สื่อสหรัฐฯ ระบุ ผู้สื่อข่าว-นักการเมืองอเมริกันร่วมตั้ง“ทฤษฎีสมคบคิด โควิด-19 เกิดจากห้องทดลองในจีน”

2020-04-25 16:55:49 | ไชน่ามีเดียกรุ๊ป
Share with:

图片默认标题_fororder_200425meimeijielu

เมื่อเร็ว ๆ นี้ thegrayzone.com ซึ่งเป็นเว็บไซต์ข่าวอิสระของสหรัฐฯ เผยแพร่บทความเรื่อง “ทฤษฎีสมคบคิดที่ว่า โควิด-19 เกิดจากห้องทดลองในจีน  ถูกปธน.ทรัมป์กุข่าวขึ้นมาได้อย่างไร” เปิดเผยถึงกระบวนการที่ผู้สื่อข่าวฝ่ายอนุรักษ์นิยมสมคบคิดและประสานงานกับรัฐบาลสหรัฐฯ สร้างทฤษฎีสมคบคิดที่ไม่เป็นเหตุเป็นผลให้ดูเหมือนเป็นความจริง

图片默认标题_fororder_200425meimeijielu2

วันที่ 14 เมษายน หนังสือพิมพ์ The Washington Post ของสหรัฐฯ เผยแพร่บทความ “โทรเลขฉบับหนึ่งของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ แจ้งเตือนว่า  การวิจัยไวรัสโคโรนาจากค้างคาวในห้องปฏิบัติการเมืองอูฮั่นมีปัญหาด้านความปลอดภัย” ของนายจอร์ช โรจิน นักเขียนผู้นี้ ระบุว่า เขาได้รับโทรเลขฉบับนี้ที่ส่งมาจากสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำจีน เมื่อเดือนมกราคม ปี 2018 โดยบังเอิญ ซึ่งมีเนื้อหาว่า “ห้องปฏิบัติการในเมืองอู่ฮั่นกำลังศึกษาความเป็นไปได้ที่เชื้อไวรัสโคโรนาจากค้างคาวจะแพร่ไปยังมนุษย์ ซึ่งหมายความว่า อาจจะมีความเสี่ยงต่อการระบาดใหญ่คล้ายกับโรคซาร์ส”

เว็บไซต์ thegrayzone.com ระบุด้วยว่า บทความชิ้นนี้เขียนขึ้นมาโดยอ้างอิงเอกสารราชการฉบับหนึ่งที่เจ้าหน้าที่รัฐบาลสหรัฐฯ เผยแพร่เพื่อกดดันจีน  คำกล่าวใส่ร้ายห้องปฏิบัติการจีนที่มีความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของนายจอร์ช โรจิน เกิดจากคำวิพากษ์วิจารณ์ที่คลุมเครือกำกวม และปราศจากหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ของเจ้าหน้าที่การทูตในสถานทูตสหรัฐฯ ประจำจีน  ซึ่งโดยแท้จริงแล้ว ในเอกสารฉบับนี้ สิ่งที่เจ้าหน้าที่รัฐบาลสหรัฐฯ เน้นย้ำคือ การวิจัยที่ทำโดยห้องปฏิบัติการในอู่ฮั่นมีคุณค่า เพราะสามารถประเมินการป้องกันการระบาดของไวรัสโคโรนาที่แฝงอยู่

ด้าน ดร.แองเจล่า รัสมุสเซน นักไวรัสวิทยาและนักวิจัยจากศูนย์วิจัยการติดเชื้อและภูมิคุ้มกันโรค จากวิทยาลัยสาธารณสุข มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ประณามนายจอร์ช โรจิน ที่เขียนบทความที่มีเนื้อหาคลาดเคลื่อนจากโทรเลขกระทรวงการต่างประเทศ โดยเจตนาเลือกเอาเนื้อหาเฉพาะบางส่วนมาแต่งเรื่อง เพื่อบรรลุเป้ามายของตนเอง

TIMLFZI

  • เสียงข่าวประจำวัน (26-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (26-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (26-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (25-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (25-11-2567)

鲁峰