขภาพของผู้บริจาคเลย