ช่วง 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา นายโจ ไบเดนเดินทางเยือนยุโรปเป็นครั้งแรกหลังดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ เข้าร่วมการประชุมสุดยอดกลุ่ม G7 การประชุมสุดยอดนาโต และการประชุมสุดยอดสหรัฐฯ–ยุโรป โดยมีความมุ่งมั่นที่จะสร้าง “สหพันธ์ค่านิยม” เพื่อต้านจีน แต่นางอังเกลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีเยอรมนี กล่าวหลังการประชุมสุดยอดกลุ่ม G7 ว่า ในด้านการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการอนุรักษ์ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตนั้น หากไม่มีความร่วมมือจากจีนเราจะไม่สามารถกำหนดแผนการแก้ไขปัญหาได้อย่างสิ้นเชิง ส่วนนายเอ็มมานูเอล มาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศส กล่าวอย่างตรงไปตรงมาว่า กลุ่ม G7 ไม่ใช่ศัตรูของจีน
เห็นได้ชัดว่าสองประเทศดังกล่าวที่เป็นแกนนำสหภาพยุโรปคงไม่ยอมเดินตามสหรัฐฯ ในทุกเรื่อง จนถึงปัจจุบันแม้ว่าสหรัฐฯ-ยุโรปยังคงเป็นพันธมิตรด้านความมั่นคง แต่สองฝ่ายมีข้อพิพาทกันมากมาย ทำให้ “ความสัมพันธ์หุ้นส่วนข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก” เหลือเพียงผิวเผินแต่ไม่มีความจริงใจเต็มที่
นายโจ ไบเดนหวังที่จะผูกมัดยุโรปให้ร่วมขบวนต่อต้านจีน แต่ยุทธศาสตร์สำคัญและผลประโยชน์การพัฒนาของยุโรปไม่ได้เป็นไปในทิศทางเดียวกับสหรัฐฯ สิ่งที่สำคัญยิ่ง คือ ปัจจุบันความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นแบบหลายขั้ว การจัดกลุ่มเล็กทางการเมืองบนพื้นฐานด้านจิตสำนึกนั้น ฝ่าฝืนกระแสทางประวัติศาสตร์ ทั้งนี้ย่อมจะทำให้คำว่า “สหพันธ์ค่านิยม” กลายเป็นการแสดงทางการเมืองเท่านั้น
(Tim/Lin/zheng)