สื่อมวลชนญี่ปุ่นรายงานเมื่อวันที่ 24 สิงหาคมว่า รัฐบาลญี่ปุ่นและบริษัทการไฟฟ้าโตเกียวอิเล็กทริกพาวเวอร์ ได้ตัดสินใจปล่อยน้ำปนเปื้อนกัมมันตรังสีจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในเมืองฟูคูชิมะลงทะเลผ่านอุโมงค์ใต้ทะเล เหตุผลก็คือทำเช่นนี้จะทำให้น้ำปนเปื้อนกัมมันตรังสีละลายในทะเลได้ง่ายขึ้น
หากเป็นข่าวจริงก็ถือเป็นก้าวอันตรายที่รัฐบาลญี่ปุ่นไม่คำนึงถึงเสียงคัดค้านจากทั้งภายในและต่างประเทศ แต่จะปฏิบัติการโดยลำพังคุกคามความปลอดภัยทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของชาวโลก ประเทศเพื่อนบ้านในเอเชีย-แปซิฟิกตลอดจนประเทศชายฝั่งทะเลทั่วโลกล้วนมีสิทธิ์ใช้ปฏิบัติการเรียกค่าชดเชย
ปัญหาการจัดการน้ำปนเปื้อนกัมมันตรังสีที่ฟูคูชิมะนั้น ญี่ปุ่นจะต้องเข้าใจว่านี่ไม่ใช่ปัญหาภายในประเทศของญี่ปุ่นเพียงเท่านั้น ทั้งยังไม่ใช่หมายความว่าญี่ปุ่นจะสามารถใช้ปฏิบัติการตามอำเภอใจเพราะนักการเมืองญี่ปุ่นได้เสนอให้ตั้งกองทุนชดเชยความเสียหายทางการประมงภายในประเทศ แต่เป็นปัญหาที่เกี่ยวพันถึงความปลอดภัยทางระบบนิเวศมหาสมุทรทั่วโลก ตลอดจนสุขภาพและชีวิตของประชาชนในประเทศต่าง ๆ
ญี่ปุ่นจะปล่อยน้ำปนเปื้อนกัมมันตรังสีลงสู่มหาสมุทรเองไม่ได้หากยังไม่ได้รับอนุญาตและบรรลุข้อตกลงร่วมกับฝ่ายที่เกี่ยวข้องรวมทั้งองค์กรระหว่างประเทศ ญี่ปุ่นเป็นผู้ลงนามในอนุสัญญาระหว่างประเทศ รวมถึงอนุสัญญาว่าด้วยกฎหมายทางทะเลแห่งสหประชาชาติ ไม่สามารถเลี่ยงความรับผิดชอบและภาระหน้าที่ระหว่างประเทศอันพึงมี
เช่นเดียวกับที่ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องชี้ให้เห็นว่า เมื่อการปล่อยน้ำปนเปื้อนกัมมันตรังสีของญี่ปุ่นทำให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมอย่างร้ายแรง ประเทศที่เกี่ยวข้องจะสามารถสงวนสิทธิ์ในการเรียกร้องค่าชดเชยเพราะสิ่งแวดล้อมทางทะเลถูกทำลายและความเสียหายทางนิเวศวิทยา บนพื้นฐานของการพิจารณาทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับผลกระทบของประเทศต่าง ๆ
Tim/LR/Cui