หลายวันมานี้ ช่อง CCTV-1 สังกัดไชน่ามีเดียกรุ๊ป (CMG) กำลังออกอากาศสารคดีทางการเมืองเรื่องพ้นความยากจนจำนวน 8 ตอน ซึ่ง ชื่อตำแหน่งของผู้ให้สัมภาษณ์ได้รับความสนใจอย่างสูงจากสังคม
เนื่องจากบุคคลที่เคยดำรงตำแหน่งในสำนักงานบรรเทาความยากจนและการพัฒนาแห่งคณะรัฐมนตรีจีนให้สัมภาษณ์ในฐานะเจ้าหน้าที่กรมฟื้นฟูชนบทแห่งชาติ ซึ่งก่อนหน้าออกอากาศสารคดีดังกล่าว เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมานั้น นิตยสาร “ฉิวซื่อ” ในสังกัดคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้ตีพิมพ์บทความเรื่อง “สิ่งมหัศจรรย์ที่ยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์การบรรเทาความยากจนของมนุษย์” ลงนามโดยองค์กรพรรคคอมมิวนิสต์จีนประจำกรมฟื้นฟูชนบทแห่งชาติ เท่ากับเป็นสัญลักษณ์บ่งบอกว่า กรมฟื้นฟูชนบทแห่งชาติได้ก่อตั้งขึ้นแล้ว
แล้วเหตุใดจึงก่อตั้งกรมฟื้นฟูชนบทแห่งชาติจีนขึ้นตอนนี้? ในสายตาของผู้เขียน กล่าวได้ว่าเกิดขึ้นตามวาระโอกาสที่เหมาะสม และเชื่อมต่อกันอย่างเป็นระเบียบ
เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว ผู้เขียนเคยเขียนบทวิเคราะห์ภาษาไทยเรื่องหนึ่งว่า การหลุดพ้นจากความยากจนไม่ใช่จุดหมายปลายทาง แต่เป็นจุดเริ่มต้นใหม่ เวลานั้น 832 อำเภอยากจนของจีนได้พ้นจากความยากจนทั้งหมดแล้ว สงครามขจัดความยากจนบรรลุเป้าหมายตามเวลาที่กำหนดไว้ ปัญหาความยากจนได้รับการแก้ไขอย่างเป็นประวัติการณ์ ส่วนกลไกและระบบงานขจัดความยากจนของหน่วยงานบรรเทาความยากจนระดับต่างๆของจีน ก็ได้เสร็จสิ้นภารกิจของพวกเขาแล้ว
ในการประชุมว่าด้วยงานชนบทส่วนกลางที่จัดขึ้นเมื่อปีที่แล้ว นายสี จิ้นผิง ผู้นำสูงสุดของจีนเน้นว่า หลังจากเอาชนะสงครามขจัดความยากจนแล้ว ต้องผลักดันการฟื้นฟูชนบทอย่างรอบด้าน นี่คือการปรับเปลี่ยนจุดสำคัญด้านงานการเกษตร ชนบทและชาวนาอย่างเป็นประวัติการณ์ ส่วนแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติระยะ 5 ปี ฉบับที่ 14 และเป้าหมายระยะไกลปี 2035 ของจีนนั้น ได้ชี้นำว่า ต้องผลักดันการฟื้นฟูชนบทอย่างรอบด้าน ทำให้การเสริมสร้างและขยายผลงานการขจัดความยากจนเชื่อมต่อกับการฟื้นฟูชนบทอย่างมีประสิทธิภาพ
กล่าวได้ว่า การดำเนินยุทธศาสตร์ฟื้นฟูชนบทจีนอย่างรอบด้าน มีความลึก กว้างและยากลำบากไม่แพ้การขจัดความยากจนเลยแม้แต่น้อย จำต้องส่งเสริมการออกแบบชั้นบน ใช้มาตรการที่มีพลังมากขึ้นและผนึกกำลังมากขึ้นเพื่อผลักดัน ฉะนั้น จีนได้วางแผนปรับเปลี่ยนหน่วยงานบรรเทาความยากจน สู่องค์การฟื้นฟูชนบทในการออกแบบชั้นบน ทำการก่อตั้งกรมฟื้นฟูชนบทแห่งชาติในขณะนี้ วานแผนให้ทั่วประเทศผลักดันยุทธศาสตร์การฟื้นฟูชนบทอย่างเป็นรูปธรรม สมเหตุสมผล และเหมาะสมกับยุคสมัยใหม่
มีนักวิเคราะห์เห็นว่า กรมฟื้นฟูชนบทแห่งชาติกับสำนักงานบรรเทาความยากจนและการพัฒนาแห่งคณะรัฐมนตรีจีนมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน หน้าที่ขององค์การใหม่จะได้รับการขยายบทบาทยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ถึงแม้จีนได้ขจัดความยากจนให้หมดสิ้นไปแล้ว แต่ความยากจนเชิงสัมพัทธ์ยังคงอยู่ การรับมือกับปัญหาเหล่านี้ก็อาจกลายเป็นหน้าที่ขององค์การใหม่ด้วย ส่วนท้ายที่สุดแล้วจะมีรายละเอียดของหน้าที่อย่างไร ยังต้องรอการประกาศอย่างเป็นทางการ
นอกจากการวางพิมพ์เขียวแล้ว การใช้ทรัพยากรมนุษย์ก็เป็นอีกหนึ่งจุดสำคัญในการฟื้นฟูชนบท จีนจะใช้นโยบายและมาตรการอย่างเป็นระบบ ทำให้นักศึกษาที่เป็นเจ้าหน้าที่ประจำหมู่บ้าน และบุคลากรด้านไฮเทคดีเด่นแสดงบทบาทในการพัฒนาชนบทมากขึ้น สร้างคุณูปการแก่การพัฒนาชนบทอย่างยั่งยืน
กล่าวได้ว่า จากสำนักงานบรรเทาความยากจนและการพัฒนาแห่งคณะรัฐมนตรีจีน สู่กรมฟื้นฟูชนบทแห่งชาติ สิ่งที่เปลี่ยนไปไม่เพียงแต่เป็นชื่อตำแหน่งองค์การ การเปลี่ยนแปลงของหน้าที่ที่อยู่เบื้องหลังควรได้รับความสนใจยิ่งขึ้น ถือเป็นการบ่งบอกถึงการสิ้นสุดของประวัติศาสตร์ช่วงหนึ่งและเริ่มเปิดศักราชใหม่อีกช่วงหนึ่งของจีน โดยประเด็นก่อนหน้าคือการขจัดความยากจน ส่วนประเด็นหลังก็คือการฟื้นฟูชนบท
(Yim/Cui)