บทวิเคราะห์ : จีนอาศัยข้อได้เปรียบด้านประชากรปรับเปลี่ยนสู่การปันผลด้านบุคลากร

2021-05-13 06:36:24 | สถานีวิทยุและโทรทัศน์ส่วนกลางของจีน
Share with:

บทวิเคราะห์: จีนอาศัยข้อได้เปรียบด้านประชากรปรับเปลี่ยนสู่การปันผลด้านบุคลากร_fororder_20210512-1

วันที่ 11 พฤษภาคม สำนักงานสถิติแห่งชาติจีนแถลงข้อมูลสำมะโนประชากรทั่วประเทศ ครั้งที่ 7 สรุปได้ว่า ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา จีนมีประชากรเพิ่มขึ้น 72.06 ล้านคน โดยในปี 2020 จีนมีจำนวนประชากร 1,411 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 18 ของประชากรทั่วโลก ทั้งยังเป็นประเทศที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดในโลก คุณภาพของประชากรในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างมั่นคง ระดับการศึกษาของประชาชนเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แนวโน้มการไหลเวียนและรวมตัวของประชาชนเด่นชัดมากขึ้น ระดับความเป็นเมืองสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยการเปลี่ยนแปลงของดัชนีเหล่านี้เป็นภาพสะท้อนถึงประชากรจีนล่าสุดในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา ตลอดจนลบล้างข่าวลือที่สื่อมวลชนตะวันตกคาดคิดต่อจีนและสร้างชื่อเสียงที่ไม่ดีโดยไร้หลักฐาน

ในงานแถลงข่าววันเดียวกัน ผู้รับผิดชอบจากสำนักงานสถิติแห่งชาติจีน กล่าวว่า การสำรวจสำมะโนประชากรทั่วประเทศครั้งนี้ใช้การเก็บข้อมูลแบบอิเล็กทรอนิกส์อย่างครอบคลุม รายงานข้อมูลโดยตรงทันทีและเน้นประยุกต์ใช้บิ๊กดาต้า โดยบุคคลที่ถูกสำรวจสามารถกรอกข้อมูลด้วยตัวเองผ่านการสแกนคิวอาร์โค้ด ซึ่งเพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพในการสำรวจ ขณะที่อัตราความผิดพลาดของสำมะโนประชากรครั้งนี้อยู่ที่ร้อยละ 0.05 ต่ำกว่าร้อยละ 3 ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลที่ยอมรับโดยทั่วไป ทั้งหมดนี้สะท้อนให้เห็นอย่างสมบูรณ์ว่า การสำรวจสำมะโนประชากรทั่วประเทศ ครั้งที่ 7 ของจีนเป็นความจริงและน่าเชื่อถือ ทั้งยังเป็นการสำรวจสำมะโนประชากรที่มีคุณภาพ

ผลการสำรวจสำมะโนประชากรพบว่า ประชากรจีนกลายเป็นเมืองรวดเร็วยิ่งขึ้น ประชากรที่อยู่พำนักอยู่ในเมืองเป็นประจำเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในรอบ 10 ปีมานี้ ประชากรที่อาศัยอยู่ในเมืองเป็นประจำเพิ่มขึ้น 236 ล้านคน อัตราความเป็นเมืองของประชากรที่อยู่เป็นประจำเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.21 ถือเป็นการบ่งบอกว่า ความเป็นเมืองใหม่ของจีนในรอบ 10 ปีที่ผ่านมาประสบผลสำเร็จอย่างเด่นชัด

บทวิเคราะห์: จีนอาศัยข้อได้เปรียบด้านประชากรปรับเปลี่ยนสู่การปันผลด้านบุคลากร_fororder_20210512-2

ขณะเดียวกันเราก็จะเห็นได้ว่า ช่วงระหว่างปี 2010 - 2020 การเติบโตของจำนวนประชากรจีนชะลอตัวลง ประชากรเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหมายความว่า “ยุคการปันผลทางประชากร” ของจีนก็จะสิ้นสุดลงหรือไม่

แท้ที่จริงแล้วจำนวนประชากรที่เติบโตชะลอตัวเป็นที่รับรู้กันมาหลายปีแล้ว หากมองจากทั่วโลกจะพบว่าการเติบโตของประชากรที่ชะลอตัวลงเป็นแนวโน้มใหญ่พร้อมไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจ เมื่อไม่นานมานี้สหรัฐฯ ประกาศข้อมูลล่าสุดว่า ตลอดช่วง 10 ปีที่ผ่านมา อัตราการเติบโตของจำนวนประชากรลดลงถึงขั้นต่ำสุดในรอบเกือบ 100 ปี ขณะที่สื่อมวลชนญี่ปุ่นเองก็รายงานว่า จำนวนเด็กในญี่ปุ่นทำสถิติต่ำสุดในรอบ 70 ที่ผ่านมา

ข้อมูลสำมะโนประชากรของจีนแสดงให้เห็นว่า ประชากรวัยแรงงานอายุระหว่าง 16 - 59 ปี มีจำนวน 880 ล้านคน ทรัพยากรแรงงานยังคงเพียงพอ อายุเฉลี่ยของประชากรอยู่ที่ 38.8 ปี การปันผลทางประชากรยังคงอยู่

ขณะเดียวกันการปันผลทางบุคลากรยังแสดงบทบาทต่อเนื่อง กลายเป็นพลวัตเข้มแข็งที่พยุงการพัฒนาอย่างมีคุณภาพของจีน ปัจจุบัน จีนมีประชากรแรงงานขนาดใหญ่พอสมควร การยกระดับการศึกษาและสุขภาพ รวมทั้งเพิ่มศักยภาพของประชากรอย่างต่อเนื่อง ข้อได้เปรียบของการปันผลทางบุคลากรกำลังปรากฏขึ้นทีละน้อย การสำรวจสำมะโนประชากรทั่วประเทศ ครั้งที่ 7 แสดงว่า ประชากรที่ได้รับการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือปวส. มี 218.36 ล้านคน เมื่อเทียบกับปี 2010 ประชากรที่ได้รับการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือปวส.ในทุก 1 แสนคน เพิ่มขึ้นจาก 8,930 คน เป็น 15,467 คน ซึ่งบ่งบอกได้ว่า จีนกำลังเปลี่ยนจากประเทศใหญ่ของประชากรสู่ประเทศใหญ่ของทรัพยากร ขณะที่คุณภาพการพัฒนาเศรษฐกิจและระดับอารยธรรมทางสังคมก็จะเพิ่มขึ้นพร้อมกันด้วย

มีผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการเสนอว่า จีนสามารถขยายการมีงานทำได้อย่างมั่นคง ส่งเสริมการฝึกอบรมทางการศึกษา สร้างสภาพแวดล้อมในการสร้างนวัตกรรม ปรับปรุงบริการที่เกี่ยวข้องเพื่ออำนวยประโยชน์แก่การกระตุ้นการปันผลทางบุคลากร ส่วนข้อมูลสำมะโนประชากรครั้งนี้จะเป็นแหล่งอ้างอิงสำคัญและการเตรียมตัวอย่างเอาจริงเอาจังแก่พื้นที่ต่าง ๆ ของจีนในการออกนโยบายใหม่ด้านการคุ้มครองและสนับสนุนทรัพยากรในอนาคต

(Tim/Cui)

  • เสียงข่าวประจำวัน (25-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (25-04-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (25-04-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (24-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (24-04-2567)

崔沂蒙